มะเร็งมีกี่ระยะ อาการแตกต่างกันอย่างไร
เขียนเมื่อวันที่ 10/07/2021
รู้ทันโรคมะเร็ง เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที
มะเร็งเป็นโรคร้ายที่ไม่ควรมองข้าม เพราะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อโรค หรือมีพันธุกรรมที่อาจส่งต่อโรคมะเร็งสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน การเข้าใจโรคและรู้วิธีรับมือจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันไม่ให้มะเร็งคร่าชีวิตตนเองและบุคคลใกล้ชิด
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับมะเร็ง
มะเร็งเป็นโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์แล้วเกิดเป็นก้อนเนื้อ สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ชนิดของมะเร็งจะเรียกตามแหล่งกำเนิด เช่น หากเกิดเซลล์มะเร็งบริเวณเต้านมจะเรียกว่ามะเร็งเต้านม โดยปกติเซลล์มะเร็งจะแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิดตามแหล่งกำเนิด ดังนี้
คาร์ซิโนมา (Carcinoma)
มะเร็งคาร์ชิโนมามีจุดกำเนิดบริเวณผิวหนัง ความร้ายแรงจะขึ้นอยู่กับประเภทของอาการ โดยระยะแรกเริ่มจะเป็นผื่นและขุยบริเวณผิวหนัง หากรักษาไม่ทันจะลุกลามกลายเป็นมะเร็งผิวหนัง มักเกิดจากการได้รับแสงแดดที่มีรังสีอัลตราไวโอเลตสูง การได้รับสารเคมีที่ทำให้ผิวหนังเกิดอาการแพ้ การมีแผลเรื้อรังที่ทำลายยีนการแบ่งตัวของผิวหนัง และพันธุกรรม
ซาร์โคมา (Sarcoma)
มะเร็งซาร์โคมามีจุดกำเนิดบริเวณเนื้อเยื่อ กระดูก กระดูกอ่อน ไขมัน และหลอดเลือด มีการวินิจฉัยพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งชนิดนี้น้อย แต่เมื่อเป็นแล้วมีโอกาสการเสียชีวิตค่อนข้างสูง ถือเป็นมะเร็งที่รักษาได้ยากชนิดหนึ่ง เพราะเซลล์มะเร็งกระจายอยู่ในจุดเปราะบางของร่างกายอย่างเนื้อเยื่ออ่อน นอกจากจะตรวจพบเร็วจึงจะรักษาได้ทัน ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดกระดูกและปวดเมื่อยภายในร่างกายอย่างรุนแรง หากมีอาการดังนี้ควรรีบตรวจมะเร็งซาร์โคมาทันที
ลูคีเมีย (Leukemia)
มะเร็งลูคีเมียมีจุดกำเนิดบริเวณเม็ดเลือดในไขกระดูก มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรงสูง เกิดจากการที่เม็ดเลือดขาวเจริญเติบโตผิดปกติและแบ่งเซลล์ออกมามากจนรบกวนการสร้างเม็ดเลือดชนิดอื่น ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดต่ำลง ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออกได้ง่าย และมีจ้ำเลือดสีแดงตามร่างกาย และติดเชื้ออื่น ๆ ได้ง่าย
ลิมโฟมา และมัยอิโลมา (Lymphoma and Myeloma)
มะเร็งลิมโฟมาและมะเร็งมัยอิโลมามีจุดกำเนิดบริเวณระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยลิมโฟมาจะเกิดบริเวณต่อมน้ำเหลือง และมัยอิโลมาจะเกิดบริเวณพลาสมาเซลล์ มะเร็งชนิดนี้จะมีลักษณะอาการคล้ายลูคิเมีย คือ มีจ้ำเลือดตามร่างกาย และคลำพบก้อนเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มักเกิดจากการที่ร่างกายขาดการสร้างภูมิคุ้มกันเนื่องมาจากอาการเจ็บป่วย เช่น HIV ทำให้เชื้อมะเร็งเข้ามาทางระบบภูมิคุ้มกันได้
มะเร็งระบบสมองและสันหลัง (Central Nervous System Cancers)
มะเร็งชนิดนี้เกิดจากการกดทับของเซลล์ประสาทบริเวณสมองส่วนกลาง ทำให้ระบบประสาทไม่สามารถขยายตัวได้จึงเกิดอาการปวดหัวรุนแรง นอกจากในสมองแล้วยังพบในไขสันหลังจากการขาดน้ำหล่อเลี้ยง ลักษณะของมะเร็งจะเป็นก้อนเนื้องอกบริเวณสมองส่วนกลาง ต้องใช้การผ่าตัดในการรักษา
ระยะของมะเร็ง (Stage Of Cancer)
โรคมะเร็งได้รับความสนใจในปัจจุบัน
โรคมะเร็งแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 – 4 โดยปกติจะมีระยะ 0 ด้วย แต่เป็นระยะที่ยังไม่ถือว่าเป็นมะเร็งโดยสมบูรณ์ จึงเริ่มนับที่ระยะที่ 1 แทน
