สาเหตุฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอะไร พร้อมป้องกันให้ถูกวิธี
เขียนเมื่อวันที่ 25/01/2022
ฝุ่น PM 2.5 ปัญหามลพิษทางอากาศใกล้ตัวที่ส่งผลต่อสุขภาพ
ขณะนี้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในไทยหลายพื้นที่ทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่างพบเจอกับปัญหาค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่เกินมาตรฐาน ส่งผลให้เกิดมีสภาพอากาศที่ขมุกขมัวเนื่องจากปริมาณฝุ่นที่มีจำนวนมากซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร
PM ย่อมาจาก Particulate Matters คือค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีหน่วยอยู่ที่ 2.5 ไมครอนและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นฝุ่นละอองที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะสามารถมองเห็นได้เมื่อมีปริมาณมาก เป็นลักษณะคล้ายหมอกควันที่ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ ทั้งยังเป็นฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กที่สามารถเล็ดลอดผ่านขนจมูกของมนุษย์ได้ ทำให้ฝุ่นชนิดนี้เข้าไปสะสมในร่างกายจนเกิดเป็นปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับปอดและทางเดินหายใจได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
สาเหตุของการเกิดฝุ่น PM 2.5
ฝุ่น PM 2.5 ปกคลุมหนาแน่น
สำหรับสาเหตุที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5 มาจากหลายปัจจัยซึ่งสะสมมาเป็นระยะเวลานาน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงธรรมชาติที่ไม่สมบูรณ์และการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ดังนี้
- การเผาไหม้จากโรงงานอุตสาหกรรม
- โรงผลิตไฟฟ้า
- ควันท่อไอเสียจากรถยนต์ รถบรรทุก รถบัส และรถวิบาก
- การเผาป่าหรือเกิดไฟป่า
- การเผาขยะ
- การก่อสร้าง
- กิจกรรมอื่น ๆ อาทิ การสูบบุหรี่ จุดธูป เผากระดาษ การทำอาหาร เครื่องทำความร้อนที่ใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้
- การปล่อยมลพิษทางอากาศ
- การทำปฎิกิริยาของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และสารประกอบอินทรีย์ชนิดระเหยง่าย
มาตรฐานค่าฝุ่นละออง PM 2.5
เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการประกาศเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศฉบับใหม่ เป็นการปรับเกณฑ์ครั้งแรกในรอบ 16 ปีนับตั้งแต่ปี 2548 โดยปรับค่ามาตรฐานความปลอดภัยของฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 ให้สูงขึ้น ค่าเฉลี่ยรายปีอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต้องไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากกำหนดค่าเดิมคือ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร รวมถึงค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 15 ไมโครกรัมต่อลูกบากศ์เมตร สำหรับประเทศไทยมีค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 เฉลี่ยรายปีไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบากศ์เมตรและเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบากศ์เมตร
ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย
PM 2.5 ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร?
เนื่องจากอนุภาคฝุ่นละออง PM2.5 มีขนาดเล็กมาก จนสามารถเดินทางลึกเข้าไปยังระบบทางเดินหายใจของมนุษย์จนถึงปอด หากได้สัมผัสกับอนุภาคขนาดเล็กในปริมาณที่ไม่มากแต่ก็อาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพในระยะสั้น เช่น การระคายเคืองตา ตาแดง คัดจมูก เจ็บคอ ไอ จาม มีน้ำมูกไหล และหายใจหอบถี่ เนื่องจากการสัมผัสกับอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 อาจส่งผลต่อการทำงานของปอดและส่งผลต่อผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หากได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้เป็นเวลานานอาจมีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง และเสี่ยงที่จะมีอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดและโรคหัวใจเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการหายใจและหัวใจทั้งในเด็กหรือผู้สูงอายุอาจมีความรู้สึกที่ไวต่อค่าฝุ่น PM2.5 เป็นพิเศษ
ขณะนี้หลายพื้นที่ทั้งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลสามารถตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 ได้เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีแดงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้มีฝุ่นปกคลุมอยู่หลายพื้นที่ ทางด้านศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) ได้ออกมาขอความร่วมมือประชาชนงดการเผาสิ่งต่าง ๆ ในที่โล่ง ใช้รถยนต์ส่วนตัวเท่าที่จำเป็นและหันมาใช้โดยสารสาธารณะแทน รวมถึงเฝ้าระวังและรักษาสุขภาพอนามัย หมั่นตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแอปพลิเคชันเช็คค่าฝุ่นทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน หากเป็นผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ที่มีปริมาณค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานควรเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง และสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากพบอาการผิดปกติของร่างกายควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที อย่างไรก็ตามควรป้องกันตัวเองจากฝุ่น PM 2.5 ควบคู่ไปกับการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อห่างไกลปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้
ฮักส์ให้คุณวางแผนดูแลสุขภาพได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ด้วยการเลือกทำประกันภัยสุขภาพที่มีความคุ้มครองทั้งในส่วนของค่ารักษาพยาบาล ความคุ้มครองทั้งกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ค่าห้อง เงินชดเชยรายได้จากการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ยินดีให้คำแนะนำการเลือกทำประกันภัยสุขภาพที่เหมาะกับความต้องการและไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิต สามารถติดต่อผ่าน Facebook: HUGS Insurance หรือทางช่องทางไลน์ @hugsinsurance หรือ โทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : health.ny.gov, กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, BBC