พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง เด็กติดโควิดอันตรายกว่าผู้ใหญ่ไหม
เขียนเมื่อวันที่ 03/02/2022
รู้วิธีรับมือโควิดสำหรับผู้ที่มีเด็กในบ้าน
โควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบันมีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสมาแล้วหลายครั้ง ความรุนแรงแต่ละครั้งจะแตกต่างกัน ทำให้ต้องมีการรณรงค์ให้คนฉีดวัคซีนโควิดเพื่อลดความรุนแรงของอาการป่วยและลดโอกาสในการเสียชีวิตจากโควิดด้วย กลุ่มประชากรที่น่าเป็นห่วงในสถานการณ์โควิด ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และเด็ก ในที่นี้จะกล่าวถึงการติดโควิดในเด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองเฝ้าระวังได้อย่างถูกวิธี เพราะพบว่าเด็กที่ติดโควิดมีการอักเสบเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจส่วนต้นคล้ายโรคครูป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโควิดและโรคครูปเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเหมือนกัน ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าเด็กอาจจะเกิดโรคครูปแทรกซ้อนขณะติดโควิดได้
อาการเบื้องต้นของโควิดในเด็ก
โรคอุบัติใหม่อย่างโควิดสร้างความกังวลให้กับหลายส่วน มีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อจนสร้างความกังวลให้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับการติดโควิดในบุตรหลาน การเฝ้าระวังอาการโควิดในเด็กควรตรวจสอบอาการดังต่อไปนี้
- เริ่มมีไข้ต่ำ
อาการไข้ต่ำเป็นสัญญาณของอาการป่วย อาจจะเป็นไข้ประจำฤดูกาลหรือโควิดก็ได้ หากเริ่มมีไข้ต่ำควรมีการตรวจโควิดประกอบด้วยเสมอ
- รู้สึกปวดตามร่างกาย
โควิดหลายสายพันธ์มาพร้อมอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เด็กเป็นช่วงวัยที่ไม่ค่อยประสบปัญหาปวดเมื่อยมาก หากพบว่าเด็กเกิดปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจึงไม่ควรวางใจ
- ไอแห้งและเจ็บคอ
เชื้อโควิดมักจะเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจไปทางคอแล้วลงสู่ปอด อาการเจ็บคอและไอแห้งจึงอาจเป็นสัญญาณของเชื้อไวรัสที่อยู่บริเวณลำคอได้
- รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
หากปอดมีการทำงานหนักจะก่อให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย และอ่อนเพลียได้ง่ายระหว่างวัน หากเด็กมีอาการเหนื่อยอ่อนตลอดวัน พร้อมมีอาการน่าสงสัยอื่น ๆ ควรนำไปตรวจร่างกาย
- รับประทานอาหารน้อยลง
อาการเบื่ออาหารอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการเจ็บป่วยได้ การตรวจสอบเพื่อความมั่นใจเกี่ยวกับโควิดจึงไม่ควรละเลย
- ไม่ได้รสหรือกลิ่น
โควิดบางสายพันธุ์มีลักษณะเด่นที่ร่างกายจะไม่ได้กลิ่นและไม่ได้รับรสชาติอาหาร อาการดังกล่าวจึงเป็นอาการที่ไม่ควรมองข้าม
โควิดสามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มกันเป็นหลัก ทางที่ดีจึงควรมีประกันภัยสุขภาพติดตัวเอาไว้เพื่อช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายและการเข้าถึงการรักษาที่ทันท่วงทีหากติดเชื้อ
