loading
แนะนำวิธี Work From Home ไม่เสี่ยงโรค Office Syndrome

แนะนำวิธี Work From Home ไม่เสี่ยงโรค Office Syndrome

เขียนเมื่อวันที่ 15/06/2021

วิธีแก้ Office Syndrome ภัยเงียบจากการทำงานที่บ้าน

เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทยกลับมาแพร่กระจายเป็นวงกว้างอีกครั้ง ทำให้หลายบริษัทมีนโยบาย Work From Home เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน และยังเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด แม้ว่าการทำงานที่บ้านจะมีข้อดีมากมาย แต่อาจสร้างปัญหาสุขภาพให้เราแบบไม่รู้ตัว เพราะการนั่งทำงานที่บ้านทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยลง แถมบางคนทำงานเพลินจนลืมเวลาพัก เรื่องเหล่านี้ไม่ได้แค่ทำให้นาฬิกาชีวิตผิดเพี้ยนไปเท่านั้น ยังอาจเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โดยไม่รู้ตัวอีกด้วย

เพื่อช่วยให้ทุกคนทำงานอยู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ชีวิตห่างไกลจาก Office Syndrome ปัญหาสุขภาพที่ไม่ได้จำกัดว่าเกิดขึ้นแค่ที่ออฟฟิคอีกต่อไป แต่ก่อนไปดูอาการออฟฟิศซินโดรม พร้อมวิธีป้องกัน Office Syndrome หรือ Work from Home Syndrome ที่ช่วยคุณใช้ชีวิตทำงานอย่างมีความสุข ลองมาสังเกตตัวเองดูว่ากำลังทำพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรมอยู่บ้างหรือเปล่า เพราะถ้ารู้ตัวเร็วแล้วปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ก็ลดความเสี่ยงต่อการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้ตั้งแต่วันนี้

ทำไม Work From Home ถึงเสี่ยงป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม

การทำงานอยู่บ้านหรือที่เราเรียกกันว่า Work From Home นั้น มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค Office Syndrome ไม่ต่างจากการนั่งทำงานที่ออฟฟิศ เนื่องจากการทำงานที่บ้านเรามีโอกาสขยับร่างกายน้อยกว่าการทำงานในออฟฟิศ แถมบางครั้งต้องนั่งประชุมหรือทำงานผ่านหน้าจอตลอดทั้งวัน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เป็น Office Syndrome

Office Syndrome มีอาการอย่างไร

Office Syndrome เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม อาทิ นั่งทำงานหน้าโน้ตบุ๊กต่อเนื่องหลายชั่วโมง โดยไม่ขยับตัวเพื่อปรับเปลี่ยนอิริยาบถหรือลุกเดินไปไหน ซึ่งการกระทำแบบนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของร่างกายในระยะยาว ไม่ว่าจะก่อให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง มีอาการชาที่บริเวณแขนหรือมือ เนื่องจากการกดทับเส้นประสาทที่มือ รวมถึงปวดเสียดท้องจากการทานอาหารไม่ตรงเวลา ฉะนั้นการดูแลสุขภาพของตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการ Office Syndrome ได้

อาการออฟฟิศซินโดรม

  • มีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ ต้นคอ เข่า และหลัง บางครั้งมีอาการปวดร้าวขึ้นศีรษะ หรือร้าวลงแขนขณะนั่งทำงานด้วย
  • มีอาการชาที่แขนและมือจากการกดทับเส้นประสาทเป็นเวลานาน
  • มีอาการตาพร่ามัว เนื่องจากการมองจอโน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
  • มีอาการทางผิวหนัง อาทิ รู้สึกคันตามลำตัว หรือเกิดผดผื่น

แนะนำวิธีป้องกันเติมคำว่า“โรคออฟฟิศซินโดรม ช่วง Work From Home

  1. เปลี่ยนท่านั่งขยับร่างกายทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง และพักสายตาจากจอโน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์
  2. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำงานให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม อาทิ เลือกโต๊ะทำงานความสูงที่เหมาะสม ปรับระดับความสูงเก้าอี้ให้พอเหมาะ ไม่ควรวางเมาส์หรือคีย์บอร์ดไกลเกินไป ปรับระยะห่างระหว่างสายตากับจอโน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์ประมาณ 50-70 ซม. เป็นต้น
  3. ปรับท่าทางการนั่งไม่ควรนั่งแล้วงอเข่าและข้อศอกมากเกินกว่า 90 องศา
  4. ปรับสิ่งแวดล้อมโดยรอบให้เอื้อต่อการทำงาน โดยต้องมีแสงสว่างเพียงพอ แล้วอาจหาต้นไม้เล็ก ๆ มาจัดวางบนโต๊ะ เพื่อให้โต๊ะทำงานดูมีชีวิตชีวา แถมสามารถใช้ต้นไม้เป็นจุดพักสายตาเพิ่ม”ได้”อีกด้วย
  5. หมั่นบริหารร่างกายเป็นประจำ ด้วยการยืดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ให้เกิดความยืดหยุ่น เพื่อลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่อาจจะเกิดจากการนั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ
  6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ต่ำกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน รวมถึงพยายามทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  7. ทำงานเป็นเวลา พักเป็นเวลา เพื่อผ่อนคลายร่างกายและสมอง
  8. ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น
  9. ไม่ควรเคร่งเครียดกับงานจนเกินไป ถ้ารู้สึกว่าร่างกายไม่ไหวให้หากิจกรรมอื่นทำ เพื่อเป็นการผ่อนคลาย

หากรู้สึกว่าตัวเองอาจกำลังเข้าข่ายเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม สามารถดูแลสุขภาพและปรับพฤติกรรมตัวเองตามวิธีที่เราแนะนำไปข้างต้นได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะการป้องกันตัวเองเป็นวิธีที่จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงจากความเจ็บป่วยในระยะยาว แต่ถ้าทำแล้วยังไม่หายจากอาการ Office Syndrome ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษาก่อนมีอาการรุนแรง

ส่วนใครที่อยากกระจายความเสี่ยงด้านสุขภาพ การเลือกทำประกันภัยสุขภาพมาช่วยรองรับค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาล เป็นวิธีวางแผนทางการเงินหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน สามารถเปรียบเทียบแผนประกันภัย และเลือกซื้อประกันภัยสุขภาพทางออนไลน์ที่เหมาะสมกับตัวคุณได้แล้วผ่านฮักส์ ที่เบอร์ 0 2975 5855 และอย่าลืมติดตามฮักส์ได้ที่ Facebook หรือเพิ่มเพื่อนในช่องทาง Line

อ้างอิงข้อมูล: โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

ค้นหาประกันภัยสุขภาพที่ใช่ เพิ่มความอุ่นใจยามเจ็บป่วย...คลิก

 


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ฮักส์ประกันสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+