รวมค่ารักษามะเร็งโรงพยาบาลรัฐ และเอกชน
เขียนเมื่อวันที่ 15/06/2021
ค่ารักษามะเร็งโรงพยาบาลรัฐ และ โรงพยาบาลเอกชน ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
โรคมะเร็ง โรคร้ายที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตมากที่สุด อีกทั้งกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรงนั้น มีความเสี่ยงของการป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และตัวเลขผู้เสียชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน และความจริงแล้วโรคมะเร็งเป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่กับเด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่ช่วงอายุของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ในประเทศไทยได้มีการพบมะเร็งในเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี คิดเป็น 74.9 ต่อจำนวนประชากร 1,000,000 คน จากส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
มะเร็ง หรือ Cancer มาจากภาษากรีกคำว่า Carcinos ซึ่งแปลว่า ปู เนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งมีลักษณะลุกลามจากตัวก้อนเนื้อไปยังอวัยวะอื่นๆ เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ที่มีความผิดปกติในร่างกายของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ที่มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ โดยเกิดเป็นก้อนเนื้อที่จะมีการลุกลามหรือกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย ถึงแม้โรคมะเร็งจะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่มะเร็งบางชนิดอาจถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม
สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากผู้ที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งจะมีความเสี่ยงแล้ว การไม่หมั่นดูแลสุขภาพ รวมถึงรับประทานอาหารที่ไปกระตุ้นการเกิดโรคร้าย อาทิ อาหารประเภทหมักดอง อาหารสำเร็จรูป อาหารที่มีไขมันสูง หรือทานเนื้อแดง ก็ถือเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคร้ายตามมาเช่นกัน และหากตรวจพบในระยะลุกลามโอกาสที่จะรักษาหายจึงเป็นไปได้ยาก อีกทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะฉะนั้นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งถือเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญอย่างมาก หากพบว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งจะได้สามารถทำการรักษาทันไม่บานปลายไปสู่ระยะสุดท้าย
การรักษาตัวในโรงพยาบาลจากโรคมะเร็ง
มะเร็งแบ่งออกได้กี่ประเภท
มะเร็งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน 5 กลุ่มดังนี้
- มะเร็งคาร์ซิโนมา (Carcinoma) คือ มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากผิวหนัง หรือเยื่อบุอวัยวะ
- มะเร็งซาร์โคมา (Sarcoma) คือ มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากกระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อ ไขมัน หรือหลอดเลือด
- มะเร็งไมอีโลมา (Myeloma) และมะเร็งลิมโฟมา (Lymphoma) คือ มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน
- มะเร็งลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) คือ มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูกที่ ทำให้เม็ดเลือดผิดปกติ
- มะเร็งระบบสมองและไขสันหลัง (Central nervous system cancers) คือ มะเร็งที่เกิดในสมอง อวัยวะในระบบประสาทส่วนกลาง หรือไขสันหลัง นอกจากนี้ยังมีโรคมะเร็งที่มักเกิดขึ้นกับเพศชายและเพศหญิงที่แตกต่างกันไป
ข้อมูลโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยทั้งในเพศชายและหญิง
โรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ชาย
- มะเร็งตับ
- มะเร็งปอด
- มะเร็งลำไส้ใหญ่
- มะเร็งต่อมลูกหมาก
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- มะเร็งช่องปาก
- มะเร็งกระเพาะอาหาร
- มะเร็งหลอดอาหาร
โรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิง
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งปากมดลูก
- มะเร็งตับ
- มะเร็งปอด
- มะเร็งลำไส้ใหญ่
- มะเร็งรังไข่
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- มะเร็งช่องปาก
- มะเร็งต่อมไทรอยด์
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง
มะเร็งถือเป็นโรคที่แพทย์ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่ามะเร็งที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคลเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งมีความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบที่ทำให้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ซึ่งมีดังนี้
- อายุ เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้มากยิ่งขึ้น
- การสูบบุหรี่ สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้หลากหลายชนิด
- แสงแดด สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง
- รังสีต่างๆ รังสีในธรรมชาติ รังสีนิวเคลียร์ หากได้รับรังสีเหล่านี้ในปริมาณที่สูงเกินกำหนด ทำให้มีความเสี่ยงเป็น มะเร็งลูคีเมีย มะเร็งไทรอยด์ มะเร็งปอด เป็นต้น
