ตรวจคัดกรองมะเร็ง VS ตรวจสุขภาพ ควรตรวจแบบไหนดี
เขียนเมื่อวันที่ 15/06/2021
รู้ทันเรื่องสุขภาพ ตรวจโรคครอบคลุม
เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม การมีสุขภาพดีส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในหลายด้าน ทำให้กาารตรวจสุขภาพเป็นประจำเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกาย โดยเฉพาะโรคร้ายที่มักจะแฝงตัวมาอย่างเงียบเชียบ ต้องอาศัยการสังเกตและการตรวจอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้โรคร้ายลุกลาม
มะเร็งถือเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยลำดับต้น ๆ และหากอยู่ในระยะลุกลามหรือเป็นขั้นสุดท้าย โอกาสที่จะรักษาหายทำให้เป็นไปได้ยาก อีกทั้งอาจมีโรคแทรกซ้อนอื่นตามมา จึงทำให้มีความเสี่ยงเสียชีวิตสูง สำหรับโรคมะเร็งที่พบมากในคนไทย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ และมะเร็งรังไข่ ซึ่งนอกจากการหมั่นตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจะเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากแล้ว การทำประกันภัยโรคมะเร็งก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะหากเกิดป่วยในอนาคตจะได้หมดกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล
โปรแกรมตรวจสุขภาพฟรีจากประกันสังคม
ประกันสังคมเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานของคนทำงาน เป็นสวัสดิการที่รัฐมอบให้แก่ลูกจ้าง เป็นหลักประกันความเสี่ยงที่ส่งผลต่อสุขภาพและการงาน เช่น การเจ็บป่วย การรักษาพยาบาล การว่างงาน การทุพพลภาพ และอื่น ๆ ที่ครอบคลุม โดยมีผู้ประกอบการและลูกจ้างจะต้องจ่ายเงินเข้าประกันสังคมทุกเดือน และลูกจ้างสามารถใช้สิทธิประกันสังคมนี้ได้ที่โรงพยาบาลประกันสังคมที่ตนเลือก ซึ่งประกันสังคมเองก็มีปรแกรมตรวจสุขภาพโฟรีในโรงพยาบาลประกันสังคมที่ตัวเองสังกัด แบ่งออกเป็น 4 หมวดใหญ่ ๆ ดังนี้
ตารางการตรวจสุขภาพฟรีจากประกันสังคม
การตรวจร่างกายตามระบบ
- การคัดกรองการได้ยิน Finger Rub Test - เป็นการตรวจเพื่อทดสอบการได้ยินเสียง
- การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข - เป็นการตรวจเต้านมเพื่อหาก้อนเนื้อและความผิดปกติต่าง ๆ ในเต้านม
- การตรวจตาโดยความดูแลของจักษุแพทย์ - เป็นการตรวจวัดสายตา เพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานของดวงตา
- การตรวจสายตาด้วย Snellen eye Chart – เป็นการวัดความสามารถในการมองเห็น เพื่อหาความสั้นยาวของสายตา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC – เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด เช่น โรคโลหิตจาง
- ปัสสาวะ UA - เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองโรคไตบางชนิด
การตรวจสารเคมีในเลือด
- น้ำตาลในเลือด FBS - เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
- การทำงานของไต CR - เป็นการตรวจเพื่อวัดสมรรถภาพการทำงานของไต
- ไขมันในเส้นเลือดชนิด Tatol & HDL Cholesterol - เป็นการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
การตรวจเพิ่มเติมอื่น ๆ
- เชื้อไวรัสตับอักเสบ HBsAg - เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ B ตรวจเฉพาะผู้ที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2535
- มะเร็งปากมดลูก หรือ Pap Smear – เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยนำเซลล์บริเวณปากมดลูกมาค้นหาเซลล์มะเร็ง สำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 30-54 ปี และผู้ที่มีความเสี่ยงสูง
- มะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Via - เป็นการป้ายกรดอะชิติกเพื่อหาผิดปกติบริเวณปากมดลูก สำหรับผู้หญิงอายุ 30 - 54 ปี หากอายุเกินแต่มีความเสี่ยงแนะนำให้ตรวจด้วยวิธี Pap Smear
- เลือดในอุจจาระ FOBT – เป็นการตรวจอุจจาระ เพื่อหามะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งในลำไส้ตรง สำหรับผู้ที่มีเลือดปนเปื้อนในอุจจาระน้อย
