ระวัง อาการโอไมครอนขณะหลับ เช็คให้ชัวร์ก่อนเป็นคลัสเตอร์ใหม่
เขียนเมื่อวันที่ 28/01/2022
รู้ทันอาการโอไมครอน กักตัวก่อนแพร่กระจายเชื้อเป็นวงกว้าง
โควิด-19 เป็นโรคระบาดอุบัติใหม่ที่มีการกลายพันธุ์หลายครั้ง แต่ละครั้งของการกลายพันธุ์จะทำให้การส่งต่อเชื้อง่ายดายมากยิ่งขึ้น เพราะเชื้อไวรัสมีการหลบหลีกภูมิคุ้มกันและเพิ่มประสิทธิภาพในการแบ่งตัวในอากาศ ซึ่งสายพันธุ์ที่กำลังได้รับการจับตามองล่าสุดคือสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) เป็นสายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในทวีปแอฟริกาใต้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 แต่ปริมาณผู้ติดเชื้อกลับพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาเพียงไม่กี่เดือน ทำให้สายพันธุ์โอไมครอนเป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงในเรื่องปริมาณผู้ติดเชื้อในขณะนี้
อาการของผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
การแสดงอาการของผู้ป่วยโควิดมีหลายรูปแบบ ส่วหนึ่งเป็นผลมาจากสายพันธุ์ของไวรัสด้วย บางสายพันธุ์แสดงอาการมาก บางสายพันธุ์แสดงอาการน้อยหรือไม่แสดงอาการเลย สายพันธุ์โอไมครอนเองก็แสดงอาการที่แตกต่างจากโควิดสายพันธุ์อื่นเช่นกัน โควิดสายพันธุ์โอไมครอนมักจะแสดงอาการคล้ายการเจ็บป่วยปกติจึงยากจะแยกอย่างชัดเจน ดังนี้
- เจ็บคอและไอแห้ง
อาการเจ็บคอมักจะมาคู่กับอาการไอแห้ง หรือไอแบบไม่มีเสมหะ อาการเหล่านี้คล้ายกับคนเป็นไข้หวัด แต่ตัวไม่ร้อน จึงยากที่จะบ่งบอกได้ว่าป่วยหรือไม่
- ปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง
การปวดหลังส่วนล่างจะใกล้เคียงกับอาการปวดหลังของผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรม ทำให้หลายคนไม่แน่ใจว่าตัวเองติดเชื้อโอไมครอนหรือไม่ ควรพิจารณาอาการอื่นประกอบกัน
- เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
อาการเหนื่อยหอบเกิดจากการที่เชื้อไวรัสลงสู่ปอดและระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจึงรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ ในรายที่เชื้อยังไม่ลงปอดจึงยังไม่มีอาการส่วนนี้ชัดเจน
- เหงื่อออกตอนกลางคืน
การมีเหงื่อออกตอนกลางคืนเป็นอาการเฉพาะที่เพิ่งค้นพบสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโอไมครอนเท่านั้น การระบาดก่อนหน้าไม่มีผู้ป่วยมีอาการนี้มาก่อน อาการนี้จึงถูกบันทึกให้เป็นหนึ่งในอาการบ่งบอกว่าเป็นโอไมครอนที่ต้องเฝ้าระวัง
สังเกตุได้ว่าอาการป่วยโควิดมีความคล้ายอาการป่วยของโรคตามฤดูกาลทั่วไป หากไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือเป็นกลุ่มที่ต้องตรวจ ATK เป็นปกติก็อาจจะไม่ทราบเลยว่าอาการที่กำลังเป็นคือโควิดสายพันธุ์โอไมครอนหรือไม่ จึงต้องมีการสังเกตตัวเองอย่างละเอียด เพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อออกไปโดยไม่รู้ตัว
อาการน่าจับตามองของโอไมครอนขณะหลับ
เหงื่อออกตอนนอนหลับเป็นหนึ่งในอาการของโอไมครอน
อาการเหงื่อออกตอนกลางคืนได้รับการบันทึกให้เป็นอาการหลักอาการหนึ่งของโอไมครอน หากมีเหงื่อออกในลักษณะดังนี้จึงควรตรวจหาเชื้อโควิดทันที
อาการเหงื่อออกตอนกลางคืนจากโอไมครอน
เหงื่อออกตอนกลางคืนเป็นอาการบ่งชี้ของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หากผู้ใดมีอาการนี้ควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อโดยทันที
- เหงื่อออกโดยที่อากาศไม่ได้ร้อน
อาการเหงื่อออกขณะนอนหลับนี้เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้รู้สึกร้อน ไม่ได้ตัวร้อน หรือมีเพียงไข้ต่ำ ๆ เท่านั้น การที่เหงื่อออกนี้เกิดจากการที่ร่างกายพยายามขับความร้อนภายในออกมานอกร่างกายโดยที่ผู้ป่วยเองไม่รู้ว่าตนเองมีความร้อนภายในสะสมอยู่
- มีเหงื่อออกพร้อมอาการอื่นของโอไมครอนร่วมด้วย
การมีเหงื่อออกขณะนอนหลับอีกทั้งรู้สึกปวดเมื่อยในร่างกาย การเจ็บคอ และการไอแห้ง สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนถึงโอไมครอน ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ควรตรวจ ATK เพื่อหาเชื้อทันที
การตรวจสอบอาการป่วยเบื้องต้นของสายพันธุ์โอไมครอน พบว่าเชื้อจะอยู่ในลำคอมากขึ้นแต่ลงปอดน้อยลง ทำให้อาการส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและคล้ายไข้หวัดปกติ อาการเหงื่อออกยามหลับจึงเป็นตัวช่วยให้เห็นความต่างระหว่างหวัดธรรมดาและโอไมครอนได้มากขึ้น ซึ่งโอไมครอนมีโอกาสติดง่ายกว่าเดิม จึงควรทำประกันภัยสุขภาพที่ช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอาไว้ เพื่อความอุ่นใจที่มากกว่าเดิม
สาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดเหงื่อออกตอนกลางคืน
ถึงแม้ว่าอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนจะเป็นอาการของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน แต่ก็สามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน ดังนี้
- อากาศร้อนอบอ้าว
อุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้เวลานอนจะต้องมีการขับเหงื่อออกมาจากรูขุมขน ผู้ที่นอนหลับในอากาศที่ร้อนจึงมักมีเหงื่อท่วมตัว
- ฝันร้ายหรือมีเรื่องเครียด
การฝันร้ายหรือการมีความเครียดสะสมจนเก็บไปฝันทำให้เหงื่อออกตอนนอนหลับได้ เพราะขณะที่ฝันระบบประสาทจะได้รับการกระตุ้นให้เอาตัวรอดในฝัน ทำให้อุณภูมิร่างกายเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนขับออกมาเป็นเหงื่อ
- ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้ธาตุไฟสูงขึ้น เช่น ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน การเข้าสู่วัยทอง ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น รู้สึกร้อนตลอดเวลา และเกิดเหงื่อออกตามตัวยามนอนหลับ
- โรคประจำตัว
โรคบางโรคส่งผลให้มีเหงื่อออกยามนอนหลับได้ เช่น โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรค Hyperhidrosis หรือโรคเหงื่อออกมากผิดปกติ ผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้มักจะมีเหงื่อออกเฉพาะส่วน เน้นไปที่ข้อพับ ทั้งข้อพับแขน ข้อพับขา และรักแร้
- ยาบางชนิด
ยาที่ส่งผลต่อระบบประสาทจะกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการเหงื่อออกขณะนอนหลับได้ เช่น ยาคลายเครียด ยาสำหรับผู้ป่วยซึมเศร้า
การมีเหงื่อออกขณะหลับเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ จึงควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากมีอาการไข้ ไอแห้ง ปวดเมื่อยตามร่างกายร่วมด้วย ควรตรวจโควิดด้วยตนเอง หากผลออกมาเป็นลบ ควรตรวจซ้ำทุก 3 วัน จนกว่าอาการจะหาย หากผลออกมาว่าติดโควิด ควรรีบแยกกักตัวทั้งตนเองและผู้ที่สัมผัสเสี่ยงสูง เพราะเชื้อแพร่กระจายได้รวดเร็วมาก หากไม่กักตัวอย่างรวดเร็วโอกาสที่จะกลายเป็นคลัสเตอร์ใหม่ก็สูงเช่นกัน สมาชิกในครอบครัวควรทำประกันภัยสุขภาพให้ครบทุกคน เพราะหากป่วยขึ้นมาอาจจะติดทั้งครอบครัว ประกันภัยสุขภาพจะได้ช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย ผู้ที่สนใจสามารถปรึกษาฮักส์ได้ทาง Facebook, LINE @hugsinsurance หรือโทร 0 2975 5855