ประกันโควิด 2565 มีแบบไหนบ้าง เจอจ่ายจบ!
เขียนเมื่อวันที่ 15/06/2021
อัปเดตประกันโควิด 2565
ไวรัสโควิด-19 ไม่เคยหายไปไหน เพราะแป๊บเดียวก็มีข่าวโควิด-19 กลับมาระบาดซ้ำครั้งใหญ่ในประเทศไทย ทั้งมีแนวโน้มไม่จบลงง่าย ๆ หลังพบยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทะลุเกินพันรายติดต่อกันหลายวัน แม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 รัฐบาลยังไม่ประกาศล็อกดาวน์ และควบคุมเวลาออกนอกเคหะสถาน แต่ออกมาตรการหลายอย่างเพื่อเร่งหยุดการระบาดของเชื้อโควิด-19 ขณะเดียวกันโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ออกมาเปิดเผยถึงสถานการณ์ในประเทศไทยว่า อาการโควิด-19 จากคลัสเตอร์ใหม่ เป็นโควิดสายพันธุ์อังกฤษ หรือสายพันธุ์ B.1.1.7 ซึ่งพบครั้งแรกเมื่อปี 2563 ที่ประเทศอังกฤษ และแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย พร้อมระบุอาการของผู้ที่ติดเชื้อและลักษณะของโควิดสายพันธุ์อังกฤษ พบว่าแตกต่างไปจากสายพันธุ์เดิม อาทิ
- ติดเชื้อได้ง่ายและเร็วกว่าเดิม 1.7 เท่าจากสายพันธุ์ปกติ
- ไวรัสมีระยะฟักตัวมากกว่า 14 วัน
- ไม่มีอาการโควิด-19 ที่บ่งบอกว่าติดเชื้อ ผู้ป่วยยังสามารถดมกลิ่นหรือรับรสได้ตามปกติ
- ผู้ป่วยอาจมีอาการตาแดง น้ำมูกไหลแต่ไม่มีไข้ บางรายมีผื่นขึ้นที่เท้า นิ้วเท้า หรือผิวหนังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
นอกจากสายพันธุ์อังกฤษแล้วยังมีแนวโน้มว่าสายพันธุ์โควิด-19 จะยังคงกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทีมวิจัยจึงต้องเร่งคิดค้นวัคซีนโควิดด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถควบคุมการระบาดอย่างดีที่สุด ปัญการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทั้งกับคนที่สุขภาพดีและคนที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงเจ็บหนักหากได้รับเชื้อโควิด-19 ประกันภัยโควิดจึงกลายเป็นสื่งจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงนำหลักในการเลือกประกันภัย COVID-19 ให้พิจารณา พร้อมตัวอย่างประกันภัยที่น่าสนใจ
สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนซื้อประกันภัยโควิด-19 เจอจ่ายจบ
- ความคุ้มครอง
เนื่องจากประกันภัยโควิดแผนเจอจ่ายจบในปัจจุบัน มีความคุ้มครองให้เลือกหลากหลายรูปแบบ อาทิ- คุ้มครองเฉพาะการตรวจเจอเชื้อเพียงอย่างเดียว ไม่มีค่ารักษาพยาบาล
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งเงินชดเชยกรณีเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่าหรือเสียชีวิต
- คุ้มครองทั้งการตรวจเจอเชื้อ ให้ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งเงินชดเชยกรณีเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่าหรือเสียชีวิต
- คุ้มครองทั้งกรณีตรวจเจอเชื้อ และให้ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะกรณีแพ้วัคซีน
- คุ้มครองทั้งการตรวจเจอเชื้อ มอบค่าชดเชยรายวันกรณีนอนโรงพยาบาล แต่ไม่มีค่ารักษาพยาบาล
- คุ้มครองทั้งการตรวจเจอเชื้อและประกันอุบัติเหตุ กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ
- ระยะเวลารอคอย
Waiting Period หรือระยะเวลารอคอย คือช่วงเวลาที่ประกันไม่คุ้มครอง แม้ผู้ทำประกันจะเจ็บป่วยด้วยโรคที่กำหนดไว้ในกรรมธรรม์ก็ไม่สามารถเคลมในช่วงดังกล่าวได้ สำหรับประกันภัยโควิด-19 เจอจ่ายจบ มีระยะเวลารอคอย 14 วัน เท่ากับว่า หากผู้ทำประกันเจ็บป่วยด้วยเชื้อโควิด-19 ในช่วง 14 วัน หลังจากกรมธรรม์มีผลบังคับใช้ ไม่สามารถเคลมประกันได้ - การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
สำหรับผู้ทำประกันภัยโควิดที่เลือกแผนประกันที่มีค่ารักษาพยาบาล ถ้าเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลคู่สัญญาไม่ต้องสำรองจ่าย เว้นแต่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ไม่ใช่คู่สัญญากับบริษัทประกัน ต้องสำรองจ่ายไปก่อน แล้วค่อยนำใบเสร็จรับเงินมาเบิกคืนจากบริษัทประกันภัยในภายหลัง และล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประกาศประชาชนที่เข้ารับการรักษาพยาบาลเนื่องจากการติดโควิด-19 ในโรงพยาบาลสนามหรือ Hospitel โรงแรมที่ผันตนมาเป็นโรงพยาบาลกักตัว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ถือว่าเป็นผู้ป่วยในและสามารถเคลมประกันโควิด-19 ได้ เช่นเดียวกับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไป - เปรียบเทียบความคุ้มครองและเบี้ยประกันภัยโควิด-19
