4 โรคมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง รีบรักษาก่อนลุกลาม
เขียนเมื่อวันที่ 12/07/2021
มะเร็งชนิดไหนบ้างที่พบมากในผู้หญิง สามารถรักษาได้ไหม
มะเร็งโรคร้ายที่หลายคนกลัว เพราะมีอัตราผู้เสียชีวิตในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก มะเร็งมีหลากหลายชนิดที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้หญิงและผู้ชาย โรคที่เกิดขึ้นมีหลากหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุ เช่น จากพันธุกรรม พฤติกรรมการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่มีรูปแบบลักษณะร่างกายที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามช่วงวัย ทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่เริ่มต้นหันมาดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเอง การศึกษาข้อมูลโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิง พร้อมอาการของมะเร็งแต่ละชนิดจะช่วยให้รู้ถึงสัญญาณเตือนโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ เพื่อสังเกตความผิดปกติของร่างกายและรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
โรคมะเร็งที่พบในผู้หญิงมากที่สุดมีอะไรบ้าง
มะเร็งเต้านม
โรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิง
โรคมะเร็งที่พบมากในผู้หญิงคือมะเร็งเต้านม เป็นโรคที่พบว่ามีอัตราผู้ป่วยสูงที่สุดและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิง มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่เซลล์ในเต้านมเติบโตอย่างควบคุมไม่ได้ ชนิดของมะเร็งเต้านมขึ้นอยู่กับว่าเซลล์ใดในเต้านมที่มีการเปลี่ยนเป็นมะเร็ง และแพร่กระจายสู่อวัยวะต่าง ๆ ได้
อาการโรคมะเร็งเต้านม
ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการเจ็บปวด แต่จะพบอาการอื่น ๆ ดังนี้
- รู้สึกมีก้อนหนา ๆ ในเต้านมหรือใต้แขน
- มีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลออกจากหัวนม
- มีแผลบริเวณเต้านม หรือบริเวณหัวนมและรอบหัวนม
- เต้านมมีรูปร่างผิดไปจากเดิม
- บริเวณเต้านมมีอาการปวด
- มีผื่นแดงและรู้สึกร้อน ๆ บริเวณเต้านม
ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
- เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนฮอร์โมนในผู้หญิง ที่สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม
- ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงกว่าช่วงอายุอื่น
- คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม
- พฤติกรรมการดำเนินชีวิต อาทิ ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน และออกกำลังกายน้อย
หากพบความผิดปกติให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไป ยิ่งตรวจพบได้ในระยะแรกเริ่มยิ่งทำให้การรักษามีโอกาสหายและได้ผลที่ดีมากยิ่งขึ้น
มะเร็งปากมดลูก
โรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยรองจากมะเร็งเต้านม สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ไวรัสที่ติดต่อผ่านการสัมผัส ทั้งจากการมีเพศสัมพันธ์และการสัมผัสเชื้อโดยตรง และในอนาคตมีแนวโน้มว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกได้มากยิ่งขึ้น
อาการโรคมะเร็งปากมดลูก
- ประจำเดือนมาผิดปกติ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดแม้ไม่ได้เป็นประจำเดือน
- มีอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- มีน้ำคัดหลั่งจากช่องคลอดเพิ่มมากขึ้น โดยน้ำคัดหลั่งจะมีสีขาวหรือมีการปนของเลือด
- มีอาการตกขาวมากและมีกลิ่นผิดปกติ
ปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูก
- ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปีขึ้นไป
- การมีเพศสัมพันธุ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
- การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
- การตั้งครรภ์เร็ว
- การมีบุตรหลายคน
- ผู้ที่ติดเชื้อไวรัส HPV
- การสูบบุหรี่
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง
ในระยะแรกเริ่มมะเร็งปากมดลูกจะไม่มีการแสดงอาการใด ๆ แต่สามารถป้องกันตนเองได้ โดยผู้หญิงที่แต่งงานแล้วควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 3 ปี แต่หากยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
โรคมะเร็งลำไส้ในผู้หญิง
