แชร์ทริค วางแผนลาพักร้อนให้คุ้ม ไม่โดนตามงาน
เขียนเมื่อวันที่ 17/11/2021
วางแผนงานให้เรียบร้อย เพื่อการลาพักร้อนอย่างสบายใจ
การทำงานเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับมนุษย์ ในแต่ละปีจึงมีมนุษย์เงินเดือนเกิดใหม่จำนวนมาก สิ่งที่ตามมาหลังจากการทำงานคือความเครียดสะสม หลายคนเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมและโรคอื่น ๆ จากการทำงานหนัก ทำให้องค์กรต้องมีการกำหนดวันหยุดพักร้อนเพื่อให้พนักงานสามารถลาพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย เป็นช่องทางคลายความเหนื่อยล้าสะสมจากการทำงาน
ข้อดีของการลาพักร้อน
การลาพักร้อนอยู่ในกฎหมายแรงงานเพื่อรักษาสิทธิ์ให้กับลูกจ้าง โดยกฎหมายมีการกำหนดวันหยุดในแต่ละปีไว้ 3 กรณี ดังนี้
- วันหยุดประจำสัปดาห์
เป็นวันหยุดจากการทำงานที่บริษัทกำหนด โดยจะต้องได้รับวันหยุดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน เป็นประจำทุกสัปดาห์
- วันหยุดประจำปี
เป็นวันหยุดที่บริษัทกำหนดขึ้นโดยอิงจากวันสำคัญตามปฏทินและวันแรงงาน กฎหมายกำหนดให้แต่ละบริษัทมีวันหยุดประจำปีอย่างน้อยปีละ 13 วัน
- วันลาพิเศษ
เป็นวันลานอกเหนือจากที่บริษัทกำหนด แบ่งออกเป็นวันลากิจ วันลาป่วย และวันลาพักร้อน โดยจะขึ้นอยู่กับการกำหนดของบริษัท โดยปกติการลาพักร้อนจะได้รับสิทธิ์ปีละ 6 ครั้ง เมื่อทำงานครบตาเงื่อนไขที่องค์กรกำหนด
การลาพักร้อนจึงเป็นวันหยุดกรณีพิเศษที่ลูกจ้างสามารถเลือกวันลาได้เอง โดยจะต้องมีการแจ้งให้หัวหน้างานทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันหรือตามที่บริษัทกำหนด เพื่อให้เพื่อนร่วมงานสามารถวางแผนการทำงานได้อย่างเหมาะสม การลาพักร้อนส่งผลดี ดังนี้
- เป็นการพักผ่อนร่างกายให้กลับมาแข็งแรง
- เป็นการรักษาสิทธิ์ให้ตนเอง
- มีเวลาทำสิ่งที่คั่งค้างเอาไว้ให้เสร็จเรียบร้อย
- เป็นการบำบัดจิตจากการทำงานรูปแบบหนึ่ง
- เป็นการคลายความเหนื่อยล้าของตนเอง
- เปิดโอกาสในการอยู่กับตัวเองมากยิ่งขึ้น
การลาพักร้อนช่วยผ่อนคลายตนเองจากการทำงานหนักได้เป็นอย่างดี เพราะหากเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงขึ้นมาจากการโหมทำงานหนักอาจจะยิ่งส่งผลเสียต่อการทำงาน นอกจากการลาพักร้อนแล้วการมีประกันภัยสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำงานก็ช่วยให้การดูแลตัวเองสะดวกมากยิ่งขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายหากเจ็บป่วยหรือเข้าโรงพยาบาล รวมถึงประกันภัยมักจะมีการชดเชยรายได้หากเจ็บป่วยจนขาดรายได้
การลาพักร้อนให้คุ้มค่าตามสไตล์ของตนเอง
การลาพักร้อนช่วยผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน
วิธีการลาพักร้อนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งการเลือกลาพักร้อนควรคำนึงถึงความสะดวกของตนเองเป็นสำคัญ เพื่อให้สามารถเลือกลาพักร้อนได้อย่างถูกใจ การลาพักร้อนให้คุ้มค่าสามารถทำได้ตามวิธีการดังนี้
ลาพักร้อนสำหรับคนชอบหยุดยาว
คนที่ชอบวันหยุดยาวคือคนที่มีแพลนท่องเที่ยวช่วงวันหยุด มักจะเป็นทริปยาวที่ต้องใช้วันลาพักร้อนจำนวนมาก
- เลือกวันลาพักร้อนที่ใกล้กับวันหยุดบริษัท เช่น วันหยุดเทศกาลต่าง ๆ ที่มักจะมีวันหยุดติดต่อกัน 3 – 4 วัน หากเลือกลาช่วงนั้นจะได้วันหยุดยาวเพิ่มมากขึ้น
