loading
ไขข้อสงสัย เหงื่อออกตอนกลางคืนเสี่ยงโควิด หรือเป็นโรคอื่น

ไขข้อสงสัย เหงื่อออกตอนกลางคืนเสี่ยงโควิด หรือเป็นโรคอื่น

เขียนเมื่อวันที่ 02/02/2022

อาการเหงื่อออกกลางคืน แม้อยู่ในห้องแอร์ ใช่ป่วยโควิดไหม

ในอดีตอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนทั้งที่นอนตากแอร์อาจไม่สร้างความกังวลใจมากนัก ด้วยหลายคนมองว่าเป็นเพียงอาการขี้ร้อนเท่านั้น แต่หลังพบผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอนบางรายมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนจนเสื้อเปียกโชกแม้นอนในห้องที่อากาศเย็น เรื่องดังกล่าวสร้างความตื่นตระหนกไม่น้อยทีเดียว ถึงอย่างนั้นก็อย่าเพิ่งตกใจไปเพราะเหงื่อออกตอนกลางคืน อาจไม่ใช่อาการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเสมอไป แต่เป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกาย และวันนี้ HUGS Insurance จะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการมีเหงื่อออกระหว่างนอนหลับว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร เสี่ยงเป็นโรคร้ายหรือไม่

เหงื่อออกตอนกลางคืน คืออะไร

เป็นภาวะที่ร่างกายขับเหงื่อออกมากผิดปกติ แม้อยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็นที่ไม่ได้เอื้อต่ออาการเหงื่อออกก็ตาม นอกจากอาการดังกล่าวก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว ยังอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกาย หรือเป็นหนึ่งในอาการของโรคร้ายแรงได้ด้วย

เหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นสัญญาณเตือนโรคใดบ้าง

โควิดสายพันธุ์โอไมครอน

หลังจากเกิดการระบาดของไวรัสโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ อย่างโควิดสายพันธุ์ ​B.1.1.529 หรือโอไมครอน (Omicron) สายพันธุ์ที่น่ากังวลใจไม่น้อย เนื่องจากแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา แถมอาการป่วยยังไม่ชัดเท่าสายพันธุ์อื่น จนบางครั้งเกิดความสับสนระหว่างติดเชื้อโควิดหรือป่วยไข้หวัด ถึงอย่างนั้นโควิดสายพันธุ์โอไมครอนก็มีอาการที่สามารถสังเกตได้นั่นคืออาการเหงื่อออกตอนกลางคืน แต่ทั้งนี้ควรพิจารณาอาการป่วยอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย

โรคอ้วน

ผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีภาวะอ้วนมาก ๆ ชั้นไขมันใต้ผิวหนังหนาตัวขึ้นเป็นผลให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้อย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ต้องระบายความร้อนภายในร่างกายออกมาในรูปแบบของเหงื่อมากกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ สังเกตได้ว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานมักมีอาการเหงื่อออกเยอะมากผิดปกติ ซึ่งวิธีรักษาก็ไม่ยุ่งยากเพียงลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมก็บรรเทาภาวะร่างกายขับเหงื่อออกมากผิดปกติได้

การติดเชื้อในร่างกาย

หากคุณมีอาการป่วยจากการติดเชื้อหรือมีไวรัสอยู่ในร่างกาย จนทำให้ป่วยด้วยโรคไข้หวัด แผลติดเชื้อ หรือป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยอาการป่วยเหล่านี้มักทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงจนไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้กำจัดเชื้อดังกล่าวออกไป และการขับเหงื่อออกมามากขึ้นก็ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้ ดังนั้นถ้าคุณหายป่วยอาการเหงื่อออกมากผิดปกติก็หายไปด้วย

โรคพาร์กินสัน

ผู้ป่วยพยายามจับมือที่สั่นเพราะโรคพาร์กินสัน

ภาวะเหงื่อออกมากเป็นอาการหนึ่งของโรคพาร์กินสัน

เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ชื่อว่าโดปามีน ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตสารนี้ได้ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหว โดยผู้ป่วยโรคพาร์กินสันบางรายมีอาการมือสั่นร่วมกับอาการเหงื่อออกเยอะผิดปกติ

