อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 ที่ต้องระวัง เสี่ยงมีปัญหาสุขภาพ
เขียนเมื่อวันที่ 03/02/2022
วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 ในอากาศ
สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ปัจจุบันมีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้คนในสังคมเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นการระบาดของโควิด วิถีชีวิตที่เร่งรีบขึ้นจนคนละเลยสุขภาพ การทำลายสิ่งแวดล้อมจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ ภัยพิบัติต่าง ๆ การติดตามข่าวสารจะช่วยให้เตรียมพร้อมรับมือ เช่นเดียวกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่แวะเวียนเข้ามาเรื่อย ๆ ผู้ที่ติดตามข่าวจะป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 ได้ทัน
สาเหตุการเกิดฝุ่น PM 2.5
การรู้สาเหตุของการเกิดฝุ่น PM 2.5 จะทำให้เห็นต้นกำเนิดของฝุ่นและผลกระทบได้ชัดเจน โดยสาเหตุการเกิดฝุ่น PM 2.5 แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
- กิจกรรมของมนุษย์
มนุษย์มีการสร้างมลพิษในอากาศทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว กิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดฝุ่น PM 2.5 มากที่สุดคือการเผาไหม้ ที่พบเห็นบ่อยจากการเผาไร่อ้อย เผาไร่ข้าวโพดเมื่อหมดหน้าผลผลิต รวมถึงการเผาขยะและเผากระดาษต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนสร้างมลพิษในอากาศและก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ทั้งสิ้น
- สภาพอากาศปิด
ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นที่ลอยอยู่ในอากาศอยู่แล้ว แต่เมื่อเกิดภาวะที่เรียกว่าสภาพอากาศปิด คือ การที่พื้นดินมีอุณหภูมิต่ำลงในช่วงหน้าหนาว ความหนาแน่นอากาศจึงอยู่ใกล้พื้นดิน ส่งผลให้ฝุ่นไม่สามารถลอยขึ้นข้างบนได้ ประกอบกับหมอกหน้าหนาวลอยตัวกดให้ฝุ่นลอยตัวอยู่ในชั้นอากาศบริเวณที่คนสามารถสูดเข้าไปได้ง่าย ช่วงหน้าหนาวจึงเป็นช่วงที่ฝุ่น PM 2.5 มักจะกลับมา
ฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาใหญ่ต่อสุขภาพและจะกลับมาเป็นประจำทุกปี ผู้ที่รักในสุขภาพจึงควรรู้วิธีดูแลตัวเองไม่ให้เกิดอาการแพ้ฝุ่น
อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 ที่พบได้บ่อย
การใส่หน้ากากอนามัยช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้
ฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาที่หลายพื้นที่ในประเทศไทยต้องพบเจอ ช่วงที่มีฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นจะมีการแจ้งเตือนให้ประชาชนระมัดระวังเรื่องสุขภาพ เพราะฝุ่น PM 2.5 สามารถส่งผลต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก
อาการเบื้องต้นที่ก่อให้เกิดการแพ้ฝุ่น
ผู้ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ แต่ปริมาณฝุ่นที่มากและมีขนาดเล็กก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่นกันแม้จะเป็นผู้ที่ร่างกายแข็งแรงดี มีอาการหลัก ๆ ดังนี้
- หายใจลำบาก รู้สึกสูดลมหายใจไม่เต็มปอด
ฝุ่นจะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและทำให้ผู้ที่สูดอากาศรู้สึกหายใจได้ไม่เต็มปอด เหนื่อยหอบได้ง่าย หายใจลำบากขึ้น และอาจมีอาการแน่นหน้าอกร่วมด้วย
- คัดจมูก มีน้ำมูก ระคายเคืองคอ