- มะเร็งระยะที่ 1
เป็นมะเร็งระยะแรกเริ่ม ลักษณะเซลล์เป็นเพียงก้อนเนื้อเล็ก ๆ และยังไม่ลุกลามไปบริเวณอื่น
- มะเร็งระยะที่ 2
เป็นมะเร็งที่ก้อนเนื้อเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น และเซลล์มะเร็งค่อย ๆ กระจายอยู่ในเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นจุดกำเนิดมะเร็ง
- มะเร็งระยะที่ 3
เป็นมะเร็งที่ก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่จนสังเกตได้ และเซลล์มะเร็งกระจายเข้าสู่อวัยวะข้างเคียง รวมถึงเริ่มเข้าสู่ระบบต่อมน้ำเหลืองภายในร่างกายบริเวณที่ใกล้ที่สุด
- มะเร็งระยะที่ 4
มะเร็งระยะสุดท้าย ก้อนเนื้อจะมีขนาดใหญ่จนสัมผัสได้และมีความรู้สึกเจ็บ เซลล์มะเร็งลุกลามไปทั่วอวัยวะภายใน เข้าสู่ระบบต่อมน้ำเหลืองและเส้นเลือด
อาการของมะเร็งจะร้ายแรงขึ้นตามระยะของโรค ส่วนมะเร็งจะลุกลามเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิต หากมีพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจะเร็วขึ้น จึงควรรู้จักดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการเป็นมะเร็ง
แนวทางการป้องกันมะเร็งเบื้องต้น
โรคมะเร็งเมื่อเป็นแล้วใช้เวลาในการรักษานานและต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง การป้องกันไว้ก่อนจึงเป็นทางออกที่ดีกว่า โดยสามารถป้องกันเบื้องต้นได้ ดังนี้
- ตรวจโรคสม่ำเสมอ
การตรวจสุขภาพประจำปีจะช่วยให้เห็นปัญหาสุขภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมไปถึงการสอบถามคนในครอบครัวหากมีผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคมะเร็งมาก่อน ควรให้ความสำคัญกับข้อมูลและตรวจมะเร็งชนิดนั้นอยู่เสมอ
- ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะยังคงใช้ได้เสมอกับการดูแลสุขภาพ
- มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันอาจมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูก จึงควรตรวจสุขภาพทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงการสวมใส่ถุงยางอนามัยเสมอ
- หลีกเลี่ยงการโดนแดดจัด
แสงแดดในปัจจุบันเป็นอันตรายต่อผิวหนังโดยเฉพาะจากรังสีอัลตราไวโอเลต ก่อนออกแดดจึงควรทาครีม รวมถึงมีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น เสื้อแขนยาว หรือร่มกันแดดทุกครั้ง
- ป้องกันผิวหนังจากสารเคมีต่าง ๆ
สารเคมีที่เข้ามากระทบผิวหนังหรือเข้าสู่ร่างกายอาจก่อให้เกิดการแบ่งตัวเป็นเซลล์มะเร็ง จึงควรหลีกเลี่ยงสารเคมีอันตรายเอาไว้
- งดเหล้าและบุหรี่
สุขภาพที่ดีช่วยป้องกันโรคร้ายได้ เหล้าและบุหรี่ทำลายอวัยวะภายในและสามารถเติบโตเป็นมะเร็งได้เมื่อเกิดการสะสมมากภายในร่างกาย หากสามารถทำได้ควรเลิกเหล้าและบุหรี่
มะเร็งเป็นโรคร้ายที่ประกันภัยไม่รับทำในอดีต เพราะการรักษาใช้เวลานานและต้องรักษาต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันมีประกันภัยหลายแผนที่เจาะจงเฉพาะการรักษามะเร็งเท่านั้น เช่น วิริยะประกันภัย Cancer Pro ที่ครอบคลุมการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อหาความเสี่ยงโรคมะเร็ง หากพบว่าเป็นโรคมะเร็งสามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลได้สูงสุดถึง 9,000,000 บาท/ปี* หมดกังวลเรื่องการรักษาที่ยาวนาน การทำประกันภัยมะเร็งเอาไว้จึงอุ่นใจกว่าเมื่อต้องรักษาระยะยาว หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัยที่เหมาะกับตนเอง สามารถติดต่อโบรกเกอร์ประกันภัยที่ไว้ใจได้อย่างฮักส์ที่ช่องทาง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855 แล้วการทำประกันภัยของคุณจะตอบสนองความต้องการมากที่สุด