loading
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เกิดจากสาเหตุอะไร รักษาหายไหม

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เกิดจากสาเหตุอะไร รักษาหายไหม

เขียนเมื่อวันที่ 10/07/2021

กระเพาะอาหารอักเสบ โรคธรรมดาที่ไม่ควรมองข้าม

เมื่อสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยความเร่งรีบ ทำให้ผู้คนมีเวลาดูแลสุขภาพตัวเองน้อยลง แน่นอนว่าโรคแรก ๆ ที่อาจมาทักทายคุณนั่นคือ "กระเพาะอาหารอักเสบ" ซึ่งพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย และถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ฉะนั้นหากไม่อยากนั่งทนทรมานเพราะอาการปวดท้องทุกครั้งที่หิวข้าวหรือกินอิ่ม ลองมาทำความรู้จักโรคนี้กัน ทุกคนจะได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้อย่างถูกวิธี

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ คืออะไร 

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่าโรคกระเพาะ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบ บวม แดง หรือระคายเคืองบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร สามารถเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลันเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนหายภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา อาจเกิดอาการอักเสบเรื้อรังจนทำให้เกิดแผลหรือภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้

อาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นอย่างไร

อาการปวดท้องกระเพาะอาหารอักเสบของผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์มีอาการดังต่อไปนี้

  • รู้สึกปวดท้องตั้งแต่บริเวณใต้ลิ้นปี่ลงไปถึงเหนือสะดือ โดยอาการอาจดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิมหลังทานอาหาร
  • อิ่มเร็ว ทานอาหารได้ไม่มาก
  • มีอาการของโรคกรดไหลย้อนร่วม อาทิ เรอเปรี้ยว หรือแสบร้อนกลางอก เป็นต้น
  • มีอาการท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย
  • รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ถ้าเป็นมากอาจอาเจียนเป็นเลือด
  • ไม่รู้สึกอยากอาหาร
  • เมื่อเป็นมากและมีเลือดออกจากเยื่อเมือกบุกระเพาะอาหาร ทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำเหมือนยางมะตอย
 

กระเพาะอาหารของมนุษย์

 โรคกระเพาะอาหารอักเสบ อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ มีอะไรบ้าง

(1) การทานอาหารไม่ตรงเวลาหรืออดอาหาร

(2) ทานอาหารรสจัดเป็นประจำ

(3) ทานยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด หรือยาในกลุ่มสเตียรอยด์ที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกบุภายในกระเพาะอาหารอย่างต่อเนื่อง

(4) ดื่มสุราหรือคาเฟอีนในปริมาณมากและสูบบุหรี่เป็นประจำ

(5) ภาวะความเครียดซึ่งเกิดได้จากการประสบอุบัติเหตุรุนแรง การผ่าตัดใหญ่ หรือความเครียดสะสมในชีวิตประจำวัน อาจส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดและการทำงานของระบบย่อยอาหารที่ผิดปกติได้

(6) การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ชื่อ Helicobacter pylori สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของคนเรา มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้เช่นกัน

(7) การมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นได้ทั้งเนื้อดีและเนื้อร้ายอีกด้วย

วิธีรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ มีการรักษา 2 วิธีหลัก ๆ ประกอบด้วย

(1) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารและการใช้ชีวิต

  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดท้อง อาทิ อาหารที่มีรสเผ็ด หรือเปรี้ยวจัด เครื่องดื่มแอลลกอฮอร์ ชา กาแฟ และน้ำอัดลม เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  • ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่างมากเกินไป
  • กินอาหารย่อยง่าย ๆ และพยายามกินอาหารช้า ๆ เคี้ยวให้ละเอียด ช่วยทำให้กรดในกระเพาะสามารถย่อยได้ง่ายขึ้น
  • การกินอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่อย่างสมดุล
  • เลือกอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ไม่กินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ และล้างมือก่อนทานอาหารทุกครั้ง
  • พยายามจัดการกับความเครียด