อาการคัดจมูก มีน้ำมูก และระคายคอเป็นการที่ร่างกายพยายามผลักสิ่งแปลกปลอมออกไป แต่เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กมากจึงยากต่อการขับออก อาการเหล่านี้จึงเป็นสัญญาณเตือนให้หลีกเลี่ยงการสูดดมฝุ่น PM 2.5 เข้าไป
- คันตามผิวหนัง
การคันตามผิวหนังเป็นอีกสิ่งบ่งชี้อาการแพ้ที่เกิดขึ้น หากอยู่กลางแจ้งในช่วงที่ฝุ่น PM 2.5 ลอยอยู่ในอากาศมากแล้วรู้สึกคัน ควรหลีกเลี่ยงการออกกลางแจ้งและพบแพทย์ทันที เพราะอาจจะเป็นภูมิแพ้โดยไม่รู้ตัวก็ได้
ผลกระทบด้านสุขภาพสำหรับผู้มีโรคประจำตัว
ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคปอด และโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ ฝุ่นจะทำให้อาการที่เป็นอยู่ทรุดลง ผู้ที่มีโรคประจำตัวจึงควรระวังตัวเป็นพิเศษ อาการของผู้ที่มีโรคประจำตัวจะแสดงออกตามความหนาแน่นของฝุ่น ( Air Quality Index หรือ AQI) ดังนี้
- ระดับความหนาแน่นของฝุ่น 51 ถึง 100 ผู้ป่วยจะอาการไอ จาม หายใจลำบาก
- ระดับความหนาแน่นของฝุ่น 101 ถึง 150 ผู้ป่วยจะมีเริ่มมีน้ำมูก หายใจหอบ แน่นหน้าอก
- ระดับความหนาแน่นของฝุ่น 151 ขึ้นไป ผู้ป่วยจะอาการแพ้ปรากฏ เช่น ผื่นแดง ตาแดง
ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัวและไม่มีโรคประจำตัว สามารถส่งผลกระทบได้กับทุกเพศ ทุกวัยหากไม่รู้จักดูแลตัวเอง การมีประกันภัยสุขภาพเอาไว้จะช่วยให้การเข้าถึงการรักษาสะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะเรื่องฝุ่น PM 2.5 เท่านั้นที่ควรเป็นห่วง แต่ประกันภัยสุขภาพยังครอบคลุมถึงโควิดที่กำลังระบาดอยู่ด้วย การทำประกันภัยสุขภาพตอนนี้จึงเป็นประโยชน์หลายต่อ
การดูแลตัวเองในช่วงฝุ่น PM 2.5
ฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาที่ไม่เคยหายไปอย่างถาวร หากมีการสร้างก๊าซพิษขึ้นสู่อากาศหรือช่วงที่สภาพอากาศอำนวยต่อการฟุ้งกระจายของฝุ่น ฝุ่น PM 2.5 ก็จะกลับมาอยู่เรื่อย ๆ การรู้จักวิธีป้องกันตนเองจึงช่วยดูแลสุขภาพระยะยาวได้
- ใส่หน้ากากอนามัยกรองฝุ่นทุกครั้ง
การใส่หน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่น PM 2.5 เช่น หน้ากากอนามัย N95 หน้ากากอนามัยฟอกอากาศ Puricare
- ปลูกต้นไม้ฟอกอากาศไว้ในบ้าน
ต้นไม้ฟอกอากาศช่วยกรองอากาศในบ้านให้บริสุทธิ์ ต้นไม้บางชนิดช่วยดูดซับสารพิษในอากาศด้วย ทำให้ระบบทางเดินหายใจทำงานได้ดีขึ้น
- ใช้เครื่องฟอกอากาศในห้องนอน
เครื่องฟอกอากาศออกแบบมาให้ดักจับฝุ่นขนาดเล็กที่ลอยฟุ้งอยู่ในอากาศให้ตกลงสู่พื้นและไม่ลอยเข้าสู่ทางเดินหายใจของมนุษย์
- เตรียมยารักษาภูมิแพ้ติดตัว
การมียารักษาภูมิแพ้ติดตัวจะช่วยบรรเทาอาการแพ้ไม่ให้รุนแรง สามารถนำส่งสถานพยาบาลได้ทัน ผู้ที่มีแนวโน้มจะแพ้หรือเป็นภูมิแพ้จึงควรพกยาแก้ภูมิแพ้ด้วยทุกครั้ง
- สร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง
การสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองจะทำให้ป่วยยาก วิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานวิตามินซี การพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย แต่ต้องทำต่อเนื่องและสม่ำเสมอจึงจะเห็นผล
เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องใหญ่ การมีสุขภาพที่ดีช่วยให้การดำเนินชีวิตง่ายขึ้น คนจึงจำเป็นต้องมีประกันภัยสุขภาพเพื่อเป็นหลักประกันในการเข้าถึงการดูแลสุขภาพ มีเงินสำรองใช้จ่ายยามเจ็บป่วย และมีสถานพยาบาลรองรับ สามารถปรึกษาฮักส์เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจได้ที่ Facebook หรือไลน์ @hugsinsurance หรือโทร 0 2975 5855