- สารเคมี สารเคมีต่าง ๆ ที่เราพบเจอเช่น สารเคมีบางชนิดจากขบวนการทางอุตสาหกรรม สารพิษจากเนื้อปิ้งย่าง รมควัน อาหารที่ทอดจนไหม้เกรียม ควันบุหรี่ เขม่าควันรถยนต์
- เชื้อไวรัสและแบคทีเรียบางชนิด
- ประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง
- แอลกอฮอล์
- วิถีการดำเนินชีวิต เช่น การกินอาหารไขมันสูง
ระยะของโรคมะเร็ง
โรคมะเร็งเป็นโรคที่มีหลายระยะ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่บ่งบอกเกี่ยวกับความรุนแรงของโรคมะเร็งที่เกิดขึ้น (ระยะการลุกลามและการแพร่กระจาย) เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาผู้ป่วยทั่วไปโรคมะเร็งมี 4 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดเล็ก และยังไม่ลุกลาม รวมถึงยังไม่มีอาการให้ผู้ป่วยสามารถรับรู้ได้
- ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และเริ่มลุกลามภายในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ ในผู้ป่วยบางรายอาจยังไม่มีการแสดงอาการ
- ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ เริ่มลุกลามเข้าเนื้อเยื่ออวัยวะข้างเคียง และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เนื้อเยื่อหรือ อวัยวะที่เป็นมะเร็งและเริ่มมีอาการกดทับบริเวณอวัยวะข้างเคียง จนทำให้เกิดอาการปวดมากยิ่งขึ้น
- ระยะที่ 4 ก้อนมะเร็งขนาดโตมาก หรือมีการลุกลามเข้าเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการทรุดหนักลงในระยะสุดท้าย
ค่ารักษามะเร็ง 2564
การปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายโรคมะเร็ง
โรคมะเร็ง การรักษาในปัจจุบันมีรูปแบบการรักษาที่ทันสมัย และมีแนวทางการรักษาที่มากยิ่งขึ้น ยิ่งตรวจเจอไว ก็มีโอกาสรักษาหายสูง สำหรับวิธีการรักษาหมอผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้แนะนำทางเลือกในการรักษาให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการรักษามากกว่าหนึ่งวิธีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีมากยิ่งขึ้น สำหรับค่ารักษามะเร็งมีค่าใช้จ่ายโดยประมาณการ (อ้างอิงข้อมูลจากค่าฉายรังสีในเวลาราชการของ CHULA CANCER) ดังนี้
มะเร็งศีรษะและลำคอ
เทคนิค 3 มิติ รวม 130,100 บาท
เทคนิค IMRT/VMAT รวม 186,600 บาท
มะเร็งเต้านม
เทคนิค 3 มิติ รวม 84,500 บาท
เทคนิค 2 มิติ รวม 69,300 บาท
มะเร็งปอด
เทคนิค IMRT/VMAT (35 ครั้ง) รวม 197,600 บาท
เทคนิค 3 มิติ (35 ครั้ง) รวม 141,100 บาท
มะเร็งกระจายไปสมอง
เทคนิค 2 มิติ (10 ครั้ง) รวม 34,400 บาท
เทคนิค 3 มิติ (10 ครั้ง) รวม 49,100 บาท
เทคนิค IMRT/VMAT (10 ครั้ง) รวม 77,600 บาท
เทคนิค SRT รวม 114,000 บาท
มะเร็งปากมดลูก
เทคนิค 3 มิติ (28 ครั้ง) รวม 144,400 บาท
มะเร็งต่อมลูกหมาก
เทคนิค IMRT/VMAT รวม 182,400 บาท
มะเร็งสมอง
เทคนิค IMRT/VMAT 30 ครั้ง รวม 164,800 บาท
มะเร็งหลอดอาหาร
เทคนิค VMAT รวม 150,800 บาท
มะเร็งลำไส้ใหญ่
เทคนิค 3 มิติ (28 ครั้ง) รวม 103,000 บาท
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
เทคนิค 3 มิติ รวม 110,000 บาท
เทคนิคการรักษามะเร็งแบบต่างๆ
การรักษามะเร็งด้วย เทคนิค 2 มิติ คือ การรักษาจากภาพเอกซเรย์ที่แสดงใน 2 แนวแกนที่จะใช้ตำแหน่งของอวัยวะภายในโดยใช้กระดูกเป็นการเทียบเคียงเพื่อกำหนดขอบเขตของรังสี
การรักษามะเร็งด้วย เทคนิค 3 มิติ คือ การกำหนดขอบเขตการรักษาจากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่มีการกำหนดรูปร่างของลำรังสีให้เหมาะสมกับรอยโรค ทำให้ฉายรังสีได้ถูกจุดมากยิ่งขึ้น และบริเวณรอยโรคจะได้รับปริมาณรังสีเยอะที่สุด ลดปัญหาการได้รับรังสีจากเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียง
เทคนิค IMRT/VMAT คือ เทคนิคการฉายรังสีที่มีการปรับความเข้มของ IMRT โดยเครื่องฉายรังสีจะหมุนรอบผู้ป่วย สามารถปรับปริมาณของรังสี การกระจายตัวของรังสี ช่วยให้รังสีครอบคลุมเฉพาะก้อนมะเร็งได้ทั้งหมด มีผลต่ออวัยวะข้างเคียงน้อย
เทคนิค SRT คือ การฉายรังสีร่วมพิกัด ที่จะใช้การฉายรังสีในปริมาณที่สูงด้วยลำรังสีขนาดเล็กหลายทิศทาง เพื่อให้รังสีพุ่งตรงสู่รอยโรคได้มากยิ่งขึ้น
โรคมะเร็งเป็นโรคร้ายใกล้ตัวที่ไม่อาจมองข้ามหรือละเลย อีกทั้งควรมีการเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝัน นอกเหนือจากโรคมะเร็งแล้วยังรวมถึงอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย การมีประกันสุขภาพ ถือเป็นการวางแผนการรับมือสำหรับค่ารักษาการเจ็บป่วยต่างๆ ในอนาคตโดยไม่กระทบกับเงินออม ด้วยค่าเบี้ยประกันเริ่มต้นที่ 6,000 บาทต่อปี กับแผนความคุ้มครอง ประกันสุขภาพ Viriyah Healthcare by BDMS คุ้มครอง IPD ค่าห้องสูง
คุ้มค่าสำหรับลูกค้าโรงพยาบาลในเครือ BDMS วงเงินคุ้มครองสูงสุด 700,000 บาทต่อปี* เพราะเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ สามารถเข้าไปเปรียบเทียบแผนประกัน และเลือกซื้อประกันสุขภาพทางออนไลน์ที่เหมาะสมกับตัวคุณได้แล้วผ่านฮักส์ หรือโทรปรึกษาฮักส์ได้ที่ 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล:
ประมาณการค่าฉายรังสีในเวลาราชการสำหรับโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่ CHULA CANCER, โรคมะเร็ง (Cancer) , รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา CHULA CANCER