คอเลสเตอรอลสูง อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
เขียนเมื่อวันที่ 19/07/2021
ดูแลสุขภาพด้วยการกินที่ดี ช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย
ปัญหาสุขภาพจากการรับประทานเป็นสิ่งที่น่ากังวลอยู่ตลอด เพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ยากจะหลีกเลี่ยง และการเลือกรับประทานแต่อาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายก็เป็นเรื่องยากสำหรับการใช้ชีวิตอันเร่งรีบในปัจจุบันที่บ่อยครั้งก็เกิดโรคจากไลฟ์สไตล์นี้ รวมถึงปัญหาสุขภาพจากการกินด้วย โดยเฉพาะปัญหาคอเลสเตอรอลสูง
ประเภทของคอเลสเตอรอลมีอะไรบ้าง
คอเลสเตอรอล คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เองจากตับ รวมถึงได้รับจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่รับประทานเข้าไปด้วย คอเลสเตอรอลทำหน้าที่เป็นเยื่อหุ้มเซลล์ สร้างฮอร์โมน ช่วยตับผลิตน้ำดี และช่วยในการเผาผลาญ สามารถแบ่งประเภทของคอเลสเตอรอลได้เป็น 2 ประเภท คือ
- LDL (Low Density Lipoprotein)
เป็นคอเลสเตอรอลร้าย ทำหน้าที่เคลือบเกาะตามเส้นเลือด ทำให้เส้นลือดตีบและอุดตัน รวมถึงป้องกันการไหลเวียนของออกซิเจนภายในร่างกายอีกด้วย การที่มี LDL เป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด ตามมาด้วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดมากมาย
- HDL (High Density Lipoprotein)
เป็นคอเลสเตอรอลดี ช่วยทำหน้าที่เผาผลาญในร่างกาย โดย HDL จะกำจัดไขมันร้าย หรือ LDL ออกจากร่างกาย การที่มี HDL เป็นจำนวนมากในร่างกายจะช่วยป้องกันภาวะหลอดเลือดตีบ ไขมันอุดตัน และโรคหัวใจได้
นอกจากไขมันประเภทคอเลสเตอรอลที่พบในเส้นเลือดแล้ว ยังมีไขมันอีกชนิดหนึ่งชื่อว่า “ไตรกลีเซอไรด์” มาจากอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ และอีกส่วนมาจากการแปลงน้ำตาลและแอลกอฮอล์เป็นไตรกลีเซอไรด์ ทำหน้าที่ดูดซึมวิตามิน A D E K และให้พลังงานแก่ร่างกาย เมื่อมีการตรวจไขมันในเลือดจะต้องตรวจทั้งคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ควบคู่กัน
ระดับไขมันในเลือดอันพึงประสงค์
การตรวจระดับไขมันในร่างกายเป็นการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ โรคสมองขาดเลือดจากการอุดตัน และการตีบตันของเส้นเลือด การตรวจไขมันนี้จะต้องตรวจทั้งคอเลสเตอรอลประเภท LDL และ HDL รวมทั้งตรวจไตรกลีเซอไรด์ด้วย ระดับของไขมันแต่ละส่วนควรเป็น ดังนี้
ระดับคอเลสเตอรอล
- คอเลสเตอรอลรวม ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- คอเลสเตอรอล LDL ไม่ควรเกิน 100 - 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- คอเลสเตอรอล HDL ควรสูงกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในผู้ชาย และควรสูงกว่า 55 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในผู้หญิง
ระดับไตรกลีเซอไรด์
- ไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
การมีระดับไขมันในเลือดปกติถือเป็นสัญญาณที่ดีของสุขภาพ แต่หากมีคอเลสเตอรอลหรือไตรกลีเซอไรด์มากหรือน้อยเกินไป ควรปรับพฤติกรรมการกินก่อนที่จะเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา
โรคที่ตามมาจากการมีคอเลสเตอรอลสูง
การมีคอเลสเตอรอลสูงส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหลายโรค ซึ่งทุกโรคจะเกิดจากการอุดตันของไขมันจนเลือดและสารอาหาร รวมถึงออกซิเจนเดินทางผ่านไปหล่อเลี้ยงร่างกายไม่ได้ มีโรคที่ควรระวังดังนี้
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
โรคที่เกิดจากผนังหลอดเลือดหัวใจ Coronary เสื่อมสภาพลงจากการอุดตันของไขมันและเนื้อเยื่อ เมื่อมากเข้าจึงส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจตีบตันและมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ จนเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด หากรักษาไม่ทันจะเกิดอันตรายถึงชีวิต
- โรคหลอดเลือดสมองตีบ
โรคที่เกิดจากไขมันอุดตันตามเส้นเลือดที่ลำเลียงเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง เมื่อไม่สามารถส่งผ่านเลือดและออกซิเจนไปสู่สมองได้จึงเกิดภาวะสมองขาดเลือด มีอาการเวียนศีรษะ พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการเบื้องต้นของผู้ที่คอเลสเตอรอลสูงมักเจ็บแน่นหน้าอก ปวดน่องเมื่อต้องเดิน และแขนขาชาบ่อยครั้งเพราะเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ไม่ทัน หากมีอาการเบื้องต้นดังนี้ควรไปพบแพทย์ควบคู่กับการลดคอเลสเตอรอลในชีวิตประจำวัน
การลดคอเลสเตอรอลในชีวิตประจำวัน
การลดอาหารประเภทไขมันไม่อิ่มตัว
การมีคอเลสเตอรอลสูงกว่าปกติมาจากหลายสาเหตุ ทั้งนิสัยการกิน กรรมพันธุ์ และผลข้างเคียงจากยาบางชนิด แต่ต้นเหตุหลัก ๆ มาจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงจึงควรระมัดระวังเรื่องการกินเพื่อลดคอเลสเตอรอล สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
- อ่านฉลากเป็นประจำ เพื่อจำกัดปริมาณไขมันอิ่มตัวที่จะบริโภคใน 1 วัน
- ไม่ควรรับประทานคอเลสเตอรอลเกิน 300 มิลลิกรัม/วัน
- เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านน้ำมัน เช่น การอบ การนึ่ง การตุ๋น
- รับประทานอาหารที่ต่อต้านการเกิดคอเลสเตอรอล เช่น ปลาทูน่า
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
- รับประทานยาลดไขมัน แต่ควรอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์
การที่คอเลสเตอรอลอุดตันในเส้นเลือดถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะส่งผลต่อสุขภาพเป็นอย่างมากและมีอันตรายถึงชีวิต การมีหลักประกันความเสี่ยงอย่างประกันภัยสุขภาพจะช่วยลดค่าใช้จ่ายเมื่อเจ็บป่วยจนต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ฮักส์ขอแนะนำประกันภัยสุขภาพสุขใจรักษ์ จากวิริยะประกันภัยเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียง 11,712 บาท/ปี แต่คุ้มครองสูงสุดถึง 1,200,000 บาท/ครั้ง* ไม่จำกัดครั้งต่อปี หรืออยากลองหาประกันภัยสุขภาพตัวอื่น ๆ ที่ครอบคลุมการรักษาทั้ง IPD และ OPD สามารถติดต่อให้ฮักส์แนะนำได้ง่าย ๆ หลายช่องทาง ทั้ง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855 เพื่อให้การทำประกันภัยของคุณง่ายกว่าที่เคย