- Chest X-ray - เป็นการฉายรังสีทรวงอก เพื่อค้นหาวัณโรค, ปอดเรื้อรังบางชนิด และร่องรอยผิดปกติบนปอดอันนำไปสู่โรคเรื้อรังอื่น ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไปเพื่อป้องกันโรคที่เกี่ยวกับปอด
ผู้ที่มีสิทธิประกันสังคมสามารถเข้ารับการตรวจตามโปรแกรมดังกล่าวฟรี สามารถยื่นใช้สิทธิได้ตามโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการ
โปรแกรมการตรวจมะเร็ง
โรคมะเร็งเป็นโรคร้ายที่ต้องระวังไม่ให้ลุกลาม
การตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นการตรวจสุขภาพรูปแบบหนึ่ง แต่เป็นการตรวจที่เจาะจงเกี่ยวกับมะเร็งในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพราะมะเร็งเป็นโรคร้ายที่สามารถเกิดขึ้นได้หลายส่วน และแต่ละส่วนก็มีความรุนแรงไม่แพ้กัน การคัดกรองมะเร็งที่ได้รับความนิยม เช่น
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
การตรวจมะเร็งเต้านมมักจะใช้วิธีการตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) เป็นการฉายรังสีผ่านเครื่องเอกซเรย์โดยการบีบเต้านม 2 ข้างเข้าหากัน แล้วถ่ายภาพมุมสูงแล้วมุมเฉียง วิธีนี้จะเจ็บบริเวณเต้านมเล็กน้อยจากการบีบอัดของเครื่อง แต่สามารถตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่จะใช้วิธีการส่องกล้อง (Colonoscopy) เป็นการนำกล้องขนาดเล็กส่องเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อหาติ่งเนื้อและความผิดปกติบริเวณเยื่อบุลำไส้ เป็นวิธีที่ไม่อันตราย และผลข้างเคียงน้อย
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
การตรวจมะเร็งปากมดลูกมีหลายวิธี ทั้งตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test), ตรวจตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ (ThinPrep Pap Test), ตรวจ DNA เพื่อหาเชื้อไวรัส HPV และการตรวจด้วยน้ำส้มสายชู (Visual inspection with acetic acid: VIA) วิธีที่ได้รับความนิยมคือแปปสเมียร์ เป็นการเก็บตัวอย่างเซลล์ในช่องคลอดไปห้องตรวจ เพื่อหาเซลล์มะเร็ง สามารถตรวจเจอมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นในราคาตรวจที่ถูกกว่าแบบอื่น ถึงแม้ว่าการตรวจสุขภาพจากประกันสังคมจะสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเบื้องต้น และสามารถใช้สำหรับตรวจสุขภาพประจำปีได้ แต่มะเร็งเป็นโรคร้ายที่หากลุกลามจะรักษายาก และหากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ โอกาสในการรักษาหายจะสูงกว่า การมีประกันภัยสุขภาพและประกันภัยมะเร็งจึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการตรวจคัดกรองและรักษาโรคมะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย โดยปกติการตรวจมะเร็งในปัจจุบันราคาอยู่ที่ตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักหมื่น เช่น
- โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้หญิง โรงพยาบาลนนทเวช ราคา 7,500 บาท
- โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็ง โรงพยาบาลบางปะกอก 9 ราคา 19,000 บาท
- โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้หญิง โรงพยาบาลพญาไท 3 ราคา 23,900 บาท
จะเห็นได้ว่าค่าตรวจคัดกรองโรคมะเร็งนั้นราคาค่อนข้างสูง การรักษาโรคมะเร็งก็เช่นกัน ฮักส์จึงประกันภัยมะเร็งที่น่าสนใจให้เพื่อน ๆ พิจารณา เพื่อเพิ่มความอุ่นใจในด้านสุขภาพและการเงิน
ประกันภัยมะเร็งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษามะเร็ง
ประกันภัย Cancer Fix MSIG ที่คุ้มครองมะเร็งทุกระยะ คุ้มครองสูงสุด 500,000 บาท เบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียง 625 บาท/ปี และมีเบี้ยประกันภัยคงที่ คุ้มครองถึงการทำรังสี การทำเคมีบำบัด และการตรวจรักษาซ้ำ หากสนใจประกันภัยมะเร็ง ฮักส์ยินดีเป็นผู้ช่วยให้คุณตามหาประกันภัยที่ดีที่สุดตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ สามารถโทรปรึกษาฮักส์ได้ที่ 0 2975 5855 หรือทางเว็บไซต์ Hugs Insurance