อาการโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ระบาดไว หลบภูมิคุ้มกันได้
เขียนเมื่อวันที่ 22/02/2022
เช็คอาการโอมิครอน หลังตรวจพบสายพันธุ์ย่อย BA.2 ในไทยแล้ว
การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ยังถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกต่างเป็นกังวล เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมถึงการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสที่ยังคงตรวจพบอยู่เสมอ โดยเชื้อไวรัสโควิดที่กำลังแพร่ระบาดเป็นอย่างมากในปัจจุบันคือเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ Omicron (B.1.1.529) หรือ “โอมิครอน” ที่องค์การอนามัยโลกยกให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) พบครั้งแรกในทวีปแอฟริกา ซึ่งขณะนี้ตรวจพบการแพร่ระบาดอยู่ในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ที่พบครั้งแรกในช่วงเดือนธันวาคม 2564 ซึ่งเป็นโควิดโอมิครอนสายพันธุ์หลัก BA.1 ที่มีการตรวจพบ ล่าสุดได้รับการยืนยันจากกระทรวงสาธารณสุขว่าประเทศไทยพบเชื้อไวรัสโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 แล้ว
ทำความรู้จัก เชื้อไวรัสโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2
เชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 (บีเอทู) ถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างผู้ติดเชื้อทำให้พบสายพันธุ์ย่อย และเมื่อเกิดไวรัสสายพันธุ์หลัก ย่อมมีสายพันธุ์ย่อยตามมา โดยปัจจุบันตรวจพบสายพันธุ์ย่อยของเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนได้ถึง 4 สายพันธุ์ได้แก่ BA.1 (บีเอวัน) BA.2 (บีเอทู) BA.3 (บีเอทรี) และ B.1.1.529 ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่า เชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 มีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด แต่มีการตรวจพบครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2564 และองค์การอนามัยโลกได้ออกมาระบุว่าขณะนี้เชื้อไวรัสโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยบีเอทูได้กลายเป็นเชื้อโควิดสายพันธุ์หลัก ที่มีการระบาดวงกว้างในหลายประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ อินเดีย กาตาร์และเดนมาร์ก เป็นต้น รวมถึงเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยบีเอทูนั้นถูกเรียกว่า สายพันธุ์ล่องหน (Stealth Variant) เพราะไม่มีหน่วยพันธุกรรมของเชื้อหรือยีนที่จะใช้เป็นตัวบ่งชี้ได้ว่า เชื้อชนิดนี้เป็นเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิมหรือกลายพันธุ์มาจากเชื้อสายพันธุ์เดลต้า เนื่องจากการตรวจหาเชื้อแม้ผู้ติดเชื้อจะมีผลตรวจโควิดเป็นบวก ทั้งจากชุดทดสอบ ATK หรือการตรวจแบบ RT-PCR แต่ก็ไม่อาจจะตรวจทราบได้ว่าเป็นเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 หรือไม่ นอกจากจะใช้การตรวจแบบพิเศษจึงจะสามารถระบุสายพันธุ์ได้ นอกจากนี้ยังพบว่า BA.2 ได้มีการกลายพันธุ์ไปจากสายพันธุ์ Sars-Cov-2 มากถึง 70-80 ตำแหน่ง
ความรุนแรงและแนวโน้มการแพร่ระบาดของเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2
โควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2
ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานที่สามารถบ่งชี้ได้อย่างแน่ชัดว่าเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 จะก่อให้เกิดความรุนแรงกว่าเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อื่นหรือไม่ แต่เนื่องจากการกลายพันธุ์ของยีนที่พบในเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่มากกว่าเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อื่น บวกกับมีการพบสายพันธุ์ย่อย ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนจะสามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็วเมื่อเที่ยบกับสายพันธุ์เดลต้า รวมถึงสามารถหลบภูมิคุ้มกันได้มากยิ่งขึ้น และมีแนวโน้มในการต้านประสิทธิภาพของวัคซีน
นอกจากนี้ทางด้าน ดร.บอริส พาฟลิน จากองค์การอนามัยโลก ระบุว่า เมื่อได้ดูกรณีของประเทศต่างๆ ที่สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.2 กำลังเข้ามาแทนที่สายพันธุ์ย่อย BA.1 พบว่าสถิติของผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนั้นไม่ได้เพิ่มสูงขึ้น พร้อมมองว่าแม้สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.2 จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์หลักอย่างเต็มตัว ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อทิศทางของการระบาดหรือแนวทางในการรักษาผู้ป่วย และคาดว่าไม่น่ามีผลกระทบที่ร้ายแรง แต่ยังคงต้องศึกษาหาข้อมูลรวมถึงค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไป
อาการโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2
จากการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ขณะนี้ประเทศไทยพบโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย 2 ชนิด ได้แก่ BA.1 และ BA.2 ซึ่งยังไม่มีการตรวจพบลักษณะอาการเพิ่มเติมจากเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนหลัก โดยมีการแสดงอาการดังนี้
- มีอาการไอ เจ็บคอ
- มีไข้และมีน้ำมูก ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีน้ำมูก มีอาการไม่สบายแค่ 1-2 วัน
- หายใจลำบาก
- รู้สึกปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย
- ปวดศีรษะ
- ผู้ป่วยบางรายมีเหงื่อออกมากในตอนกลางคืน
- ผู้ป่วยบางรายได้กลิ่นลดลงหรือลิ้นรับรสได้ลดลง บางรายจมูกยังสามารถรับกลิ่นและลิ้นยังรับรสได้ดี
อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัส COVID-19 ยังคงมีการแพร่ระบาดและกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง นอกจากการฉีดวัคซีนให้ครบโดสรวมถึงได้รับการฉีดเข็มกระตุ้นแล้วนั้น ต้องไม่ละเลยในเรื่องของการดูแลสุขภาพและร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ พร้อมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิดอย่างเคร่งครัดด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่คนพลุกพล่าน หลีกเลี่ยงการถอดหน้ากากอนามัยหากไม่จำเป็น และควรเตรียมความพร้อมในเรื่องการดูแลสุขภาพในยามเจ็บป่วยด้วยการเลือกทำประกันภัยสุขภาพ ที่ครอบคลุมในส่วนของค่ารักษาพยาบาล ค่าหมอ ค่าห้อง และเงินชดเชยรายได้หากต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ฮักส์มีกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพหลากหลาย ยินดีให้คำแนะนำการเลือกทำประกันภัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิต ติดต่อได้ผ่านช่องทาง Facebook: HUGS Insurance หรือทางช่องทางไลน์ @hugsinsurance หรือ โทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : who.int, bbc, prachachat, sikarin