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในปัจจุบันยังไม่มีการระบุสาเหตุของโรคที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งชนิดนี้คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ รวมถึงสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายน้อย มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ชื่นชอบการทานอาหารไขมันสูง และผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน มีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้ง่าย
อาการโรคมะเร็งลำไส้และทวารหนัก
สำหรับอาการในระยะเริ่มต้นจะไม่มีความผิดปกติใด ๆ ในร่างกาย แต่จะพบอาการอื่นในระยะลุกลาม ดังนี้
- มีอาการ รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน และอ่อนเพลีย
- ท้องเสีย ท้องผูก ปวดมวนท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีอุจจาระปนเลือด ลักษณะอุจจาระมีขนาดเล็กและเรียวกว่าปกติ
- รู้สึกปวดเบ่งบริเวณทวารหนักคล้ายปวดอุจจาระตลอดเวลา
แนวทางการรักษาสามารถป้องกันได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มคือ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้และทวารหนัก โดยควรตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และสำหรับผู้ที่ครอบครัวมีประวัติเคยเป็นมะเร็ง หรือมีความเสี่ยงควรทำการตรวจตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป หากเป็นคนปกติที่ไม่มีความเสี่ยงควรตรวจหาตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป หรือเมื่อพบอาการผิดปกติของร่างการควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาทันที
มะเร็งปอด
โรคมะเร็งปอดในผู้หญิง
มะเร็งปอดสามารถพบได้มากในผู้หญิงเช่นกันและมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น สามารถพบอาการได้ต่อเมื่อเชื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ระยะที่ 3-4 แล้ว มะเร็งปอดเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติและขยายตัวอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุมได้ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 10-15% โดยเซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็ว
- มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) มีการพบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก ประมาณ 85-90% แต่จะแพร่กระจายได้ช้ากว่า หากมีการตรวจพบเชื้อตั้งแต่ระยะเริ่มแรก สามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด
อาการโรคมะเร็งปอด
สำหรับระยะแรกโรคมะเร็งปอดจะไม่แสดงอาการ แต่เมื่อเริ่มลุกลามจะเริ่มมีอาการแสดง ดังนี้
- มีอาการไอเรื้อรัง
- มีปัญหาในการหายใจ
- รู้สึกเจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
- มีอาการไอปนเลือด
- เวลาหายใจจะมีเสียง
- เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
ปัจจัยการเกิดมะเร็งปอด
- การสูบบุหรี่
- การรับสารพิษจากสิ่งแวดล้อมในการดำเนินชีวิต
- ผู้หญิงในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น
- พันธุกรรมคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็งปอด
การป้องกันความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งควรเริ่มต้นจากการดูแลสุขภาพตนเอง หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดโรค และตรวจคัดกรองมะเร็งปอดทุกปี อย่ารอให้มีอาการเพราะหากตรวจพบเร็วจะมีโอกาสในการรักษาหายมากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความทันสมัยและพัฒนามากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถรักษาโรคมะเร็งให้ได้ผลลัพท์ที่ดี อย่างไรก็ตามการเลือกดูแลสุขภาพร่างกายตนเองเบื้องต้นให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งที่เกิดในผู้หญิงเป็นสิ่งที่ดีกว่า และควรทำการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี รวมถึงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งให้สามารถตรวจพบเชื้อได้รวดเร็วรักษาได้ทันท่วงที การเลือกทำประกันภัยสุขภาพก็เป็นทางเลือกที่ช่วยแบ่งเบาภาระได้ การทำประกันภัยสุขภาพ ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก วงเงินสูงสุด 500,000 บาทต่อปี ค่าเบี้ยคงที่ที่ 15,000 บาทต่อปี ควบคู่กับประกันภัยมะเร็งจะช่วยวางแผนการใช้จ่ายค่ารักษามะเร็ง และด้านสุขภาพให้อุ่นใจมากยิ่งขึ้นหากเกิดเจ็บป่วยในอนาคต ฮักส์มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยมะเร็งที่เหมาะสมกับความต้องการและตอบโจทย์คนยุคใหม่ในการทำประกันภัยได้มากยิ่งขึ้น ติดต่อฮักส์ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855
ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , Wikipedia Breast cancer