loading
เช็คราคา พ.ร.บ.รถยนต์ 4 ประตู อย่าปล่อยให้หมดอายุนาน

เช็คราคา พ.ร.บ.รถยนต์ 4 ประตู อย่าปล่อยให้หมดอายุนาน

เขียนเมื่อวันที่ 15/02/2022

รถยนต์ 4 ประตูจ่ายค่า พ.ร.บ. เท่าไหร่ ต้องจ่ายตอนไหน 

ประกันภัยรถยนต์ สิ่งสำคัญสำหรับรถยนต์ทุกคันที่ควรต้องมี เนื่องจากช่วยกระจายความเสี่ยงในเรื่องของค่าใช้จ่ายและความคุ้มครองหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันจากอุบัติเหตุ โดยประกันภัยรถยนต์หลัก ๆ มีอยู่ 2 ประเภท คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ อย่างประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+ และประกันภัยรถยนต์ชั้น 3

หลายคนคงคุ้นเคยกับประกันภัยรถยนต์ ทั้ง 2 รูปแบบ ซึ่งในวันนี้จะมาพูดถึงประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหรือพ.ร.บ. รถยนต์ ความหมายของพ.ร.บ. รถยนต์คือประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจน ว่าเจ้าของรถทุกคันที่มีการขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องมีการทำประกันภัยชนิดนี้ เพื่อคุ้มครองและชดเชยค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ ให้แก่ผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ทั้งนี้ยังมีการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยพ.ร.บ. ที่เป็นอัตราเบี้ยคงที่อัตราเดียว โดยมีการแยกตามประเภทของรถยนต์และลักษณะการใช้รถ ทั้งนี้บริษัทประกันภัยจะไม่สามารถคิดเบี้ยประกันภัยในราคาอื่นได้นอกเหนือจากที่นายทะเบียนได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นอัตราเบี้ยประกันภัยคงที่ที่ยังไม่รวมค่าภาษีอากร ดังนี้

การ์ตูนผู้หญิงกำลังขับรถยนต์

การต่อพ.ร.บ. รถยนต์ 4 ประตู 

รถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์ รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน

  • รหัส 1.10 สำหรับส่วนบุคคลอัตราเบี้ยประกัน 600 ต่อปี
  • รหัส 2.10  3.10 สำหรับรับจ้าง ให้เช่า สาธารณะอัตราเบี้ยประกัน 1,900 ต่อปี

รถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน

  • รหัส 1.10E สำหรับส่วนบุคคลอัตราเบี้ยประกัน 600 ต่อปี
  • รหัส 2.10E  3.20E สำหรับรับจ้าง ให้เช่า สาธารณะอัตราเบี้ยประกัน 1,900 ต่อปี

สำหรับรถยนต์จะมีการคิดในส่วนของอัตราเบี้ยประกันภัยพ.ร.บ. 2 รูปแบบคือ รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์และรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยรถแต่ละประเทศจะมีอัตราเบี้ยประกันภัยที่แตกต่างกันออกไป และหากไม่ทำประกันภัยพ.ร.บ. จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง?

ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ และเป็นค่าปลงศพกรณีสูญเสียชีวิต ดังนี้

กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ต่อคน

กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย (ทุพพลภาพ) อย่างใดอย่างหนึ่งจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท ต่อคน คือ 

  • ตาบอด 
  • หูหนวก 
  • เป็นใบ้เสียความสามารถในการพูดหรือลิ้นขาด 
  • สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ 
  • สูญเสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว 
  • สูญเสียอวัยวะอื่นใด 
  • จิตพิการ 
  • ทุพพลภาพอย่างถาวร 

กรณีที่ได้รับบาดเจ็บและต่อมาทุพพลภาพ จะได้รับการชดเชยรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท ต่อคน

กรณีเสียชีวิต จะได้รับค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็น 35,000 บาท ต่อคน

กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดเชยรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท ต่อคน  

ซึ่งบริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน

นอกจากพ.ร.บ. รถยนต์จะเป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่รถทุกคันจำเป็นต้องมี การเลือกทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้คุณได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากพ.ร.บ.รถยนต์จะเป็นการเน้นความคุ้มครองที่ตัวบุคคนทั้งในส่วนของผู้ขับขี่และผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุ แต่ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจจะเป็นการคุ้มครองที่เน้นในส่วนของตัวรถยนต์ครอบคลุมไปจนถึงบุคคล ฮักส์มีกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์หลากหลาย พร้อมรองรับทุกไลฟ์สไตล์การขับขี่และความคุ้มครองในแบบที่คุณต้องการ ทั้งสามารถเลือกเช็คค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ พร้อมยินดีให้คำแนะนำการเลือกทำประกันภัยรถยนต์ที่เหมาะกับคุณ สามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook: HUGS Insurance หรือทางช่องทางไลน์ @hugsinsurance หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย, OIC


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องรถยนต์ให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันรถยนต์

#ฮักส์ประกันภัยรถยนต์

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+