เงินชดเชย พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองยามเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน
เขียนเมื่อวันที่ 17/11/2021
รู้หรือไม่ เกิดเหตุรถชนเบิกเงินจาก พ.ร.บ.รถยนต์ ได้
สำหรับผู้ใช้รถน่าจะคุ้นเคยกับประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหรือ พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่น้อย เพราะรถยนต์ทุกคันต้องมี หากไม่ทำ พ.ร.บ.รถยนต์ จะต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้ ทั้งยังเข้าข่ายมีความผิดตามกฎหมาย ที่สำคัญถ้าเกิดอุบัติเหตุชนรถกัน ไม่ว่าจะเป็นรถใหญ่ชนรถเล็ก หรือรถเล็กชนรถใหญ่ พ.ร.บ.รถยนต์ เข้ามาคุ้มครองทุกคนที่ประสบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณีและบุคคลภายนอก และเพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงความสำคัญของ พ.ร.บ.รถยนต์ ตามมาดูกันว่า คุ้มครองอะไรบ้าง มีวิธีเคลมอย่างไร เบิกเงินชดเชยได้หรือไม่ ตาม Hugs Insurance ไปหาคำตอบพร้อมกันเลย
ค่าเสียหายเบื้องต้นที่ พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองมีอะไรบ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือ พ.ร.บ.รถยนต์ ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอผลพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกหรือผิด ซึ่งหลังเกิดเหตุบริษัทประกันภัยที่รับทำ พ.ร.บ. รถยนต์ เข้ามาทำหน้าที่ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาท ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอเรื่องค่าเสียหาย ดังนี้
- กรณีบาดเจ็บ ได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท
- กรณีทุพพลภาพ ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น คนละไม่เกิน 35,000 บาท
- กรณีบาดเจ็บและทุพพลภาพในลำดับต่อมา ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินชดเชยเป็นค่าปลงศพ 35,000 บาท
- กรณีบาดเจ็บและเสียชีวิตในภายหลัง จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมไม่เกิน 65,000 บาท
กรณีเป็นฝ่ายถูก พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองเรื่องใดบ้าง
ภายหลังมีการพิสูจน์ความผิดแล้ว ทางบริษัทบริษัทประกันภัยที่รับทำ พ.ร.บ. รถยนต์ ซึ่งเป็นฝ่ายผิด จะเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทของผู้ประสบภัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) กรณีบาดเจ็บ ได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 80,000 บาท
(2) กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ได้รับเงินชดเชยคนละไม่เกิน 300,000 บาท
(3) กรณีสูญเสียอวัยวะ
- ทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพได้) ได้รับเงินชดเชย 300,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 500,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชย 250,000 บาท
- สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 200,000 บาท
(4) กรณีเป็นผู้ป่วยใน ได้รับเงินชดเชยกรณีนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล วันละ 200 บาท แต่สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท หรือไม่เกิน 20 วัน
เคลม พ.ร.บ.รถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลหรือเงินชดเชยจาก พ.ร.บ.รถยนต์ ต้องแบ่งตามประเภทความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง โดยเอกสารที่ใช้ประกอบการเคลม พ.ร.บ.รถยนต์ แบ่งออกเป็นดังนี้
ผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุรถชนกัน แจ้งเคลม พ.ร.บ.รถยนต์ ได้
กรณีบาดเจ็บ (ผู้ป่วยนอก)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ
- ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (ต้นฉบับ) จากโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา
กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (เฉพาะฝ่ายถูก)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้
- ใบรับรองแพทย์ หรือหนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล
- ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (ต้นฉบับ) จากโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา
กรณีทุพพลภาพ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ
- ใบรับรองแพทย์ หรือหนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล
- หนังสือรับรองคนพิการ หรือหลักฐานความเห็นของแพทย์ที่ระบุว่าผู้ประสบภัยเป็นผู้ทุพพลภาพ
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน ที่แสดงว่าคุณเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ
กรณีเสียชีวิต
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิต
- ใบมรณบัตร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรม
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน ที่แสดงว่าผู้นั้นเสียชีวิตเพราะประสบภัยจากรถ
ทั้งนี้เมื่อประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้ได้รับบาดเจ็บ ผู้รับมอบอำนาจ หรือทายาทโดยชอบธรรม สามารถทำเรื่องเบิกค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.รถยนต์ ได้ภายใน 180 วันหลังจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ โดยยื่นเรื่องผ่านโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา หรือยื่นเรื่องผ่านบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ใครสะดวกช่องทางไหนก็สามารถดำเนินการได้ทันที
พ.ร.บ.รถยนต์ ทำได้ที่ไหนบ้าง
เมื่อทราบกันแล้วว่า พ.ร.บ.รถยนต์ ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารมากเพียงใดยามประสบอุบัติเหตุ ฉะนั้นใครที่รู้ตัวว่า พ.ร.บ.รถยนต์ หมดอายุ หรือใกล้หมดอายุแล้ว สามารถเลือกต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ผ่านช่องทางต่อไปนี้
(1) เลือกซื้อหรือ ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ที่กรมการขนส่งทางบก
(2) ต่อ พ.ร.บ. ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ ที่ทำการไปรษณีย์ ห้างสรรพสินค้า และเคาน์เตอร์เซอร์วิส
(3) ซื้อหรือ ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ กับบริษัทโบรกเกอร์ประกันภัย อย่าง ฮักส์ อินชัวรันซ์ ที่รวบรวมข้อมูลของ พ.ร.บ.รถยนต์ จากหลากหลายบริษัทประกันภัยมาให้คุณเปรียบเทียบแผนประกัน ค่าเบี้ยประกัน ทั้งสามารถซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เพียงกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนแล้วรอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับมา
หากใครสนใจต้องการซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ หรือสมัครประกันภัยรถยนต์เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติมยามใช้รถใช้ถนนมากขึ้น สามารถสอบถามรายละเอียดกับฮักส์ได้ที่ 0 2975 5855 หรือติดต่อผ่านช่องทาง Facebook และ Line รับรองว่าคุณจะได้คำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ตรงใจแน่นอน
อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย, บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด