ทำไมการตรวจคัดกรองมะเร็ง จึงสำคัญ?
เขียนเมื่อวันที่ 22/09/2022
โรคมะเร็ง
โรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว คนมักจะรู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง เชื้อร้ายก็ลามไปจนถึงระยะที่ 3 หรือระยะสุดท้ายแล้ว เพราะมะเร็งในระยะต้น อาจจะไม่แสดงอาการเจ็บปวดอย่างเด่นชัด หรือมีอาการเล็กน้อย แต่เราอาจจะเพิกเฉยไป
สิ่งที่ขอแนะนำ คือ การตรวจคัดกรองมะเร็ง ซึ่งการตรวจคัดกรองมะเร็งนั้นก็เหมือนการตรวจสุขภาพประจำปี เพียงแต่เป็นการเจาะลึกไปที่โรคมะเร็งโดยเฉพาะ และสามารถตรวจได้ตั้งแต่ไม่มีอาการหรือสัญญาณเตือนใดๆของมะเร็งได้เลย ประโยชน์ของการตรวจคัดกรองมะเร็ง ก็เพื่อค้นหาโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้นตั้งแต่ยังไม่มีอาการ เป้าหมายคือการลดอัตราการเสียชีวิต และรักษาอาการเจ็บป่วยจากโรคมะเร็งอย่างทันท่วงที
ทำไมถึงควรตรวจคัดกรองมะเร็ง
- ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง: สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ตั้งแต่ยังไม่แสดงอาการใดๆ หากมีแนวโน้มก็สามารถวางแผนการรักษาโรคมะเร็งได้อย่างทันท่วงที
- รู้เร็ว รักษาได้ หากมีการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ทำให้โอกาสในการรักษามีสูงขึ้น
- ลดอัตราการเสียชีวิต และความเจ็บป่วยจากโรคมะเร็ง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้เป็นปกติได้เร็วขึ้น
วิธีตรวจคัดกรอง
มะเร็งตับ
สาเหตุ : การดื่มแอลกอฮอล์ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง ภาวะไขมันเกาะตับ และตับแข็ง
คัดกรอง : การทำอัลตราซาวนด์ท้องช่วงบน ตรวจค่าความหนาแน่นของตับ fibroscan และการตรวจค่ามะเร็งตับ (AFP) สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง
มะเร็งเต้านม
สาเหตุ : มีคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งเต้านม อายุที่เพิ่มมากขึ้น มีประจำเดือนครั้งแรกอายุน้อยกว่า 12 ปี หมดประจำเดือนช้ากว่าอายุ 55 ปี มีประวัติก้อนเนื้อเต้านมระยะก่อนมะเร็งมาก่อน มีประวัติเป็นมะเร็งรังไช่ เคยฉายรังสีบริเวณเต้านม ภาวะอ้วนและน้ำหนักเกิน มีประวัติใช้ยาคุมกำเนิดมากกว่า 5 ปี ไม่มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกช้ากว่าอายุ 30 ปี ไม่ได้เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่
คัดกรอง : ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์ทุก6เดือน-1ปี
มะเร็งปอด
สาเหตุ : สาเหตุหลักของมะเร็งปอดมาจากการสูบบุหรี่ รับควันบุหรี่ หรือสารพิษสารเคมี อายุที่เพิ่มมากขึ้น และการกลายพันธุของยีนก่อนมะเร็ง
คัดกรอง : ผู้ที่มีความเสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดรังสีปริมาณต่ำ (Low Dose CT Scan)
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
สาเหตุ : มีประวัติเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง มีคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มีความผิดปกติของยีนFAP หรือ Lynch syndrome เคยส่องกล้องตรวจลำไส้แล้วพบว่ามีติ่งเนื้อในลำไส้ ไม่ออกกำลังกาย ภาวะอ้วนและน้ำหนักเกิน รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย เช่นผัก หรือผลไม้ รับประทานอาหารประเภทเนื้อแดงหรือเนื้อสัตว์แปรรูป ที่ผ่านความร้อนมากเกินไป
คัดกรอง : ผู้ที่อายุ 45 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทุกๆ 5 ปี
มะเร็งปากมดลูก
สาเหตุ : ติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งเป็นการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ และเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
คัดกรอง : ควรตรวจภายใน ตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) เพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี หรือ ตรวจหาเชื้อไวรัส HPV จากเยื่อบุปากมดลูกทุก 3 ปี และ ผู้หญิงทุกคนควรได้รับวัคซีนป้องกัน HPV
และค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคมะเร็งนั้นค่อนข้างสูง แนะนำเพื่อนๆ ให้มีประกันมะเร็งไว้ เพื่อความอุ่นใจในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษา ทำประกันมะเร็งกับฮักส์ไม่เสียเงินเปล่า เพราะจะได้รับฟรี โปรแกรมคัดกรองตรวจมะเร็ง และตรวจสุขภาพประจำปี ในทุกปีต่ออายุ คุ้มค่าขนาดนี้ คลิกด้านล่างได้เลย
ทำประกันมะเร็งกับฮักส์ คลิกที่นี่