เงินชดเชยรายได้ประกันสังคม มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
เขียนเมื่อวันที่ 25/08/2021
ช่องทางเยียวยาโควิดจากเงินประกันสังคม
ประกันสังคมเป็นการทำประกันภัยแบบกลุ่ม โดยนายจ้างและลูกจ้างจะส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน เมื่อผู้ประกันตนได้รับผลกระทบทั้งเรื่องเงินเดือนและด้านสุขภาพอันเป็นผลมาจากงานที่ทำอยู่ เช่น ออฟฟิศซินโดรม ถูกเลิกจ้าง ประสบอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน ผู้ประกันตนจะสามารถรับเงินเยียวยาตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ได้ การเข้าใจเรื่องเงินชดเชยประกันสังคมจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับมนุษย์เงินเดือน
ลักษณะของผู้ประกันตนประกันสังคมมาตราต่าง ๆ
ประกันสังคมจะแบ่งผู้ประกันตนออกเป็น 3 กลุ่มเรียกแยกเป็นมาตราต่าง ๆ โดยผู้ประกันตนแต่ละมาตราจะมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
- มาตรา 33
ผู้ประกันตน ม.33 เป็นผู้ประกันตนที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่นายจ้างมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป และส่งเงินสมทบประกันสังคมทุกเดือน ผู้ประกันตนจะได้รับการคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ กรณีคลอดบุตร กรณีเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาจากสถานพยาบาล กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน
- มาตรา 39
ผู้ประกันตน ม.39 จะเป็นผู้ประกันตนใน ม.33 มาก่อนแล้วลาออกจากงาน แต่ยังคงส่งเงินสมทบประกันสังคมเพื่อรักษาสิทธิ์ โดยต้องส่งเงินประกันสังคมไม่น้อยกว่า 12 เดือนก่อนลาออก และยื่นเรื่องขอส่งเงินประกันสังคมหลังจากออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน ผู้ประกันตนจะได้รับการคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ กรณีคลอดบุตร กรณีเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาจากสถานพยาบาล กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ
- มาตรา 40
ผู้ประกันตน ม.40 เป็นผู้ประกันตนที่ประกอบอาชีพอิสระ และอาชีพที่ไม่มีประกันสังคมเป็นสวัสดิการ สามารถยื่นเรื่องขอสมัครประกันสังคมด้วยตนเองได้ ค่าเบี้ประกันจะขึ้นอยู่กับผู้เอาประกัน โดยค่าเบี้ยยิ่งสูงจะยิ่งได้รับการคุ้มครองมาก มีการคุ้มครองสูงสุด 5 กรณี ได้แก่ กรณีเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาจากสถานพยาบาล กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ
การมีประกันสังคมช่วยในเรื่องค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ทำให้มีเงินชดเชยรายได้แม้ต้องหยุดงาน การมีประกันสังคมไว้จึงอุ่นใจกว่า บางคนอาจจะมีประกันภัยสุขภาพเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความอุ่นใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
เงื่อนไขการรับเงินชดเชยรายได้ประกันสังคม
ผู้ที่ได้รับสิทธิเยียวยาจากประกันสังคมจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด ดังนี้
- เป็นผู้ถือสัญชาติไทย
- ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 – 12 เดือนตามเงื่อนไขการเยียวยา
- เป็นผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 33, 39 หรือ 40
