วิธีป้องกันโรคหัวใจ ช่วยต่ออายุให้ยืนยาว
เขียนเมื่อวันที่ 10/07/2021
โรคหัวใจป้องกันได้ เริ่มต้นด้วยการดูแลตนเอง
โรคหัวใจ (Heart Disease) หมายถึงภาวะหัวใจที่เกิดขึ้นได้หลายประเภทชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหลอดเลือดหัวใจ (CAD) ซึ่งส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ เมื่อการไหลเวียนของเลือดลดลงอาจทำให้หัวใจวายได้ โรคนี้มีหลากหลายชนิด ได้แก่
- โรคหลอดเลือดหัวใจ
- ปัญหาจังหวะการเต้นของหัวใจ (Arrhythmias)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
- โรคลิ้นหัวใจ
- โรคหัวใจติดเชื้อ
ปัจจุบันโรคนี้มีแนวโน้มอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่โรคหัวใจหลายชนิดสามารถป้องกันหรือทำการรักษาให้หายได้
อาการโรคหัวใจแต่ละชนิด
อาการโรคหัวใจขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจที่ผู้ป่วยเป็น โดยแต่ละชนิดจะมีสัญญาณเตือนที่สังเกตได้ด้วยตนเอง
อาการเตือนโรคหัวใจ ที่สามารถสังเกตได้
อาการที่แสดงออกมาในบางครั้งอาจเป็นสัญญาณเตือนโรคหัวใจได้โดยไม่รู้ตัว โดยควรหมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติของร่างกายที่อาจกลายเป็นความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ ดังนี้
- เจ็บหน้าอก แน่นบริเวณกลางหน้าอกหรือค่อนไปทางด้านซ้ายที่เป็นตำแหน่งของหัวใจ
- เมื่อนอนราบจะมีอาการอึดอัดบริเวณหน้าอกและรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ
- เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย เดินเร็ว หรือมีการใช้แรงเป็นอย่างมาก
- เป็นลมหรือหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีอาการเท้าบวม ขาบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
- บริเวณปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า และริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำ
- มีอาการหายใจถี่
อาการโรคหลอดเลือดหัวใจ
อาการที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปยังหัวใจ เกิดการอุดตันจากคราบพลัค การสะสมของคราบจุลินทรีย์ที่ประกอบด้วยคอลเลสเตอรอลและสารอื่น ๆ ทำให้หลอดเลือดมีพื้นที่แคบลง ปริมาณเลือดและออกซิเจนที่ถูกส่งไปยังหัวใจลดน้อยลงเพราะถูกอุดตัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ อาการที่พบบ่อยที่สุดจากโรคหลอดเลือดหัวใจคือ รู้สึกเจ็บ แน่น บริเวณหน้าอก ในผู้ป่วยบางรายไม่มีการแสดงอาการ จนเกิดความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น เช่น อาการหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งมีความร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต
อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
มีภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป อัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ อาการที่แสดงถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาทิ
- มีอาการใจสั่น
- หัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)
- หัวใจเต้นช้า (Bradycardia)
- มีอาการเจ็บหน้าอก
- หายใจถี่
- มึนหัว
- มีอาการวูบหรือเป็นลมหมดสติ
อาการโรคหัวใจที่เกิดจากความบกพร่องของหัวใจ
ข้อบกพร่องของหัวใจที่ร้ายแรงอาจควบคู่มากับโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด สามารถสังเกตได้ไม่นานหลังคลอด โดยจะแสดงอาการดังนี้
- เด็กมีผิวสีเทาซีดหรือตัวเขียว
- อาการบวมที่ขา หน้าท้อง หรือบริเวณรอบดวงตา
- ในเด็กทารกจะมีอาการหายใจถี่ระหว่างให้นม ทำให้เด็กน้ำหนักไม่ขึ้น
อาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Cardiomyopathy)
ในระยะแรกของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาจไม่มีอาการใดๆ เมื่ออาการแย่ลงร่างกายจะมีการแสดงอาการ ดังนี้
- รู้สึกหายใจไม่อิ่มเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่ในเวลาพักผ่อน
- มีอาการบวมที่ขา ข้อเท้าและเท้า
- รู้สึกเหนื่อยล้า
- หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นแรงผิดปกติ
- รู้สึกเวียนหัว หน้ามืดหรือเป็นลม
อาการโรคหัวใจติดเชื้อ
การติดเชื้อที่หัวใจหรือเยื่อบุหัวใจอักเสบ คือ การติดเชื้อที่ส่งผลต่อเยื่อบุชั้นในของห้องหัวใจและลิ้นหัวใจ (Endocardium) จะมีอาการที่แสดงออก อาทิ
- มีไข้
- หายใจถี่
- ร่างกายอ่อนเพลียหรืออ่อนล้า
- มีอาการบวมที่ขาหรือหน้าท้อง
- จังหวะการเต้นของหัวใจเปลี่ยนไป
- มีอาการไอแห้งหรือไอเรื้อรัง
- มีผื่นผิวหนังขึ้นบริเวณร่างกาย
อาการโรคลิ้นหัวใจ (Valvular Heart Disease)
หัวใจของมนุษย์มีสี่วาล์วประกอบด้วยวาล์วเอออร์ติก, วาล์วไมตรัล, วาล์วปอดและลิ้นหัวใจไตรคัสปิด ทำหน้าที่เปิดและปิดเพื่อให้เลือดไหลผ่านหัวใจ องค์ประกอบหลายอย่างสามารถทำลายลิ้นหัวใจนำไปสู่การตีบ รั่ว อาการโรคลิ้นหัวใจโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับว่าวาล์วใดทำงานผิดปกติ โดยมีอาการดังนี้
- มีอาการเหนื่อยล้า
- หายใจถี่
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- เท้าหรือข้อเท้าบวม
- เจ็บหน้าอก
- เป็นลมหมดสติ
ชนิดของโรคหัวใจที่ต้องระวัง
โรคหัวใจสามารถป้องกันความเสี่ยงได้ด้วยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรม ที่ส่งผลให้มีแนวโน้มการเกิดโรคหัวใจให้มากขึ้น ดังนี้
1.ควบคุมน้ำหนักตัว
น้ำหนักส่วนเกิน หรือ ความอ้วน สามารถส่งผลต่อสุขภาพหัวใจและยังเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด โรคเบาหวาน ซึ่งอาจนำไปสู่โรคร้ายต่าง ๆ
2.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ด รวมถึงรับประทานมากเกินพอดี ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยควรเน้นการรับประทานผัก ผลไม้ โปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน
3.งดสูบบุหรี่
บุหรี่ถือเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก เนื่องจากในบุหรี่มีสารเคมีหลากหลายชนิดที่ส่งผลเสียต่อร่างกายและระบบการทำงานต่าง ๆ สังเกตได้ว่าบุหรี่ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ
4.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายช่วยให้ร่ายกายแข็งแรง โดยควรออกอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง สำหรับคนที่ไม่มีเวลาไปฟิตเนสก็สามารถออกกำลังกายง่าย ๆ ด้วยตัวเองที่บ้านเช่น การวิ่ง การเล่นโยคะ หรือการใช้เครื่องออกกำลังกายในบ้าน เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและทำให้หัวใจแข็งแรง
5.ตรวจสุขภาพประจำปี
การตรวจเช็คสุขภาพประจำปีจะเป็นตัวช่วยให้คุณพบเจอปัญหาสุขภาพหรือความผิดปกติของร่างกาย ที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรค หรือตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้นเพื่อหาแนวทางการรักษา โดยทั่วไปควรทำการตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุก ๆ 2 ปี แต่สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคหัวใจควรเข้ารับการตรวจเป็นประจำทุกปี
การป้องกันโรคหัวใจ สามารถลดความเสี่ยงด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ที่มีโอกาสเกิดเป็นโรคหัวใจได้มากยิ่งขึ้น ควรเริ่มต้นหันมาดูแลและใส่ใจสุขภาพร่างกาย รวมถึงการวางแผนสุขภาพด้วยการเลือกทำประกันภัยสุขภาพที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล หากเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน ฮักส์มีแผนความคุ้มครองวิริยะประกันภัย อุ่นใจรัก โกลด์ มอบความคุ้มครองสูงสุด 5,000,000 บาท/ครั้ง* ค่าห้องสูงสุด 15,000 บาท/วัน* ค่ารักษา แพทย์ ผ่าตัด จ่ายตามจริง และเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลชั้นนำเครือ BDMS โดยไม่ต้องสำรองจ่าย กับค่าเบี้ยประกันเริ่มต้น 13,284 บาท/ปี ฮักส์ยินดีให้คำแนะนำการเลือกทำประกันภัยให้ตอบโจทย์และเหมาะกับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ สามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : Mayoclinic.org , โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , Medicalnewstoday