loading
อาการแพ้ยาเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต

อาการแพ้ยาเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต

เขียนเมื่อวันที่ 19/07/2021

แจ้งอาการแพ้ยาทุกครั้ง ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

ยาเป็นสิ่งที่ใช้ป้องกันโรคและบำรุงร่างกาย สรรพคุณของยาจะแตกต่างกันไปตามสารที่ใช้สกัด ซึ่งควรมีคุณสมบัติที่ส่งเสริมสุขภาพของร่างกายด้านใดด้านหนึ่ง มีทั้งยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ และยาจากแพทย์ทางเลือก ในบางคนยากลับเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงเพราะอาการแพ้ แพทย์จึงต้องสอบถามประวัติการแพ้ยาจากผู้ป่วยเสมอ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น

อันตรายจากการแพ้ยา

การแพ้ยา (Drug Allergy) เป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ต่อต้านยาที่ได้รับ โดยแสดงออกมาเป็นอาการผิดปกติต่าง ๆ หากการแพ้นั้นรุนแรงอาจมีอันตรายถึงชีวิต สามารถเกิดได้กับทุกคนและเกิดได้กับยาทุกชนิดทั้งยาทา ยากิน ยาฉีด และยาสำหรับสูดดม อาการแพ้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ 

  • อาการแพ้แบบเฉียบพลัน 

เป็นการแพ้ที่เกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากได้รับยา ผู้ได้รับยามักไม่รู้ว่าตนเองแพ้ยาชนิดดังกล่าวมาก่อน และไม่รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากมีอาการแพ้ ซึ่งมีโอกาสถึงขั้นเสียชีวิต

  • อาการแพ้แบบไม่เฉียบพลัน

เป็นอาการแพ้ที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับยาเกิน 1 ชั่วโมงขึ้นไป มักเป็นอาการแพ้ที่รุนแรงน้อยกว่า โดยอาการแพ้จะค่อย ๆ เกิดขึ้นทำให้มีเวลาในการรักษา

อาการแพ้ยามักเกิดขึ้นกับยาที่ไม่เคยใช้มาก่อน เช่น แพ้วัคซีนโควิด เป็นวัคซีนที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งถือเป็นโรคอุบัติใหม่ โอกาสที่จะแพ้ยาจึงสูง เมื่อมีการสั่งยาที่ไม่เคยใช้ไม่ว่าจะเพื่อกิน ทา ฉีด หรือดมจึงควรสังเกตอาการหลังการใช้ยาเสมอ

อาการแพ้ยาที่พบบ่อยและการรักษา

คนกำลังกินยา

ยาบางชนิดอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้

หลังจากได้รับยาเข้าสู่ร่างกายแล้ว ควรสังเกตอาการตัวเอง โดยเฉพาะตัวยาใหม่ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เมื่อฉีดวัคซีนโควิดแล้วจะต้องเฝ้าดูอาการหลังฉีด 30 นาทีก่อนกลับบ้าน เพื่อป้องกันการแพ้ยาเฉียบพลัน ผู้ได้รับยาสามารถสังเกตอาการตัวเองได้เช่นกัน อาการแพ้ยาที่พบบ่อยมี ดังนี้

อาการแพ้เล็กน้อย

เป็นอาการแพ้ที่ไม่ส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บร้ายแรง มักหายไปเองเมื่อหยุดยาหรือรับยาตัวใหม่ไปใช้แทน อาการที่มักพบ ได้แก่ 

  • เกิดลมพิษ มีลักษณะเป็นผื่นแพ้ยา เกิดเป็นรอยแดงปื้นตามร่างกาย เมื่อจับดูจะสัมผัสถึงความไม่เรียบเนียนของผิวหนัง
  • มีตุ่มใสตามร่างกาย เป็นผื่นน้ำหรือตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ อาจมีอาการคันร่วมด้วย
  • มีอาการบวม - ใบหน้า ริมฝีปาก และลิ้นมีอาการบวมอย่างเห็นได้ชัด 

อาการแพ้ปานกลาง

เป็นอาการแพ้ที่มีความรุนแรงมากขึ้นควรรีบพบแพทย์ แต่ยังไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต อาการที่มักพบ ได้แก่

  • แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก รู้สึกเจ็บแปลบบริเวณทรวงอก หายใจลำบากขึ้น อาจมีอาการคอบวมร่วมด้วย
  • มีอาการใจสั่น รู้สึกหัวใจเต้นไม่คงที่ อาจเต้นเบาหรือแรงเกินไป ร่างกายขาดสมดุล มีอาการหน้ามืด
  • คลื่นไส้ อาเจียน  รู้สึกไม่สบายท้อง ระบบภายในทำงานปั่นป่วน หน้ามืด วิงเวียน อยากอาเจียนหรือรู้สึกคลื่นไส้รุนแรง

อาการแพ้รุนแรง

เป็นอาการแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่รีบพบแพทย์ทันที อาการที่มักพบ ได้แก่

  • ชีพจรเต้นเบาและเร็ว อัตราการเต้นของชีพจรเปลี่ยนไป ร่างกายทำงานหนักขึ้น ผู้รับยาอาจหมดสติและเสียชีวิตได้
  • ความดันโลหิตต่ำ การสูบฉีดเลือดลดลง เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ไม่ทัน รู้สึกวิงเวียน หน้ามืด หูอื้อ และหมดสติได้ง่าย
  • เกิดภาวะหยุดหายใจชั่วขณะ ต้องรีบปั๊มหัวใจและนำส่งโรงพยาบาลทันที 

การแพ้ยานี้สามารถเกิดได้กับยาที่เคยรับมาก่อนได้เช่นกัน เพราะบางครั้งอาการแพ้ไม่ได้เกิดขึ้นในครั้งแรกที่รับยา แต่จะรู้สึกแพ้เมื่อรับยาครั้งต่อมา จึงควรสังเกตอาการตนเองทุกครั้งที่มีการรับยาเข้าสู่ร่างกาย

 

วิธีรับมือการแพ้ยาเบื้องต้น

เมื่อเกิดอาการแพ้ยาขึ้นควรรู้วิธีแก้ไขเบื้องต้น ซึ่งหากแพ้ยาไม่รุนแรงจะสามารถหายได้เองในเวลาไม่กี่วัน แต่ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อไป โดยมีแนวทางในการปฏิบัติเมื่อเกิดอาการแพ้ยา ดังนี้

  • หยุดใช้ยาทันทีเมื่อมีอาการแพ้ยา
  • บันทึกอาการแพ้ยา หรือถ่ายรูปผื่นเก็บไว้สำหรับให้แพทย์วินิจฉัย
  • เก็บตัวอย่างยาหรือนำยาติดตัวไปด้วย
  • จดชื่อยาที่แพ้สำหรับแจ้งแพทย์ผู้จ่ายยาในครั้งต่อ ไป

การพบแพทย์เมื่อแพ้ยาจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจหาชนิดของยาที่แพ้ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนประกอบของสารนั้น ๆ เพราะองค์ประกอบของยามีชื่อเรียกที่บุคคลทั่วไปอาจไม่คุ้นหู การพบแพทย์และรับรู้ชื่อยาที่แพ้จะช่วยให้ในอนาคตสามารถหลีกเลี่ยงยาชนิดนั้นได้ แต่เรื่องการแพ้ยาเป็นเรื่องที่ยากจะคาดเดา จึงควรมีประกันภัยสุขภาพเอาไว้เพื่อช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่าย เมื่อต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เช่น ประกันภัยวิริยะ อุ่นใจรักษ์ โกลด์ (แผน1) ที่ให้ค่ารักษาพยาบาลจ่ายตามจริง วงเงินคุ้มครองสูงสุดถึง 600,000 บาท/ปี* มีค่าห้องผู้ป่วยให้ในกรณีที่ต้องนอนโรงพยาบาลสูงสุด 6,000 บาทวัน* หรือหากสนใจปรึกษาเรื่องประกันภัยตัวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการแพ้ยาก็สามารถปรึกษาฮักส์ได้ทุกช่องทาง ทั้ง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855 เพราะฮักส์คือโบรกเกอร์ประกันภัยที่ไว้ใจได้


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+