ข้อมูลข้างต้นเป็นคุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้มีสิทธิ์ได้รับการชดเชยรายได้จากประกันสังคม หากมีการชดเชยรายได้ในกรณีพิเศษในช่วงโควิด ประกันสังคมอาจจะมีการระบุคุณสมบัติผู้ได้รับสิทธิ์เพิ่มเติม เช่น อาศัยอยู่ในพื้นที่สีแดง มีผู้ป่วยโควิดในครอบครัว หรือเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เหมาะสม ควรติดตามข่าวสารการรับเงินชดเชยรายได้อย่างใกล้ชิด
เงินชดเชยรายได้ในช่วงโควิด-19
เงินชดเชยรายได้ประกันสังคมสำหรับช่วยเหลือผู้ประกันตน
ช่วงโควิด-19 กำลังระบาดในหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจ หลายคนประสบปัญหาโดนลดเงินเดือน เลิกจ้างงาน หรือนายจ้างปิดกิจการ เงินชดเชยรายได้จึงเป็นอีกช่องทางที่ช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เงินเยียวยาในช่วงโควิดที่ควรรู้มีดังนี้
เงินเยียวยาจากภาครัฐ
เงื่อนไขรับสิทธิ์ : อยู่ในกลุ่มเสี่ยงตามที่ภาครัฐกำหนด
รัฐบาลจัดสรรเงินเยียวยาสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ประชาชนต้องตรวจสอบสิทธิ์ด้วยตนเองและติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ล่าสุดเงินเยียวยาที่ได้คือเงินชดเชยรายได้สูงสุด 5,000 บาท สำหรับผู้ที่อาศัยในพื้นที่สีแดงและประกอบอาชีพใน 9 กลุ่มที่ได้รับผลกระทบร้ายแรง และเงินชดเชยรายได้ 2,500 บาท สำหรับผู้ที่อยู่ในพื้นที่สีแดง แต่ไม่ได้อยู่ใน 9 อาชีพที่ได้รับผลกระทบร้ายแรง
เงินชดเชยรายได้ว่างงาน
เงื่อนไขรับสิทธิ์ : ออกจากงานด้วยความสมัครใจ ถูกเลิกจ้าง หรือเจ้าของปิดกิจการ
ประกันสังคมมีเงินสำหรับกรณีว่างงานอยู่แล้ว โดยจะได้รับการยื่นเรื่องกับประกันสังคมหลังออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน สามารถยื่นผ่านประกันสังคมออนไลน์ได้ ผ่านแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ sso.go.th ของสำนักงานประกันสังคมได้โดยตรง เงินชดเชยรายได้ที่ได้รับจะไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินเดือน คิดจากเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท
เงินชดเชยลาป่วยเกิน 30 วัน
เงื่อนไขรับสิทธิ์ : ลาป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์แสดงอาการป่วย และเห็นควรให้พักรักษาตัวเกิน 30 วัน
ปกติองค์กรจะอนุญาตให้พนักงานลาป่วยโดยยังคงได้รับเงินเดือนสูงสุด 30 วัน แต่หากเกินกว่านั้น เช่น เจ็บป่วยเป็นโควิดที่รักษานานเกิน 30 วัน ประกันสังคมจะชดเชยรายได้ให้ร้อยละ 50 ของเงินเดือน สูงสุดครั้งละ 30 วันและไม่เกิน 180 วัน/ปี ยกเว้นเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเอดส์ โรคไตวาย โรคมะเร็ง ที่สามารถรับเงินชดเชยได้สูงสุด 365 วัน/ปี
การมีประกันสังคมช่วยเพิ่มความอุ่นใจ แต่ในช่วงที่โควิดกำลังระบาด การเตรียมตัวให้พร้อมเผื่อเหตุฉุกเฉินด้วยประกันภัยโควิดหรือประกันภัยสุขภาพสำหรับมนุษย์เงินเดือนก็ไม่ควรมองข้าม เช่น ประกันภัย Officer Care ที่ชดเชยรายได้สูงสุด 1,000 บาท/วัน ในกรณีที่ไม่เบิก IPD เหมาะสำหรับคนที่มีประกันภัยหลายตัว สามารถเบิกค่า IPD จากที่อื่น แล้วชดเชยรายได้กับประกันภัยตัวนี้ได้ หรือใครกำลังมองหาประกันภัยอื่น ๆ ฮักส์สามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับประกันภัยที่ตอบสนองต่อความต้องการได้ สามารถปรึกษาได้หลายช่องทางทั้ง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855 เพื่อความพร้อมในเรื่องสุขภาพหากเจ็บป่วยขึ้นมาในช่วงสายพันธุ์โควิดมีมากมายกระจายอยู่ในอากาศเช่นนี้
อ้างอิงข้อมูล: กองทุนประกันสังคม