ควรรู้ก่อนใช้ น้ำมันกัญชารักษามะเร็ง ได้จริงไหม
เขียนเมื่อวันที่ 14/06/2021
น้ำมันกัญชาทางเลือกใหม่ รักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือ ?
น้ำมันกัญชาคืออีกหนึ่งทางเลือกใหม่ ที่ช่วยรักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือ ? ถือเป็นคำถามที่หลายคนยังคงค้างคาใจ เมื่อมีประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อกกัญชาออกจากยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เพื่อให้ทางการแพทย์ศึกษาสรรพคุณในการรักษาอาการเจ็บป่วย รวมถึงมีประเด็นเกี่ยวกับการใช้สารสกัดจากต้นกัญชารักษาโรคมะเร็ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังไม่มีข้อมูลทางการศึกษาที่ระบุว่ากัญชาสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ เพราะฉะนั้นไม่ควรนำมาใช้เองโดยพลการ จนกว่าจะได้ขึ้นทะเบียนยารับรองอย่างเป็นทางการ มิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
และอย่างที่ทราบกันดีกว่ามะเร็งเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยในลำดับต้น ๆ หากอาการอยู่ในระยะลุกลาม โอกาสที่จะรักษาหายทำให้เป็นไปได้ค่อนข้างยาก เป็นเหตุให้ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายรวมถึงญาติเลือกรักษากับแพทย์ทางเลือกเพื่อประครองอาการ และเมื่อได้รับรู้ข่าวเกี่ยวกับกัญญชาว่าสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ จึงทำให้มีความหวังของการมีชีวิตที่ยืนยาว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่ายังไม่มีข้อมูลระบุว่ากัญชาสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ เพราะฉะนั้นไม่ควรนำมาใช้เองโดยพลกาน เนื่องจากอาจก่อให้เกิดโทษได้
ถึงแม้ว่ายังไม่มีการรับรองว่ากัญชาสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ แต่ก็มีการข้อมูลว่าสามารถใช้เป็นยาเสริมเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน รวมถึงรักษาอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ เนื่องจากในกัญชานั้นมีสาร 2 ชนิดที่อยู่ในตระกูลแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) คือ THC ย่อมาจาก Tetrahydroconnabinol เป็นสารที่พบมากในกัญชาทำให้รู้สึกเคลิบเคลิ้ม มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการหลอน และอาการเมา ทางการแพทย์จึงใช้สารนี้แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน และช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ส่วนสาร CBD ย่อมาจาก Canabidiol มีคุณสมบัติทางการแพทย์ที่หลากหลาย มีฤทธิ์ช่วยต้านอาการหลอน และต้านอาการเมาของสาร THC ทางการแพทย์จึงใช้สารชนิดนี้ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ แต่จะมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ทั้งนี้ทั้งนั้น สาร THC และ CBD ที่อยู่ในกัญชามีประโยชน์ที่คล้ายกันแต่ออกฤทธิ์ต่างกัน เพราะฉะนั้นการใช้งานจึงขึ้นอยู่กับว่าต้องการผลการรักษาที่เป็นไปในทิศทางใด
สารสกัดกัญชาที่ใช้รักษาโรคแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
- 1. สารสกัดกัญชาที่มีประโยชน์ในการรักษา และมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนชัดเจน ใช้รักษาอาการดังต่อไปนี้
- ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
- โรคลมชักที่รักษายากในเด็กและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
- ภาวะปวดประสาทที่ใช้วิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
- รักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- 2. สารสกัดจากกัญชาที่น่าจะมีประโยชน์ในการควบคุมอาการ ซึ่งควรมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนหรือวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิผลเพื่อสนับสนุนการนำมาใช้รักษาอาการดังนี้
- โรคพาร์กินสัน
- โรคอัลไซเมอร์
- โรควิตกกังวลไปทั่ว
- ผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง
- ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
- 3. สารสกัดจากกัญชาอาจมีประโยชน์ในการรักษา แต่ยังขาดข้อมูลจากงานวิจัยสนับสนุนที่ชัดเจนเพียงพอ ในด้านความปลอดภัยและประสิทธิผล ต้องศึกษาวิจัยในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองก่อนนำมาศึกษาวิจัยในมนุษย์ อาทิ การรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
สารสกัดกัญชาช่วยรักษาโรค
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าน้ำมันกัญชาไม่ควรนำมาใช้เองโดยพลการ เพราะอาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี โดยควรอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากได้รับสารในปริมาณที่มากเกินไป หรือมีอาการแพ้ จะทำให้เกิดผลข้างเคียง อาทิ มีอาการท้องร่วง, อาการอ่อนเพลีย รวมถึงความอยากอาหาร หรือน้ำหนักเกิดการเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่มีอาการเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจอาจทำให้เกิดอัตราการเต้นหัวใจผิดปกติ วิงเวียนศีรษะ หมดสติ หรืออาจส่งผลให้เกิดอารมณ์ไม่คงที่ และหากใช้สารสกัดกัญชาเกินขนาด หรือต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน มีความเสี่ยงก่อให้เกิดอาการเสพติด ที่ร้ายแรงไปกว่านั้นคือมีผลข้างเคียงต่อระบบประสาท และสมอง รวมถึงอาจมีอาการทางจิต อาทิ มีอาการหลงผิด หรือเห็นภาพหลอน และเกิดอาการหวาดระแวงโดยไม่ทราบสาเหตุ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่เริ่มใช้สารสกัดจากกัญชาในการรักษาโรคเอาไว้ดังนี้
- สารสกัดจากกัญชาไม่ใช่ทางเลือกแรกในการรักษา เพราะฉะนั้นไม่ควรหยุดรักษาที่รับอยู่ในปัจจุบัน ที่สำคัญคือควรรู้ถึงประโยชน์ และความเสี่ยงที่จะได้รับ รวมถึงใช้สารสกัดจากกัญชาที่ได้มาตรฐานอย่าง THC และ CBD
- ควรเริ่มใช้สารสกัดจากกัญชาในปริมาณที่น้อยที่สุด รวมถึงมีแพทย์ผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
- ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยสารสกัดจากกัญชาควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าใช้ยาประเภทใดอยู่บ้าง เพราะสารสกัดกัญชาอาจส่งผลต่อยาที่ใช้อยู่ ทำให้เสี่ยงเกิดอันตรายได้
ข้อควรระวังการใช้กัญชารักษาโรค
สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งควรได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และควรปรึกษาแพทย์หากต้องการรักษาด้วยแพทย์ทางเลือกควบคู่กันไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายถึงชีวิต และอย่างที่ทราบกันดีว่าโรคมะเร็งมักมาพร้อมค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง รวมถึงการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น ๆ ก็เช่นกัน เพราะฉะนั้นการทำประกันสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก โดยจะช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้อย่างครอบคลุม ฮักส์มีประกันสุขภาพจากหลายบริษัทชั้นนำที่น่าสนใจ เบี้ยเริ่มต้นแค่ 2,160 บาทต่อปี ซึ่งมาพร้อมการคุ้มครองที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ไม่ว่าจะป่วยหนัก หรือป่วยเบา ก็สามารถเลือกแผนประกันที่ใช่ได้อย่างตรงใจ
อ้างอิงข้อมูล:
https://www.phyathai.com/article_detail/3023/th/Can_%E2%80%9CCannabis%E2%80%9D_actually_be_used_for_treating_cancer,
https://www.prachachat.net/spinoff/health/news-423070,
http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=653