7 อาการเตือนโรคหัวใจ รู้ก่อนรักษาทัน
เขียนเมื่อวันที่ 12/07/2021
รู้ทันโรคหัวใจ ป้องกันการลุกลาม
โรคหัวใจถือเป็นภัยร้ายที่หลายคนอาจมีความเสี่ยงต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ มักเกิดในผู้ที่มีอายุ 30-40 ปีขึ้นไป สำหรับสาเหตุของโรคหัวใจคือพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพ อาทิ สูบบุหรี่จัด ทานอาหารที่มีไขมันสูง มีรสหวาน รสเค็มมาก น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน รวมถึงความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ
รวมปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
- โรคหัวใจมักพบในผู้ที่มีอายุ 30-40 ปีขึ้นไป
- เพศชายมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง
- หากคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจมักมีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค
- การสูบบุหรี่หรือสูดดมควันบุหรี่มีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจ
- ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูงมีส่วนทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอ เป็นเหตุให้เกิดโรคหัวใจตีบตัน
- ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเลือดจะไม่มีแรงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้หลอดเลือดหดเกร็ง และเกิดอาการหัวใจขาดเลือด
เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคร้ายควรสังเกตร่างกายของตัวเอง หากพบความผิดปกติดังต่อไปนี้ ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจ ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
สัญญาณเตือนโรคหัวใจที่ต้องระวัง
- หากมีอาการเจ็บแน่นและเหมือนมีอะไรมากดทับกลางหน้าอก ร้าวไปถึงกราม คอ ไหล่ และต้นแขนทั้งซ้ายขวา ถือเป็นสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดหัวใจ
- รู้สึกเหนื่อยหอบง่ายเวลาออกแรงและออกกำลังกาย ที่ร้ายแรงไปกว่านั้นคือมีอาการหอบเหนื่อยเมื่อนอนราบ เป็นสัญญาณเตือนภาวะหัวใจล้มเหลวและน้ำท่วมปอด
- มีอาการใจสั่นและรู้สึกเหมือนหัวใจเต้น ๆ หยุด ๆ ช้าบ้างเร็วบ้างสลับกันไป สาเหตุมาจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- มีอาการวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น เจ็บแน่นที่หน้าอก หน้ามืด หมดสติและไม่รู้สึกตัว
- มีอาการขาบวมจากน้ำคั่งภายในร่างกาย อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลว
- มีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึก
- บริเวณปลายมือ เท้า และปากมีสีเขียวคล้ำ
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องระวังสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจคือภาวะแทรกซ้อนที่ยากต่อการรักษา และอาจมีอันตรายถึงชีวิต
หัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย: เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในโรคหัวใจ สาเหตุเกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ
โรคหลอดเลือดในสมองขาดเลือด: เป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายอย่างมาก สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองตีบตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง จึงเป็นเหตุให้เนื้อเยื่อสมองตาย
โรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง: สาเหตุเกิดจากผนังหลอดเลือดแดงโป่งพอง ที่ร้ายแรงไปกว่านั้นคือถ้าหลอดเลือดแตก จะทำให้เกิดเลือดออกภายในร่างกาย มีความเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิต
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน: สาเหตุเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงตีบ ทำให้เกิดลิ่มเลือดที่ปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย รวมถึงเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ: เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เลือดไหลเวียนในแขนและขาไม่เพียงพอ ส่งผลให้รู้สึกเจ็บขาขณะเดิน ในกรณีที่มีอาการตีบตับมากบริเวณแขน ขา อาจทำให้เกิดสีคล้ำได้
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน: เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้สูญเสียการทำงานแบบเฉียบพลัน เป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
โรคหัวใจสามารถป้องกันได้เพียงดูแลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงปฏิบัติตามดังนี้
- งดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชาและกาแฟ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย อาทิ อาหารที่มีไขมันต่ำและผักผลไม้ที่มีกากใย
- ลดปริมาณโซเดียมและน้ำตาลให้น้อยลง
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่ได้มาตรฐาน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างความแข็งงแรง
- พักผ่อนให้เพียงพอและลดความเครียด
- ตรวจเช็คสุขภาพสม่ำเสมอเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตและไขมันในเลือด
นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคร้ายที่ไม่คาดฝันแล้ว การทำประกันภัยสุขภาพเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว ยามเกิดโรคภัยไข้เจ็บในอนาคต ฮักส์มีประกันภัยสุขภาพจากหลายบริษัทชั้นนำที่น่าสนใจ สายคุ้มประกันภัยสุขภาพทิพยจัดเต็มจากทิพยประกันภัย เบี้ยแค่ 15,000 บาท/ปี แต่คุ้มครองทั้งการรักษาแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก สายจุใจประกันภัยสุขภาพอุ่นใจรักษ์ โกลด์ ความคุ้มครองจัดเต็มสูงสุดถึง 5 ล้านบาทต่อปีจากวิริยะประกันภัย พร้อมให้การคุ้มครองที่ตอบโจทย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2975 5855 ยินดีให้คำแนะนำด้วยความเต็มใจ
อ้างอิงข้อมูล : paolohospital, bangkokhospitalkhonkaen, vejthani