loading
5 อาการปวดหัวบอกโรค รีบเช็คตัวเองก่อนเป็นหนัก

5 อาการปวดหัวบอกโรค รีบเช็คตัวเองก่อนเป็นหนัก

เขียนเมื่อวันที่ 14/07/2021

อาการปวดหัวเสี่ยงป่วยเป็นโรคอะไรได้บ้าง

หลายคนคงเคยเกิดอาการปวดศีรษะและในบางครั้งก็ปวดแบบไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาการปวดหัวมีมากกว่า 150 ประเภท โดยที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ปวดหัวจากภาวะตึงเครียด ปวดหัวไมเกรน ปวดหัวเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งเป็นโรคฮิตติดเทรนด์ ที่มาพร้อมไลฟ์สไตล์ใหม่ของคนยุคนี้ แต่รู้หรือไม่อาการปวดหัวบางประเภทสามารถบ่งบอกความผิดปกติของร่างกาย ที่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคได้แบบไม่รู้ตัว และหากเกิดอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ผู้หญิงปวดศีรษะข้างเดียว

อาการปวดหัวข้างเดียว

ปวดหัวบริเวณขมับ 

หากเกิดอาการปวดหัวข้างเดียว ร่วมกับมีอาการปวดร้าวบริเวณกระบอกตา เป็นสัญญาณเตือนของอาการปวดหัวไมเกรน ในผู้ป่วยบางรายมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร และปวดท้องร่วมด้วย อาการปวดหัวไมเกรนส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง แต่อาการที่รุนแรงอาจเกิดขึ้นได้นานกว่า 3 วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาไมเกรนให้หายขาด แต่การทานยาสามารถช่วยป้องกันหรือหยุดยั้งไม่ให้อาการแย่ลงได้ การผ่อนคลายความเครียดและการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคไมเกรนได้เช่นกัน

ปวดหัวบริเวณรอบศีรษะ

ถือเป็นอาการปวดศีรษะจากความตึงเครียดหรือโรคเครียด เป็นอาการปวดศีรษะที่พบบ่อยในผู้ใหญ่และวัยรุ่น เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อบริเวณคอและหนังศีรษะตึงหรือหดตัว โดยการหดตัวของกล้ามเนื้อเป็นการตอบสนองต่อความเครียด ภาวะซึมเศร้า การบาดเจ็บที่ศีรษะหรือความวิตกกังวล อาการปวดศีรษะจากโรคเครียดมีตั้งแต่ระดับไม่รุนแรง ระดับปานกลาง ไปจนถึงระดับการปวดหัวที่รุนแรง หากปวดหัวในกรณีที่รุนแรงควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจว่าเกิดจากสาเหตุอื่นหรือไม่ เช่น เนื้องอกในสมอง

ปวดศีรษะแบบรุนแรงที่บริเวณด้านใดด้านหนึ่ง

อาการเช่นนี้เรียกว่าการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ เป็นความผิดปกติทางระบบประสาทที่จะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงซ้ำ ๆ ที่ด้านใดด้านหนึ่ โดยทั่วไปจะอยู่บริเวณรอบดวงตาและมักจะมีอาการแสบตาคัดจมูก หรือบวมบริเวณตาข้างที่มีอาการปวดร่วมด้วย การปวดหัวแบบคลัสเตอร์พบได้บ่อยในผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงที่เกิดอาการปวดหัวคลัสเตอร์จะมีความรู้สึกไวต่อแอลกอฮอล์และนิโคตินมากขึ้น แม้ดื่มเพียงเล็กน้อยก็ทำให้ปวดหัวได้

ปวดหัวเรื้อรัง

เกิดอาการปวดหัวติดต่อกันนาน 15 วันขึ้นไปหรือเป็นเดือน สามารถเกิดอาการปวดได้ทั้งแบบระยะเวลาสั้น หรือ ปวดหัวแบบระยะยาวต่อเนื่องหลายชั่วโมง อาการปวดหัวเรื้อรังมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภทของอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งแพทย์ไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของการปวดหัวแบบเรื้อรังได้ โดยอาจเกิดขึ้นได้จาก ความเครียด การเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนบางชนิด เป็นต้น รวมถึงปัจจัยการดำเนินชีวิตหรือสภาพแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การใช้คาเฟอีนหรือดื่มกาแฟมากเกินไป การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นต้น

ปวดหัวแบบเป็น ๆ หาย ๆ 

การปวดหัวแบบเป็น ๆ หาย ๆ และมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในบางครั้ง หรือมีความรุนแรงขึ้นในช่วงกลางคืน มีความเสี่ยงเกิดจากเนื้องอกในสมอง ที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติบริเวณเซลล์สมอง และกระทบกับการทำงานของระบบสมอง จนเกิดอาการปวดศีรษะบ่อย ๆ ปวดหัวเรื้อรัง และอาจปวดรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ร่วมกับคลื่นไส้ สายตาพร่าเบลอ มีปัญหาในการสื่อสาร หรืออาจรุนแรงจนเกิดอาการชัก

 

ผู้หญิงมีอาการปวดหัว

อาการปวดหัวบริเวณรอบดวงตา

อาการปวดศีรษะอาจมองว่าไม่เป็นอันตราย แต่อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนของการเจ็บป่วยได้หลากหลายโรค เพราะฉะนั้นหากเกิดอาการปวดศีรษะในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นการปวดศีรษะชนิดใด และสามารถรักษาหรือบรรเทาอาการได้อย่างไร อีกสิ่งที่สำคัญในการดูแลร่างกายเบื้องต้นคือการเลือกทำประกันภัยสุขภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉินให้คุณอุ่นใจทั้งเรื่องของค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง และความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่คุณเลือกทำ ฮักส์มีประกันภัยสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการสำหรับคนยุคใหม่ที่หลากหลาย ยินดีให้คำแนะนำการเลือกทำประกันภัยให้เหมาะสมกับความต้องการในการรับความคุ้มครอง สามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855 

อ้างอิงข้อมูลจาก : webmd.com, โรงพยาบาลเพชรเวช


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+