เมื่อเลือกแผนความคุ้มครองที่ต้องการได้แล้ว อย่าลืมดูค่าเบี้ยประกันภัยโควิด-19 ของแต่ละบริษัท โดยเปรียบเทียบกับความคุ้มครองในกรมธรรม์เพื่อดูว่าให้ความคุ้มครองเหมือนกันหรือไม่ เบี้ยประกันภัยต่างกันมากน้อยเพียงใด เพื่อให้ได้แผนความคุ้มครองที่คุ้มค่าและประหยัดเงินในกระเป๋ามากที่สุด - การต่ออายุกรมธรรม์
ก่อนทำประกันภัยโควิดลองดูลักษณะกรมธรรม์อีกครั้งว่า เป็นกรมธรรม์แบบต่ออายุอัตโนมัติ หรือสมัครปีต่อปี ถ้าเป็นแบบต่ออายุอัตโนมัติควรสอบถามกับตัวแทนอีกครั้งว่ากรมธรรม์หลักเป็นประกันภัยโควิด หรือเป็นประกันชีวิต หรือประกันภัยอุบัติเหตุที่พ่วงค่ารักษาพยาบาล - การเคลมประกันภัยโควิด
บางคนเลือกทำประกันภัยโควิด-19 เจอจ่ายจบ เพื่อรับความคุ้มครองเลยเมื่อตรวจเจอเชื้อ COVID-19 ควบคู่กับมอบค่ารักษาพยาบาล แต่อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ต้นว่า แผนความคุ้มครองของประกันโควิด 2565 ที่ให้เลือกหลากหลายแบบ ไม่แปลกที่ผู้ทำประกันจะมีกรมธรรม์หลายฉบับ โดยผู้ทำประกันภัยโควิด-19 ไม่ว่าเป็นแผนเจอจ่ายจบ หรือแผนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่สำรองจ่ายไปก่อน ให้นำเอกสาร อาทิ แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม ใบรับรองแพทย์ตัวจริง ใบเสร็จตัวจริง และบัตรประชาชนผู้ทำประกัน ไปให้บริษัทประกันภัยเพื่อเบิกค่ารักษาพยาบาล แต่ถ้ามีเรื่องค่าชดเชยด้วย ควรทำเบิกทีเดียวหลังจากรักษาหาย ทั้งนี้บริษัทประกันภัยใช้เวลาประมาณ 15 วันทำการในการตรวจสอบเอกสาร และทำเงินคืน ถ้าต้องการเบิกเคลมหลายเจ้า สามารถขอสำเนาจากทางโรงพยาบาลและให้แพทย์เซ็นรับรองได้
ประกันภัยโควิด-19 เจอจ่ายจบ คืออะไร
เป็นผลิตภัณฑ์ประกันที่มอบความคุ้มครองทันทีเมื่อตรวจพบว่า ผู้ทำประกันได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้วค่อยนำใบรับรองแพทย์ไปเคลมกับบริษัทประกันภัยเพื่อรับเงินก้อนตามวงเงินความคุ้มครองแบบเต็มจำนวนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยโควิด
อย่างไรก็ดีแม้ประกันภัยโควิดถือเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ที่หลายคนมองหา เพื่อใช้เป็นหลักประกันด้านสุขภาพหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยังไม่คลี่คลาย แต่น่าเสียดายปัจจุบันบริษัทประกันภัยหลายแห่งได้หยุดขายประกันโรค COVID-19 แบบเจอจ่ายจบ พร้อมปรับแผนความคุ้มครองโดยเน้นคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล อาการโคม่า และอาการแพ้วัคซีนป้องกันโควิด-19 แทน ดังนั้นใครที่ต้องการตัวช่วยยามเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 สามารถเลือกทำประกันภัยสุขภาพแทนได้เช่นกัน
ประกันภัยสุขภาพตัวไหนดี คุ้มครองโควิด-19
ประกันภัยสุขภาพไวรัสโควิด-19 ทิพยประกันภัย
ประกันภัยไวรัสโคโรนา คุ้มครองเจ็บป่วยจากโควิด-19
ถึงทิพยประกันภัยไม่มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยไวรัสโคโรนาแบบเจอจ่ายจบ แต่มีประกันสุขภาพไวรัสโควิด-19 แผน 1BX ที่ให้ความคุ้มครองการเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่าจากโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 สูงถึง 300,000 บาท กับค่าเบี้ยประกันเพียง 300 บาท
เช็คแผนประกันโควิด ได้ที่นี่
ประกันภัยสุขภาพเปี่ยมใจรักษ์ จากวิริยะประกันภัย
แผนประกันภัยสุขภาพเปี่ยมใจรักษ์ ดูแลผู้ป่วยโควิด-19
ประกันภัยสุขภาพเปี่ยมใจรักษ์ จากวิริยะประกันภัย แผนประกันภัยสุขภาพเหมาจ่ายที่จ่ายเบี้ยเริ่มต้นเพียง 20 บาทต่อวัน แต่รับความคุ้มครองสูงสุด 330,000 บาท/ปี* แบ่งเป็นค่าห้องสูงสุดถึง 2,500 บาทต่อวัน ค่าห้องผู้ป่วยหนักสูงสุด 5,000 บาทต่อวัน นอกจากนี้ยังคุ้มครองกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากอุบัติเหตุทั่วไปสูงถึง 100,000 บาท
สำหรับคนที่มองหาประกันภัยสุขภาพให้ตัวเองหรือคนที่คุณรัก ฮักส์ยินดีเป็นผู้ช่วยให้คุณตามหาประกันภัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์มากที่สุด สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล:
กระทรวงสาธารณสุข, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)