เปิดข้อมูลเงินชดเชยบาดเจ็บจากการทํางาน ลูกจ้างเช็คด่วน
เขียนเมื่อวันที่ 23/09/2021
หมดกังวลหากบาดเจ็บในการทำงานด้วยกองทุนทดแทน
การทำงานต้องอาศัยแรงงานและแรงใจ ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพหรืออุบัติเหตุจากการทำงานได้ นายจ้างจึงต้องให้ความสำคัญกับอาการบาดเจ็บของลูกจ้าง ด้วยการส่งเงินสมทบในกองทุนทดแทน แล้วเงินจากในกองทุนจะสนับสนุนลูกจ้างเมื่อเกิดการบาดเจ็บจากการทำงาน
อะไรคือกองทุนทดแทน
กองทุนทดแทน คือ กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้นายจ้างส่งเงินสมทบเข้ากองทุน เพื่อใช้เป็นเงินสำรองฉุกเฉินในกรณีที่ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน โดยการส่งเงินสมทบนี้จะเป็นการส่งเงินของนายจ้างเพียงผู้เดียว ลูกจ้างไม่จำเป็นต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุน นายจ้างจะเริ่มส่งเงินสมทบเมื่อมีลูกจ้างอย่างน้อย 1 คน อัตราการส่งเงินแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
- เงินสมทบประจำปี – เป็นเงินที่นายจ้างส่งเป็นประจำทุกปีในเดือนมกราคม คำนวณจากยอดเงินสมทบที่อิงจากเงินเดือนและจำนวนคนของลูกจ้าง
- เงินสมทบจากการรายงานค่าจ้าง - เป็นเงินที่เรียกเก็บเพิ่มในเดือนมีนาคม หากมีการรับลูกจ้างเพิ่มขึ้นหรือมีการปรับเพิ่มเงินเดือนลูกจ้าง และจะคืนเงินหากมีการปรับลดเงินเดือนหรือลดจำนวนลูกจ้างลง
เงินสมทบในกองทุนทดแทนนี้จะเป็นเงินที่นายจ้างสมทบเพื่อลูกจ้าง ส่วนมากองค์กรขนาดใหญ่จะมีกองทุนทดแทนไว้เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับลูกจ้าง
ความคุ้มครองอาการบาดเจ็บจากการทำงาน
งานที่เสี่ยงอันตรายมีโอกาสบาดเจ็บสูง
การทำงานแล้วเกิดอาการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุจะได้รับการคุ้มครองจากกองทุนทดแทน แบ่งออกเป็น 5 ระดับความรุนแรงได้ดังนี้
- การเจ็บป่วยเล็ก น้อยจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกินครั้งละ 50,000 บาท
- หากเจ็บป่วยเรื้อรังที่มีค่าจ่ายสูงกว่า 50,000 บาท นายจ้างสามารถสมทบเพิ่มเป็นวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท
- อาการป่วยหนักที่ต้องพักรักษาตัว และมีวงเงินรักษาตัวเกิน 100,000 บาท ให้นายจ้างจ่ายสมทบเพิ่มได้เป็นยอดรวมไม่เกิน 300,000 บาท
- หากค่ารักษายังไม่เพียงพอ เพราะอาการป่วยหรืออุบัติเหตุต้องใช้อุปกรณ์และการวินิจฉัยขั้นสูง ให้นายจ้างเพิ่มเงินสมทบเป็น 500,000 บาท
- ในกรณีที่จำนวนเงินยังคงไม่พอ สามารถเพิ่มวงเงินสูงสุดเป็น 1,000,000 บาทได้ แต่ต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนก่อนเสมอ
เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเพิ่มเติมจากเดิม 50,000 บาท สามารถนำไปเบิกได้ที่กองทุนทดแทน โดยต้องนำใบเสร็จไปเบิกคืนที่สำนักงานภายใน 90 วัน แต่เพื่อความอุ่นใจมากยิ่งขึ้นลูกจ้างสามารถเลือกทำประกันภัยสุขภาพที่ช่วยคุ้มครองเพิ่มเติมได้ โดยการพิจารณาประกันภัยที่มีประกันอุบัติพ่วงอยู่ด้วย เพื่อความครอบคลุมที่มากขึ้น
ขั้นตอนเข้ารับการรักษาเมื่อบาดเจ็บจากการทำงาน
เมื่อลูกจ้างได้รับบาดเจ็บจากการทำงานจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
- เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หากเป็นไปได้ควรอยู่ในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมกองทุนทดแทน เพราะสามารถดึงเงินส่วนกลางจากกองทุนมาหักค่าใช้จ่ายได้เลย แต่หากมีความจำเป็นต้องส่งเข้าโรงพยาบาลอื่น นายจ้างจะเป็นผู้สำรองจ่ายและเบิกเงินจากกองทุนแทน
- นายจ้างแจ้งอาการบาดเจ็บของลูกจ้างให้กองทุนรับทราบภายใน 15 วัน หลังจากนำส่งโรงพยาบาล
- หากมีการสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ลูกจ้างไปเกิน ทั้งกรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ไม่เข้าร่วมกองทุนทดแทน และกรณีค่ารักษาพยาบาลเกินจากยอดที่กำหนด 50,000 บาท ให้นายจ้างยื่นคำร้องขอเบิกค่ารักษาพยาบาลคืนที่กองทุนภายใน 90 วัน
ลูกจ้างควรรู้สิทธิ์ในกองทุนทดแทนของตนเองที่มาจากการส่งเงินสมทบของนายจ้าง เพื่อให้ไม่เสียสิทธิ์หากได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ควรละเลยทำประกันภัยสุขภาพเพิ่มเติมเพื่อความคุ้มครองนอกเหนือจากสวัสดิการบริษัท เช่น ประกันภัย Officer Care ที่สามารถเบิกได้ทั้ง IPD และ OPD แต่หากไม่เบิก IPD สามารถรับเป็นเงินชดเชยรายได้สูงสุด 1,000 บาท/วัน* นอกจากนั้นฟรีแลนซ์ที่ไม่ได้รับสวัสดิการจากบริษัทก็ไม่ควรละเลยปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดจากการทำงาน ซึ่งอาจจะพิจารณาทำประกันภัย Owner Care ที่ให้ค่ารักษาพยาบาลทั้ง IPD และ OPD ให้ความคุ้มครองสูงสุดถึง 1 ล้านบาท/ปี* พร้อชดเชยรายได้สูงสุด 1,000 บาท/วัน* ฮักส์ยังมีประกันภัยอื่น ๆ ที่น่าสนใจ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855