รวมอาการโรคเกาต์เบื้องต้น สาเหตุเกิดจากอะไร
เขียนเมื่อวันที่ 12/07/2021
ข้อควรรู้! ต้นเหตุของโรคเกาต์ที่ต้องระวังมีอะไรบ้าง
รู้หรือไม่ว่า...กินไก่เยอะไม่ได้ทำให้เป็นโรคเกาต์ แต่เกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูง ทำให้มีการตกผลึกยูเรตในข้อ ซึ่งเป็นกรดที่ถูกผลิตขึ้นจากร่างกายไม่ได้มาจากไก่ อีกทั้งการทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูงก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดกรดยูริก นอกจากนี้คนที่เป็นโรคอ้วน และมีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้ ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกาต์ได้เช่นกัน สำหรับสาเหตุที่ทำให้ร่างกายมีกรดยูริกสูงผิดปกติเกิดจากสิ่งต่อไปนี้
- เกิดจากไตที่ขับถ่ายกรดยูริกออกมาน้อย รวมถึงมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เพศ และฮอร์โมนเพศ
- มีโรคประจำตัวอื่น อาทิ โรคไตวายเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคหัวใจบางชนิด โรคโลหิตจาง มะเร็งเม็ดเลือดขาว และความดันโลหิตสูง หรือทานยาสำหรับรักษาโรค ส่งผลให้เกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูงทำให้มีอาการของโรคเกาต์ตามมา
โรคเกาต์มักพบบ่อยในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงพบมากในช่วงอายุ 50 ปี หรือช่วงวัยหมดประจำเดือน อาการเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคเกาต์ มีดังนี้
อาการของโรคเกาต์ที่ต้องเฝ้าระวัง
อาการข้ออักเสบเรื้อรัง
ข้ออักเสบเฉียบพลัน
การเกิดข้ออักเสบเฉียบพลันที่บริเวณข้อส่วนล่างของร่างกาย อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าโรคเกาต์กำลังมาเยือน มักเกิดที่บริเวณหัวแม่เท้าข้างใดข้างหนึ่ง หรือบริเวณข้อเท้า
ไม่มีอาการข้ออักเสบ
มักไม่แสดงอาการแต่มีประวัติข้ออักเสบเฉียบพลันมาก่อน หากไม่เข้ารับการรักษาจะทำให้เกิดข้ออักเสบซ้ำอีก ที่ร้ายแรงไปกว่านั้นอาการข้ออักเสบรุนแรงมากขึ้นอาจทำให้มีไข้ร่วมด้วย
ข้ออักเสบเรื้อรัง
เกิดอาการข้ออักเสบเรื้อรังและมีก้อนจากการสะสมของผลึกยูเรตที่เนื้อเยื่อ มักพบที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ปุ่มปลายศอก เอ็นร้อยหวาย ปลายนิ้ว และที่ใบหู รวมถึงอาจทำให้มีไข้จากการอักเสบอีกด้วย
โรคเกาต์ถือเป็นอีกหนึ่งโรคภัยใกล้ตัวที่ควรเฝ้าระวัง โดยเป็นโรคที่ทำให้เสมือนเป็นอัมพาตเพราะปวดข้อมาก ส่งผลให้เดินไม่ไหวต้องนั่งอยู่กับที่ตลอดเวลา นากจากนี้อาจทำให้มีอาการไตวายร่วมด้วย เพื่อลดความเสี่ยงของโรคเกาต์แนะนำให้ปฏิบัติตัวดังนี้
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกปริมาณมาก อาทิ เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลมในปริมาณมาก
- ควบคุมอาหารและดูแลร่างกายไม่ให้มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อสร้างความแข็งแรงแก่ร่างกาย
โรคเกาต์หากได้รับการดูแลจากแพทย์และรักษาได้อย่างทันท่วงที ถือเป็นโรคที่รักษาให้หายได้เกือบ 100% โดยผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์เพื่อทำการประเมินอาการของตับและไต รวมถึงโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่ต้องใช้ยารักษา อีกทั้งต้องรับประทานยาเพื่อป้องกันไม่ให้เกาต์กำเริบ ร่วมถึงยาลดระดับกรดยูริกในเลือดให้ต่ำลง และสลายผลึกยูเรตที่สะสมอยู่ในร่างกายให้ค่อย ๆ หมดไป หลังจากนั้นผู้ป่วยจะหายขาดจากโรคเกาต์
ทั้งนี้ทั้งนั้น มีข้อมูลจากกรมการแพทย์แนะนำว่าโรคเกาต์รักษาได้โดยไม่ต้องพึ่งยา สามารถปฏิบัติตามได้ดังต่อไปนี้
- หากมีอาการข้ออักเสบกำเริบแนะนำให้รับประทานโปรตีนจากไข่ เต้าหู้ และนมที่มีไขมันต่ำ
- หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ทุกชนิด และอาหารที่มีพิวรีนสูง อาทิ เครื่องในสัตว์ ไข่ปลา และยอดผักต่าง ๆ
- ลดการรับประทานผลไม้ที่มีรสหวานจัด
- ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการข้ออักเสบ
โรคภัยไข้เจ็บมักมาเยือนแบบไม่ทันตั้งตัว เพราะฉะนั้นควรตรวจเช็คสุขภาพตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และหากมีความเสี่ยงของโรคเกาต์ควรรีบพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ และทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งการทำประกันภัยสุขภาพก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะหากเกิดโรคร้ายขึ้นในอนาคตจะได้ไม่เป็นกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา ฮักส์มีประกันภัยสุขภาพที่ให้การคุ้มครองได้อย่างครอบคลุม เบี้ยเริ่มต้น 2,160 บาท/ปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2975 5855 พร้อมให้คำปรึกษาเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่า
อ้างอิงข้อมูล : siphhospital, กรมการแพทย์