อาการกึ่งหลับกึ่งตื่นขยับตัวไม่ได้ ผีอำ หรือสัญญาณป่วย
เขียนเมื่อวันที่ 19/03/2022
รู้ทันอาการผีอำ คำอธิบายแบบวิทยาศาสตร์และวิธีแก้
ในอดีตที่วิทยาการทางการแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้ามาก ประกอบกับคนไทยมีความเชื่อในเรื่องผีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อาการบางอย่างที่ผิดแผกจากคนปกติได้รับการโยงเข้าสู่เรื่องภูติผี เช่น อาการผีเข้า อาการผีอำ อาการไหลตาย แต่ปัจจุบันอาการเหล่านั้นมีคำตอบทางวิทยาศาสตร์ แพทย์สามารถวินิจฉัยและแก้ไขได้ ในบรรดาอาการทั้งหมด อาการผีอำถือเป็นอาการที่คนได้พบเจอกับตัวเองมากที่สุดและอาจสร้างความตระหนกขณะหลับได้
อาการผีอำและความเชื่อทางไสยศาสตร์
ผีอำเป็นคำที่ได้ยินบ่อย คนแก่มักใช้อธิบายภาวะที่ร่างกายไม่สามารถขยับเขยื้อนได้เมื่อหลับ เหมือนมีผีมากดทับร่างกายเอาไว้
อาการของผีอำ
- รู้สึกหมดแรงคล้ายเป็นอัมพาตแบบเฉียบพลัน
- เกิดอาการหวาดกลัว
- อึดอัดบริเวณหน้าอก หายใจลำบาก
อาการผีอำทำให้คนรู้สึกไม่ปลอดภัย เพราะขยับตัวไม่ได้จึงไม่สามารถหลีกหนีจากอะไรที่กำลังจะเผชิญ ความหวาดกลัวในจิตใจนี้เองที่ทำให้ผีอำเป็นสิ่งที่น่ากลัวขณะหลับ
ความเชื่อเกี่ยวกับผีอำ
ผีอำเป็นความเชื่อที่แพร่หลายในหลายพื้นที่ โดยไสยศาสตร์กล่าวถึงอาการผีอำไว้ ดังนี้
- เกิดจากภูติผีรอบตัวนั่งทับเอาไว้
- แก้ได้โดยการสวดมนต์หรืออุทิศส่วนกุศลให้
- นอนในเวลาผีตากผ้าอ้อม ซึ่งเป็นช่วงเวลาปล่อยผี
- หลับในสภาวะที่ร่างกายอ่อนแอ ผีจึงสามารถแทรกเข้ามาในจิตใจได้
ความเชื่อเรื่องผีอำยังคงได้รับการกล่าวถึงอยู่ แต่ผู้ที่ประสบกับปัญหาผีอำควรเริ่มต้นจากการแก้ไขด้วยวิธีทางการแพทย์ เพราะอาการผีอำสามารถรักษาได้ไม่ยาก
อาการผีอำตามคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
การนอนที่มีคุณภาพจะลดอาการผีอำได้
อาการผีอำ หรือ Sleep Paralysis เป็นอาการที่เกิดจากการตื่นในช่วงเวลาที่จิตสำนึกกำลังหลับใหล ทำให้ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้อย่างใจ แบ่งประเภทของผีอำออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ผีอำช่วงใกล้หลับ
ช่วงใกล้หลับแล้วเกิดอาการผีอำเป็นช่วงที่ร่างกายปรับระดับการนอนจากลักษณะหลับไม่สนิท (REM) เข้าสู่การหลับลึก (NREM) ซึ่งระหว่างการปรับระดับการนอนนี้หากร่างกายเกิดตื่นขึ้นมาจะรู้สึกขยับตัวลำบาก แต่จะใช้เวลาไม่นาน เพราะเพิ่งเริ่มต้นหลับร่างกายจะค่อย ๆ ปรับตัวเองให้ตื่นขึ้นมาในที่สุด
- ผีอำช่วงใกล้ตื่น
ช่วงใกล้ตื่นจะเปลี่ยนการหลับจากระดับหลับลึก (NREM) กลับมาสู่ระดับหลับปกติ (REM) แล้วจึงค่อย ๆ ตื่นขึ้นมา แต่หากร่างกายมีการรับรู้ขึ้นมาก่อนเวลาที่ควรตื่นจะรู้สึกขยับร่างกายไม่ได้ เพราะจิตใต้สำนึกยังจมอยู่ในห้วงฝัน การเกิดผีอำช่วงใกล้ตื่นจึงมักใช้เวลายาวนานกว่าก่อนจะตื่น เพราะต้องรอให้สิ้นสุดช่วงหลับลึกก่อน
การเกิดอาการผีอำนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งเรื่องของคุณภาพการนอน สภาพร่างกายและจิตใจก่อนนอน และยังบ่งบอกถึงโรคได้ด้วย เช่น โรคที่เกิดจากความเครียด โรคลมหลับ หากเกิดอาการผีอำบ่อยครั้งควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและปรับคุณภาพการนอนให้ดีขึ้น จะเห็นได้ว่าแม้กระทั่งการนอนก็ยังบ่งบอกโรคได้ ประกันภัยสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้เวลาเกิดปัญหาสุขภาพมีเงินสำรองจ่าย และช่วยคุ้มครองในเรื่องต่าง ๆ ตามกรมธรรม์ได้เป็นอย่างดี
วิธีการแก้ไขอาการผีอำ
สาเหตุของการเกิดผีอำนอกจากโรคที่เกี่ยวข้องแล้ว การนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการผีอำได้ โดยเฉพาะการนอนหงายที่จะเกิดอาการผีอำได้มากกว่า รวมถึงการเป็นตะคริวขณะนอนด้วย วิธีแก้อาการผีอำโดยการปรับคุณภาพการนอนสามารถทำได้ ดังนี้
- นอนให้เพียงพออย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง ห้ามอดนอนเด็ดขาด
- ปรับท่านอนให้สบาย หากกลัวอาการผีอำควรนอนตะแคงมากกว่านอนหงาย
- ตั้งเวลาตื่นให้สม่ำเสมอกันทุกวัน
- งดการงีบหลับในแต่ละวัน
- หลีกเลี่ยงการเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอน
- จัดห้องนอนให้เหมาะกับการนอน เช่น อากาศถ่ายเทสะดวก มีม่านหรือมู่ลี่บังแสงที่เข้ามา
- ลดการใช้ยานอนหลับเพื่อเพิ่มคุณภาพการนอน
- งดชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนนอน
- ทำอารมณ์ให้ผ่อนคลายก่อนนอน
- ดื่มน้ำให้มากเพียงพอในหนึ่งวัน
การนอนมีความสำคัญมาก ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และคืนความสดชื่น คนที่พักผ่อนเพียงพอจะรู้สึกผ่อนคลาย พร้อมเริ่มต้นวันใหม่ และการพักผ่อนยังเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดีด้วย คนรักสุขภาพไม่ควรละเลยเรื่องคุณภาพการนอน รวมถึงควรมีการทำประกันภัยสุขภาพเอาไว้ด้วย เพราะปัญหาสุขภาพสามารถเกิดได้กับคนทุกช่วงวัย ปรึกษาฮักส์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำประกันภัยสุขภาพทาง Facebook หรือ LINE@Hugsinsurance หรือโทร 0 2975 5855