loading
ส่องราคาวัคซีนโควิด โรงพยาบาลเอกชน โดสละเท่าไหร่

ส่องราคาวัคซีนโควิด โรงพยาบาลเอกชน โดสละเท่าไหร่

เขียนเมื่อวันที่ 14/06/2021

เช็คลิสต์ราคาวัคซีนโควิด โรงพยาบาลเอกชน

ปัจจุบันประเทศไทยยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ถึงแม้จะมีการนำเข้าของวัคซีนโควิดจากทางภาครัฐแต่ยังคงมีผู้ติดเชื้ออยู่อย่างต่อเนื่อง การฉีดวัคซีน Covid-19 ได้รับการยืนยันว่าจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิดได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ต้องควบคู่ไปกับการป้องกันตัวเองเช่น การสวมใส่หน้ากากอนามัย การหมั่นล้างมือให้สะอาด และเว้นระยะห่าง ที่ยังคงต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่างที่ทราบกันดีว่าไวรัสโควิด-19 ถือเป็นโรคอุบัติใหม่ร้ายแรงที่มียอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และคร่าชีวิตคนไทยในจำนวนไม่น้อย เพราะฉะนั้นการใส่หน้ากากอนามัย หรือหมั่นล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ อาจยังเซฟตัวเองได้ไม่ดีเท่ากับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันรวมถึงลดอัตราความรุนแรง และลดการแพร่เชื้อส่งต่อไปยังผู้ใกล้ชิดคนอื่น ๆ ซึ่ง ณ ปัจจุบันได้มีการผลิตวัคซีนขึ้นมาป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หลากหลายยี่ห้อ ทั้งทางฝั่งจีนและยุโรป

วัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นวัคซีนที่มีการผลิตขึ้นเพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิดขึ้นมา และช่วยป้องกันหากได้รับเชื้อในอนาคตซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลังจากฉีดวัคซีนไปสักระยะ ร่างกายจึงจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา

วัคซีนโควิดมีกี่ชนิด

ขวดวัคซีนโควิด19 และเข็มฉีดยา

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกที่มีการคิดค้นวัคซีน Covid-19 โดยหลายบริษัทพร้อมรูปแบบและวิธีการผลิตวัคซีนที่มีความหลากหลาย โดยวิธีที่มีการผลิตมากที่สุดมี 4 วิธีดังนี้

mRNA vaccines

การผลิตโดยใช้สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) วัคซีนที่มีส่วนกำกับการสร้างโปรตีนของไวรัส SAR-CoV-2 ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกาย จะทำให้ร่างกายสร้างโปรตีนที่สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้น

Viral vector vaccines

การผลิตวัคซีนที่ตัดต่อทางพันธุกรรม โดยการใช้สารทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เข้าไปในสารพันธุกรรมของไวรัสชนิดอื่นที่อยู่ในสภาพที่ไม่ก่อให้เกิดโรค เพื่อนำพาเข้าไปในร่างกายของมนุษย์ ทำให้เกิดการสร้างโปรตีนที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมา

Inactivated Virus Vaccine

ผลิตโดยการใช้ไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ที่ถูกทำให้ตายแล้ว วัคซีนเชื้อตายที่จะมีการเลี้ยงไวรัสชนิดนี้ให้ได้ปริมาณมากแล้วทำให้ตาย เมื่อถูกฉีดเข้าไปในร่างกาย จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด

Protein-based vaccines

การผลิตวัคซีนมาจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส

วัคซีนโควิดมีกี่ยี่ห้อ

สำหรับวัคซีนโควิดที่มีจำหน่ายในท้องตลาดในปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีการได้รับการอนุมัติและได้รับการรับรองจากองค์กรอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) และมีการใช้กันแล้วในต่างประเทศ ได้แก่

  • Pfizer-BioNTech (สหรัฐอเมริกา)
  • Moderna (สหรัฐอเมริกา)
  • Gamaleya (รัสเซีย)
  • AstraZeneca (สหราชอาณาจักร)
  • Vector Institute (รัสเซีย)
  • Sinovac (จีน)
  • Sinopharm (จีน)
  • Cansino Biologics (จีน)
  • Bharat Biotech / ICMR (อินเดีย)

