ท้องผูก ถ่ายไม่ออก เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งจริงหรือ
เขียนเมื่อวันที่ 25/06/2021
ท้องผูกเรื้อรัง ทำให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้
ท้องผูก (Constipation) ภาวะที่สามารถพบได้บ่อยและเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยทั่วไปปัญหาท้องผูกเป็นอาการที่ไม่ส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายมนุษย์ แต่จะรู้สึกลำบากในการขับถ่าย เนื่องจากบางครั้งต้องใช้เวลาขับถ่ายนานกว่าปกติ และรู้สึกอึดอัดแน่นบริเวณท้องอยู่ตลอดเวลา อาการท้องผูกในแต่ละบุคคลจะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป
การขับถ่ายควรเป็นกิจวัตรประจำวัน โดยปกติคนเราควรขับถ่านวันละ 1 ครั้งและเป็นการขับถ่ายที่ไม่ลำบาก แต่ในปัจจุบันหลายคนประสบปัญหาท้องผูก ถ่ายไม่ออก และถ่ายไม่เป็นเวลา ซึ่งหากสะสมนานเข้าจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพภายในช่องท้องและลำไส้ต่าง ๆ สามารถเป็นโรคร้ายแรงได้ถึงมะเร็งในอนาคต การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ทำจิตใจให้ผ่องใส และเฝ้าระวังปัญหาการขับถ่ายจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อป้องกันปัญหาโรคเกี่ยวกับลำไส้ในอนาคต
อาการท้องผูกที่พบได้บ่อย มีดังนี้
- ใช้เวลาในการขับถ่ายนานกว่าปกติ
- ขับถ่ายลำบาก บางครั้งต้องใช้การเบ่งช่วย
- รู้สึกถ่ายไม่สุด และถ่ายออกมาได้น้อย
- อุจจาระมีลักษณะแข็งกว่าปกติ
- รู้สึกถ่ายไม่ออกเหมือนมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก
- ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
อาการท้องผูกสาเหตุเกิดจากอะไร
ท้องผูกเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ แต่ละบุคคลจะมีภาวะท้องผูกที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง อาทิ รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย เคลื่อนไหวร่างกายน้อย ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรืออั้นอุจจาระบ่อย ๆ
- การทำงานของระบบลำไส้ที่มีความผิดปกติ
- การเบ่งถ่ายอุจจาระที่ผิดวิธี
- การรับประทานยาบางชนิดที่เป็นสาเหตุทำให้ท้องผูก อาทิ กลุ่มยาทางจิตเวช ยาแก้ปวดท้อง ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาแก้แพ้บางชนิด ยากันชัก เป็นต้น
- เกิดจากโรคทางกาย อาทิ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง โรคทางระบบประสาทต่างๆ เป็นต้น
อาการท้องผูกถ่ายไม่ออก
อาการท้องผูกป้องกันอย่างไร?
ท้องผูกสามารถรักษาให้กลับมาขับถ่ายได้ตามปกติด้วยวิธีการป้องกัน ดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะท้องผูก
เริ่มต้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของตัวเอง เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อภาวะท้องผูก เช่น การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์หรือกากใยมากยิ่งขึ้น พยายามรับประทานอาหารเช้าทุกวัน ดื่มน้ำมาก ๆ เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ และหมั่นออกกำลังกายเพื่อให้ลำไส้สามารถเคลื่อนที่ได้ดีมากยิ่งขึ้น
2. ขับถ่ายให้เป็นธรรมชาติ
หลายคนไม่ทราบว่าการขับถ่ายที่ทำอยู่เป็นประจำคือการกระทำที่ผิดวิธี จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น การฝึกควบคุมลมหายใจ หรือการฝึกการเบ่งโดยการใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง การเกร็งตัวที่มากเกินไปของหูรูดบริเวณทวารหนัก เป็นต้น
3. ใช้ยาระบายช่วย
ยาระบายควรใช้เฉพาะยามจำเป็นหรือใช้ตามปริมาณที่แพทย์สั่งเท่านั้น เนื่องจากยาระบายหลายชนิดมีคุณสมบัติรวมถึงการออกฤทธิ์ของยาที่แตกต่างกัน อาจส่งผลถึงอาการข้างเคียงต่าง ๆ
ท้องผูกบ่อยส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่?
อาการท้องผูกส่งผลหลายอย่างแก่ร่างกาย ผลกระทบทางร่างกาย จิตใจ ความเครียด ความรู้สึกไม่สบายตัว นอกจากนี้หากเกิดอาการท้องผูกเรื้อรังอาจนำไปสู่การเกิดโรค หรือ การเจ็บป่วยอื่น ๆ ได้ อาทิ
- โรคริดสีดวงทวาร หรือ เกิดแผลปริแตกบริเวณรอบ ๆ ทวารหนัก
- โรคลำไส้อุดตัน เกิดจากอาการท้องผูกเรื้อรัง ส่งผลให้ปวดท้อง แน่นท้อง ไม่ถ่ายอุจจาระรวมถึงไม่ผายลม
- โรคมะเร็งลำไส้ หากมีอาการท้องผูกเรื้อรังร่วมกับอาการเตือนต่าง ๆ ของร่างกาย มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ได้
ท้องผูก เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ จริงหรือ?
หากมีอาการท้องผูกร่วมกับสัญญาณเตือนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่บ่งบอกว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ เช่น น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ท้องผูก ถ่ายเป็นเลือด มีอาการท้องผูกสลับอาการท้องเสีย อุจจาระมี สี หรือขนาดเปลี่ยนไป ปวดเบ่งบริเวณทวารหนักคล้ายปวดอุจจาระตลอดเวลา มีญาติ พ่อ แม่ ป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ คลำพบก้อนบริเวณช่องท้อง เป็นต้น
ท้องผูกอาจดูเป็นปัญหาเล็ก ๆ ที่สามารถปล่อยให้หายได้เอง แต่อาการท้องผูกเรื้อรังอาจส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้เช่นเดียวกัน หากเกิดอาการท้องผูกบ่อยครั้งหรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานานควรรีบพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและวิธีการรักษา รวมถึงหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจเช็คปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้โดยที่คุณไม่คาดคิด การตรวจเจอมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกมีโอกาสในการรักษาหายถึง 90% ฮักส์มีแผนประกันมะเร็ง Cancer Pro ที่ครอบคลุมค่าตรวจคัดกรองมะเร็ง เพื่อทำการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนั้นสามารถเป็นหลักประกันในอนาคตหากเกิดการเจ็บป่วยในส่วนของค่ารักษาพยาบาลและความคุ้มครองค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ครอบคลุม ฮักส์มีผลิตภัณฑ์ประกันมะเร็ง และประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตของคนยุคใหม่ กับประกันภัยสุขภาพวิริยะประกันภัย อุ่นใจรักษ์ โกลด์ ความคุ้มครองสูงสุด 5,000,000 บาท/ครั้ง* พร้อมเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลชั้นนำเครือ BDMS โดยไม่ต้องสำรองจ่าย สามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , โรงพยาบาลสมิติเวช
โรคมะเร็งใกล้ตัวกว่าที่คิด ดูแลตัวเองด้วยการเลือกทำประกันภัยมะเร็ง… คลิก
อาการท้องผูกเกิดขึ้นได้กับทุกคน เลือกทำประกันภัยสุขภาพ...คลิก