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

แม้ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอย่างแน่ชัด แต่อาการเริ่มต้นของผู้ป่วยโรคนี้มีทั้งเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือกลางคืนเหงื่อออกมากถึงแม้จะนอนอยู่ในห้องแอร์ก็ตาม

โรคเบาหวาน

เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดวางอยู่หน้าแก้วในน้ำตาลก้อน

อาการเหงื่อออกมากผิดปกติเป็นสัญญาณเตือนโรคเบาหวาน

สำหรับอาการเหงื่อออกมากผิดปกติเป็นหนึ่งในอาการข้างเคียงของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยสามารถป้องกันโรคเบาหวานกำเริบด้วยการหมั่นตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดทุก 4-6 ชั่วโมง อย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งการรับประทานยา การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย รวมถึงควรพกลูกอม น้ำผลไม้ น้ำหวาน หรือกลูโคสแบบเม็ดติดตัวไว้ เพื่อช่วยรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างทันท่วงที

ภาวะวัยทอง

เป็นภาวะที่ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนขาดความสมดุล ส่งผลให้ผู้ที่เข้าสู่วัยทองมีเหงื่อออกมากในตอนกลางคืน อารมณ์แปรปรวน รู้สึกร้อนวูบวาบที่ผิวบริเวณศีรษะหรือหน้าอก อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะ หากพบสัญญาณเตือนดังกล่าวควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา

 

เหงื่อออกตอนกลางคืน รักษาได้ไหม

เนื่องจากภาวะเหงื่อออกตอนกลางคืนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นวิธีการรักษาอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนย่อมเป็นไปตามโรคที่เป็นอยู่ อย่างผู้ที่เข้าสู่ภาวะวัยทอง แพทย์อาจใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อช่วยรักษาอาการนี้ แต่บางคนอาจมีอาการเหงื่อออกกลางดึกเพราะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เช่นดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำทุกคืน ชอบสวมเสื้อผ้าหนา ๆ เข้านอน หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถบรรเทาอาการเหงื่อออกในตอนกลางคืนได้

วิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลภาวะเหงื่อออกตอนกลางคืน

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือจำกัดปริมาณการดื่ม
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
  • ห้องนอนควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก
  • เลือกใช้เครื่องนอนที่ช่วยระบายความร้อนได้ดี
  • ใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ที่ระบายอากาศได้ดี 
  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อเลี่ยงปัญหาสุขภาพ
  • หมั่นตรวจสุขภาพประจำปีเสมอเพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกาย

อาการเหงื่อออกตอนกลางคืนอาจเป็นเหมือนสัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าร่างกายของคุณกำลังมีบางอย่างที่ผิดปกติ ฉะนั้นการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ควบคุมอาหาร หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ พร้อมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ช่วยลดโอกาสเสี่ยงเป็นโรค COVID-19 ตลอดจนโรคร้ายแรงอื่น ๆ นอกจากนี้การเตรียมความพร้อมยามเจ็บป่วยในอนาคตผ่านการเลือกทำประกันภัยสุขภาพ ก็ช่วยให้อุ่นใจในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชยรายได้ ค่าหมอ หรือค่าห้องที่เกิดขึ้นได้ในอนาคต หากไม่รู้ว่าควรสมัครแผนประกันภัยสุขภาพแบบไหนดี ฮักส์มีกรมธรรม์ที่มีความคุ้มครองครอบคลุมทั้งเหมาะกับไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตของคนยุคใหม่ให้เลือกมากมาย สามารถติดต่อได้ผ่านช่องทาง Facebook: HUGS Insurance หรือทางช่องทางไลน์ @hugsinsurance หรือโทร 0 2975 5855


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

#ฮักส์ประกันภัยสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+