นอกจากการนำเข้าวัคซีนโควิด19 ในประเทศไทยของทางภาครัฐแล้วนั้น ได้มีนโยบายให้เอกชนสามารถนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ได้ แต่ต้องยื่นเอกสารขึ้นทะเบียนวัคซีนกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ถูกต้อง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่มีความพร้อมกับในการรับวัคซีนโควิดของโรงพยาบาลเอกชน สำหรับโรงพยาบาลเอกชนที่กำลังมีการทยอยยื่นขอขึ้นทะเบียนนำเข้าวัคซีนโควิด-19 กับทาง อย. มี 4 โรงพยาบาลด้วยกันคือ

  • โรงพยาบาลธนบุรี
  • โรงพยาบาลรามคำแหง
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ (BDMS)
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์

ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งได้มีการเจรจากับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนในต่างประเทศมาเป็นระยะ ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนของ Johnson & Johnson, Moderna, Sinopharm, Sputnik V รวมถึง Pfizer ได้นำเข้ามากกว่า 1 ตัวเพื่อเป็นตัวเลือกให้แก่ลูกค้า จากการพิจารณาและเจรจากับบริษัทผู้ผลิตวัควีนราคาอยู่ที่ประมาณ 17-40 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส โดยยังไม่รวมค่าขนส่งเข้ามายังประเทศไทย และค่าบริการต่างๆ ซึ่งคาดว่าราคาสำหรับวัคซีนที่นำเข้านี้จะอยู่ที่ประมาณ 2,000 บาทต่อโดส และจากการสำรวจความต้องการวัคซีนโควิดขณะนี้พบว่ามีสูงถึง 10 ล้านโดส

หมอกำลังใช้เข็มฉีดยาดึงยาจากขวดวัคซีนโควิด

ข้อควรปฏิบัติหลังได้รับวัคซีนโควิด

หลังจากที่ได้รับวัคซีนแล้ว ผู้ที่ฉีดวัคซีนควรต้องอยู่เฝ้าสังเกตอาการที่สถานพยาบาลที่เข้ารับการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 30 นาที เพื่อสังเกตว่ามีอาการข้างเคียงอื่นๆ หลังจากได้รับวัคซีนหรือไม่ หากเกิดอาการข้างเคียง เช่น ปวด บวม แดง คัน หรือช้ำบริเวณที่ฉีดยา อ่อนเพลีย และรู้สึกไม่สบายตัว ปวดศีรษะเล็กน้อย อาการคล้ายมีไข้ คลื่นไส้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ มึนงง ใจสั่น ปวดท้อง อาเจียน ให้แจ้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร พร้อมแจ้งอาการที่เกิดขึ้นด้วย แต่หากมีอาการเล็กน้อยอย่าง ปวดศีรษะ มีไข้ต่ำ ๆ สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการได้ หากมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง ให้รีบพบแพทย์โดยทันที และให้เก็บบันทึกการฉีดวัคซีนไว้เป็นหลักฐาน

สำหรับวัคซีนโควิดเอกชน นอกจากจะเป็นทางเลือกให้กับกลุ่มประชาชนที่มีกำลังในการซื้อแล้วนั้น อีกด้านคือแบ่งเบาภาระของภาครัฐ และวัคซีนจะสามารถเข้าถึงกลุ่มประชาชนได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามหากใครมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะได้รับจากการฉีดวัคซีน ประกันภัยการแพ้วัคซีนโควิดก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งที่ช่วยบ่งเบาหากเกิดการแพ้ขึ้นมาจริงๆ ซึ่ง Hugs insurance มีความคุ้มครองประกันภัยแพ้วัคซีนโควิดหลากหลายแผนความคุ้มครอง ทั้งค่ารักษา และเงินชดเชยรายได้ ในราคาเบี้ยเริ่มต้นที่ 70 บาท แต่หากใครที่ต้องการความครอบคลุมสุดๆ หมดห่วงไม่ว่าจะเป็น โควิด หรืออาการอื่นๆ อาจจะต้องพิจารณาการซื้อประกันสุขภาพเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด เริ่มต้นเพียง 2,160 บาท/ปี เพราะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดและปัญหาสุขภาพต่างๆ ในปัจจุบันเป็นเรื่องใกล้ตัวที่คุณไม่ควรมองข้าม ให้ฮักส์เป็นเพื่อนที่คอยอยู่ดูแลทุกเรื่องประกันภัย หากต้องการสอบถามโทรปรึกษาฮักส์ได้ที่ 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล: https://extranet.who.int/pqweb/sites/default/files/documents/Status_COVID_VAX_01March2021.pdf,
https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/index.html


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+