การดูแลเด็กตามช่วงวัยในช่วงโควิด
วัยเด็กเป็นวัยที่รักการเล่น การเรียนรู้นอกบ้าน โอกาสในการได้รับเชื้อโควิดจึงสูง การเข้าใจธรรมชาติของเด็กและรู้แนวทางการป้องกันจึงช่วยลดโอกาสได้รับเชื้อได้ดีขึ้น
- กลุ่มเด็กเล็กอายุไม่เกิน 3 ปี
เด็กเล็กหรือเด็กอ่อนเป็นกลุ่มเด็กที่มีโอกาสติดเชื้อแล้วเชื้อลงปอดมากที่สุดเมื่อเทียบกับเด็กวัยอื่น ๆ เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง โดยเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ปกครอง งดการออกจากบ้านสัมผัสเชื้อโดยเด็ดขาด และคัดกรองบุคคลเข้าใกล้เพื่อหลีกเลี่ยงกลุ่มเสี่ยงที่อาจมีเชื้อโควิด
- เด็กเล็กอายุ 3 – 7 ปี
เด็กอายุ 3 – 7 ปี เป็นช่วงวัยที่เริ่มมีภูมิต้านทาน แต่ก็มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายเช่นกัน การเสริมภูมิคุ้มกันจากอาหารที่มีประโยชน์จึงมีความสำคัญมากในช่วงวัยนี้ หากเด็กได้รับสารอาหารครบถ้วน มีสุขภาพกายและสุขภาพใจดีจะลดโอกาสติดเชื้อโควิดได้ระดับหนึ่ง
- เด็กอายุ 7 ปีขึ้นไป
เด็กอายุ 7 ปีเป็นช่วงที่มีภูมิคุ้มกันมาจากการออกกำลังกายและความสมบูรณ์ของระบบต่าง ๆ ที่ยังไม่เสื่อมไปตามวัย เด็กวัยนี้หากติดโควิดจึงมักเป็นโควิดแบบไม่แสดงอาการ ผู้ปกครองจึงควรติดตามการใช้ชีวิตและตรวจโควิดทันทีหากเด็กมีโอกาสใกล้ชิดกับกลุ่มเสี่ยง
เด็กแต่ละช่วงวัยมีโอกาสติดโควิดได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่การแสดงอาการและความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับความแข็งแรง เด็กและผู้ใหญ่มีอาการตอนติดโควิดคล้ายกัน ยกเว้นเด็กอ่อนที่จะป่วยหนักกว่าวัยอื่น เพราะระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่แข็งแรง
การกักตัวของเด็กเมื่อติดโควิด
การดูแลอย่างถูกวิธีช่วยลดโอกาสติดเชื้อโควิดในเด็ก
เมื่อทราบว่ามีเด็กติดโควิดควรมีมาตรการในการกักตัวที่ได้มาตรฐานและลดโอกาสในการแพร่เชื้อ สามารถแบ่งการกักตัวได้ดังนี้
- เด็กและผู้ปกครองเป็นผู้ติดเชื้อ
หากทั้งเด็กและผู้ปกครองติดเชื้อโควิดจะใช้การกักตัวรวมกัน อาจจะเป็นใน Hospitel หรือกักตัวที่บ้านขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย
- เด็กติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ
หากเด็กติดเชื้อแต่ผู้ปกครองไม่พบเชื้อจะแยกเด็กออกมากักตัว ซึ่งมีความซับซ้อนในเรื่องของขั้นตอนมากกว่า เพราะเด็กยังอยู่ในวัยที่ต้องการผู้ปกครอง จึงต้องมีการจัดสถานที่ให้ผู้ปกครองสามารถใกล้ชิดเด็กได้เหมือนการเยี่ยมไข้ แต่ไม่ให้สัมผัสใกล้ชิด เพราะอาจจะติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้
การระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อในกลุ่มคนได้สูง รวมถึงในเด็กด้วย ระหว่างการระบาด ผู้ปกครองจึงควรงดการนำเด็กออกไปข้างนอก รวมถึงมีการทำประกันภัยสุขภาพสำรองเอาไว้ให้เด็กเผื่อกรณีฉุกเฉิน ปรึกษาฮักส์เกี่ยวกับประกันภัยสุขภาพเพื่อการทำประกันภัยที่ตรงใจได้ทาง Facebook หรือไลน์ @hugsinsurance หรือโทร 0 2975 5855