- ควรหยุดให้ติดกับวันยุดประจำสัปดาห์ด้วย เช่น บริษัทหยุดวันเสาร์และอาทิตย์ควรลาให้ถึงวันศุกร์หรือต่อเนื่องวันจันทร์จะได้รับประโยชน์จากวันหยุดบริษัทอีกต่อหนึ่ง
ลาพักร้อนสำหรับคนชอบหยุดบ่อย
บางคนไม่ชอบหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ประกอบกับไม่ชอบหยุดช่วงเทศกาล แต่เน้นการหยุดอย่างสม่ำเสมอแทน
- หาวันหยุดเพิ่มจากวันหยุดประจำสัปดาห์ เช่น บริษัทหยุดเสาร์และอาทิตย์ ควรเลือกลาพักร้อนวันพุธ เพื่อให้ร่างกายในพักผ่อนกลางสัปดาห์
- เลือกช่วงเดือนที่ร่างกายรู้สึกเหนื่อยล้าหรือเดือนที่งานหนักจนสัมผัสได้ว่าร่างกายเริ่มอ่อนล้า การมีวันหยุดเพิ่ม 1 วันต่อสัปดาห์จะช่วยคลายความเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี
ลาพักร้อนสำหรับคนชอบพักสมอง
การพักสมองเป็นการผ่อนคลายหลังจากจบโปรเจ็กต์งานใหญ่สักงาน หลายคนเลือกที่จะพักผ่อนก่อนจะเริ่มโปรเจ็กต์ใหม่
- เลือกวันลาพักร้อนให้ใกล้กับวันหยุด เช่น บริษัทหยุดวันเสาร์และอาทิตย์ ควรเลือกวันลาพักร้อนเป็นวันศุกร์หรือวันจันทร์ เพื่อเพิ่มระยะเวลาพักผ่อน
- เลือกลาใกล้วันหยุดประจำสัปดาห์เมื่อจบแต่ละงานใหญ่จะช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย และระบายความเหนื่อยล้าก่อนเริ่มงานชิ้นต่อไปได้เป็นอย่างดี
ลักษณะการลาพักร้อนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบลาทีเดียว บางคนชอบทยอยลา ความคุ้มค่าจึงขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน สิ่งสำคัญคือเมื่อมีการลาพักร้อน ผู้ลาพักร้อนวางแผนการงานและการพักผ่อนเอาไว้ก่อน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อตนเองเมื่อกลับมาทำงานอีกครั้งหลังลาพักร้อน
การเตรียมตัวก่อนและหลังลาพักร้อน
การลาพักร้อนเป็นการใช้เวลาในการพักผ่อน แต่การงานก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป ก่อนและหลังลาพักร้อนจึงมีสิ่งที่ต้องเตรียมเอาไว้ ดังนี้
ก่อนลาพักร้อน
- จัดการงานด่วนที่คั่งค้างให้เรียบร้อย
- ประสานงานกับส่วนที่เกี่ยวข้องที่ต้องรับหน้าที่ทำงานแทน
- จัดเก็บเอกสารและไฟล์งานในที่ที่ผู้อื่นสามารถหยิบไปใช้ต่อได้โดยไม่ต้องติดต่อผู้ลาพักร้อน
หลังลาพักร้อน
- รวบรวมสติและประเมินงานที่ต้องทำ
- จัดลำดับความสำคัญของงานและเริ่มทำจากงานที่ด่วนก่อน
- ไม่ปล่อยตัวเองให้จมอยู่กับวันพักผ่อนจนละเลยการงาน
การจัดการงานให้แล้วเสร็จก่อนลาพักร้อนจะช่วยลดการตามงานในช่วงพักผ่อนได้เป็นอย่างดี และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจงานและความเป็นมืออาชีพ ก่อนการลาพักร้อนต้องใส่ใจกับงานจนแล้วเสร็จ ระหว่างลาพักร้อนควรใส่ใจกับการพักผ่อนและสุขภาพก่อนจะกลับมาจัดการต่อหลังลาพักร้อน ไม่ควรคิดเรื่องงานช่วงลาพักร้อนเพราะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ
มนุษย์เงินเดือนหลายคนมีประกันสังคมเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ควรมองข้ามการมีประกันถัยสุขภาพเพิ่มจากสวัสดิการที่ได้รับ เช่น ประกันภัย Officer Care ที่สามารถเบิกเงินชดเชยรายได้ในกรณีพักรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลสูงสุดถึง 1,000 บาท/วัน* หรือหากสนใจประกันภัยมนุษย์เงินเดือนตัวอื่น ๆ ก็สามารถปรึกษาฮักส์ได้ง่าย ๆ ผ่าน Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855