loading
จริงหรือ โควิดสายพันธุ์โอไมครอนไม่ลงปอด เหมือนเป็นไข้หวัด

จริงหรือ โควิดสายพันธุ์โอไมครอนไม่ลงปอด เหมือนเป็นไข้หวัด

เขียนเมื่อวันที่ 01/02/2022

โควิดสายพันธุ์โอไมครอน ความรุนแรงอยู่ที่ระดับไหน 

จากสถานการณ์ COVID-19 ที่พบการระบาดอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดทางด้านองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศพบเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ B.1.1.529 หรือ โอไมครอน (Omicron) เป็นประเภทสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) พบครั้งแรกทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาใต้ ประเทศบอตสวานา ช่วงเดือนพฤศจิกายนปี 2021 และในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดไปยังหลายประเทศทั่วโลก อาทิ โมซัมบิก ซิมบับเว เบลเยียม ฮ่องกง อิสราเอล ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เยอรมนี แคนาดา เกาหลีใต้ รวมถึงประเทศไทย ถือเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่กำลังระบาดรองจากเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่มีการระบาดก่อนหน้า 

โควิดสายพันธุ์โอไมครอน เกิดจากอะไร 

เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ B.1.1.529 หรือ โอไมครอน เกิดจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด SARS-CoV-2 ที่มีการกลายพันธุ์ของยีนมากถึง 50 ตำแหน่ง โดย 32 ตำแหน่งเกิดขึ้นบนโปรตีนหนามแหลม (Spike Protein) เป็นโปรตีนที่ไวรัสใช้ในการเข้าสู่เซลล์ร่างกายมนุษย์ ซึ่งพบมากกว่าสายพันธุ์เดลตาถึง 2 เท่า และการกลายพันธุ์บริเวณตัวรับบนผิวเซลล์ (Receptor-binding Domain) พบว่าเชื้อไวรัสสามารถใช้จับยึดกับเซลล์ของมนุษย์ได้ถึง 10 ตำแหน่ง เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตาที่พบเพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น 

การ์ตูนที่กำลังรับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอน

 โควิดสายพันธุ์โอไมครอน

โควิดสายพันธุ์โอไมครอน อันตรายอย่างไร 

เนื่องจากพบการกลายพันธุ์ของยีนที่มากกว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่น ๆ ที่มีการระบาดที่ผ่านมา ทำให้องค์การอนามัยโลกจัดประเภทเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนว่า อยู่ในสายพันธุ์ระดับน่ากังวลด้วยข้อสันนิษฐานของเชื้อไวรัส ดังนี้ 

  • เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนจะสามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว (เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา)
  • สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้เร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการลอยตัวในอากาศได้นานกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ
  • หลบภูมิคุ้มกันได้มากยิ่งขึ้นและมีแนวโน้มในการต้านประสิทธิภาพของวัคซีน ทำให้ถึงแม้จะฉีดวัคซีนครบ 2 โดสก็มีโอกาสติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้เช่นกัน 
  • สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อื่นมาก่อน มีโอกาสติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนซ้ำได้
  • ความรุนแรงของเชื้อยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนจะก่อให้เกิดความรุนแรงเมื่อเปรียบเทียบกับการติดเชื้อจากสายพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงเดลตา เบื้องต้นพบว่ามีการรายงานเกี่ยวกับอัตราผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นแต่จำนวนผู้เสียชีวิตนั้นต่ำลง แต่ก็ถือว่าเป็นเชื้อที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ 

โควิดสายพันธุ์โอไมครอนไม่ลงปอดจริงหรือ? 

ทางด้านแพทย์หญิงอภิสมัยได้มีการระบุว่า รูปแบบการติดเชื้อของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน เห็นได้ว่าเป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนทำให้ไม่มีลักษณะของเชื้อไวรัสที่ลงปอด หรือหากมีก็จะพบได้ค่อนข้างน้อย

เชื้อไวรัสโควิดโอไมครอน อาการเป็นอย่างไร

อาการของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน

สังเกตอาการโควิดสายพันธุ์โอไมครอน

ทางด้านศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้ออกมาเปิดเผยวิธีสังเกตอาการโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ดังนี้ 

  • มีอาการไอ เจ็บคอ
  • มีไข้และมีน้ำมูก อาจมีอาการไม่สบายแค่ 1-2 วัน ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีน้ำมูก
  • หายใจลำบาก
  • รู้สึกปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ
  • ผู้ป่วยบางรายได้กลิ่นลดลง บางรายจมูกยังสามารถรับกลิ่นและลิ้นยังรับรสได้ดี 

อย่างไรก็ตามทางด้านกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่าผลทดสอบการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ช่วยรับมือโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนได้ดีขึ้น โดยนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยว่าได้มีการทดสอบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่มีการใช้ในประเทศไทย 8 สูตร ได้แก่ 

  1. Sinovac-AstraZeneca, 
  2. AstraZeneca 2 เข็ม 
  3. Pfizer 2 เข็ม
  4. Sinovac-Pfizer
  5. AstraZeneca-Pfizer
  6. Sinovac 2 เข็ม ฉีดวัคซีนกระตุ้นด้วย AstraZeneca
  7. Sinovac 2 เข็ม ฉีดวัคซีนกระตุ้นด้วย Pfizer 
  8. AstraZeneca 2 เข็ม ฉีดวัคซีนกระตุ้นด้วย Pfizer

ผลการทดสอบพบว่าวัคซีนทุกสูตรสามารถจัดการกับเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาได้ค่อนข้างดี แต่พบผลลัพธ์ที่ลดลงเมื่อทดลองกับสายพันธุ์โอไมครอน ทำให้สอดคล้องกับข้อสันนิษฐานว่าเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนสามารถหลบวัคซีนได้ดีกว่าสายพันธุ์เดลตา โดยเฉพาะการฉีดวัคซีน 2 เข็มระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนนั้นมีไม่สูงมากนัก แต่ยังสามารถป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ สำหรับการฉีดเข็มกระตุ้นหรือเข็ม 3 แสดงให้เห็นว่าค่าภูมิคุ้มกันมีความสูงขึ้นอย่างมาก รวมถึงช่วยลดการติดเชื้อ แพร่เชื้อ และลดอาการเจ็บป่วยรุนแรงได้มากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามควรป้องกันตนเองให้ห่างไกลความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ ด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องเดินทางออกจากบ้าน หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน หมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ทำร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ นอนหลับพักผ่อนให้ครบ 6-8 ชั่วโมง และหมั่นออกกำลังกาย รวมถึงการวางแผนดูแลสุขภาพด้วยการเลือกทำประกันภัยสุขภาพที่มีความคุ้มครองที่ครอบคลุมหากเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน อุ่นใจในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นทั้งในส่วนของค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง รวมถึงเงินชดเชยรายได้จากการเข้าพักรักษาตัว ฮักส์มีกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ ยินดีให้คำแนะนำการเลือกทำประกันภัยสุขภาพที่เหมาะกับคุณ สามารถติดต่อผ่าน Facebook: HUGS Insurance หรือทางช่องทางไลน์ @hugsinsurance หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : องค์การอนามัยโลก, vichaivej, กระทรวงสาธารณะสุข, ศูนย์ข้อมูล COVID-19


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

#ฮักส์ประกันภัยสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+