(2) ใช้ยารักษาตามสาเหตุ

  • ยาปฏิชีวนะที่ช่วยในการฆ่าเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร อาทิ ยาคลาริโธรมัยซิน และยาอะม็อกซีซิลลิน เป็นต้น
  • ยาลดกรดช่วยให้กรดในกระเพาะอาหารเกิดความสมดุลและช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
  • ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีฤทธิ์หยุดการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร
  • ยาเคลือบกระเพาะอาหารที่ช่วยเคลือบเยื่อบุ ละแผลที่เกิดภายในกระเพาะอาหารจากกรด เช่น ยาซูคราลเฟต หรือยาไมโซพรอสทอล
  • ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน เพื่อช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากความผิดปกติของกระเพาะอาหารหรือลำไส้
  • ยาอื่น ๆ ตามแพทย์สั่ง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

แม้โรคกระเพาะอาหารอักเสบเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงหรือปล่อยให้เกิดอาการเรื้อรัง อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรคต่าง ๆ อาทิ

  • ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารพบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ป่วยอาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือด อุจจาระสีดำเหลว หรือหน้ามืด 
  • กระเพาะอาหารทะลุ มีอาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลันรุนแรง หรือหน้าท้องแข็งตึง
  • กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยรู้สึกอิ่มเร็ว อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังมีโอกาสพัฒนาไปสู่การเกิดเนื้องอกหรือมะเร็งภายในกระเพาะอาหารได้

ผู้หญิงกำลังนั่งทานสลัด

 การกินอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่อย่างสมดุล ช่วยป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ กินอะไรได้บ้าง

ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบควรเลือกทานอาหารที่ส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหาร ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร หรือช่วยบรรเทาอาการป่วย ประกอบด้วย

  • อาหารที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร อาทิ พืชตระกูลถั่ว แครอท บร็อกโคลี่ ข้าวโอ๊ต แอปเปิล เป็นต้น
  • อาหารที่มีไขมันต่ำ อาทิ อกไก่ เนื้อปลา เป็นต้น
  • อาหารที่ปรุงโดยเลือกใช้น้ำมันมะกอกและน้ำมันคาโนลาเป็นหลัก
  • ธัญพืชเต็มเมล็ด อาทิ ขนมปังโฮลวีต ซีเรียล ข้าวกล้อง เป็นต้น
  • เครื่องดื่มที่ไม่อัดแก๊สและไม่มีคาเฟอีน

นอกจากนี้ผู้ป่วยควรปรับพฤติกรรมการบริโภคให้เหมาะสม ไม่ว่าจะหลีกเลี่ยงการทานอาหารครั้งละมาก ๆ โดยให้หันมาทานอาหารทีละน้อยแต่ทานให้บ่อยครั้งขึ้น รวมถึงงดทานอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

แม้โรคกระเพาะอาหารอักเสบอาจดูเป็นปัญหาเล็ก ๆ ที่สามารถทานยาเพื่อรักษาได้ แต่ถ้าปล่อยปละไม่รีบรับการรักษาจนกลายเป็นอาการกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง อาจส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นเมื่อมีอาการปวดท้องส่วนบนร่วมกับอาหารไม่ย่อย เรอบ่อย หรือคลื่นไส้อาเจียนหลังจากทานอาหารเป็นประจำ ควรรีบพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและวิธีการรักษาทันที เพราะอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยอาจลุกลามกลายเป็นโรคร้ายแรงในอนาคตได้

ส่วนใครที่ต้องการวางแผนรับมือค่ารักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นโดยการเลือกทำประกันภัยสุขภาพ เข้ามาช่วยดูแลทั้งค่ารักษาพยาบาลจากโรคและอุบัติเหตุ ฮักส์ อินชัวรันซ์ โบรกเกอร์มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยสุขภาพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนยุคใหม่ สามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ฮักส์ประกันสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+