loading
ปวดท้องประจําเดือน ภัยเงียบที่อันตราย

ปวดท้องประจําเดือน ภัยเงียบที่อันตราย

เขียนเมื่อวันที่ 19/07/2021

ระวังปวดท้องน้อยในผู้หญิงอันตรายกว่าที่คิด

อาการปวดท้องมีต้นเหตุมาจากหลายสาเหตุ และสำหรับผู้หญิงอาจจะมาจากการมีประจำเดือน ซึ่งบางคนจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ถือเป็นอาการปกติของการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกเพื่อขับเลือดออกมา แต่บางครั้งอาการปวดท้องนี้อาจเป็นอะไรมากกว่าการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกซึ่งอันตรายกว่าที่คิดหากไม่ระวังให้ดี

ทำความรู้จักอาการ PMS ก่อนมีประจำเดือน

คำว่า PMS มาจากภาษาอังกฤษว่า Premenstrual Syndrome หมายถึงการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และร่างกายในช่วงใกล้จะมีประจำเดือน อาการ PMS นี้มีที่มาจากเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในเพศหญิง ประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความเครียดสะสม การขาดสารอาหารบางชนิด สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดความแปรปรวนทางร่างกายและอารมณ์ก่อนมีประจำเดือน

  • ความแปรปรวนทางร่างกาย: เกิดความรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว คัดหน้าอก ตัวบวมขึ้น สิวขึ้น นอนไม่หลับ หรือนอนมากผิดปกติ
  • ความแปรปรวนทางอารมณ์: เกิดความวิตกกังวล โมโหง่าย ขี้หงุดหงิด รู้สึกเศร้ากับเรื่องเล็ก ๆ ง่ายขึ้น มีความกระวนกระวายใจ

อาการ PMS ถือเป็นอาการปกติในช่วงก่อนมีประจำเดือน บางคนอาจจะมีอาการต่อเนื่องจนถึงช่วงมีประจำเดือน แต่ก็ควรหมั่นสังเกตตัวเองเสมอ เพราะอาการ PMS สามารถพัฒนาเป็นอาการ PMDD ที่เป็นกลุ่มอาการขาดการควบคุมอารณ์ตัวเอง รู้สึกไร้คุณค่า ส่งผลให้อยากฆ่าตัวตาย หรืออยากฆ่าผู้อื่น หากพบว่าตัวเองควบคุมตนเองได้น้อยลงควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

อาการปวดท้องขณะมีประจำเดือน

หลังจากอาการ PMS แล้วมักจะมีประจำเดือนมา อาการปวดก็เข้ามาแทนที่เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน อาการปวดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้หญิงส่วนมากมักพบเจอกับอาการปวดในช่วงมีประจำเดือน อาการปวดท้องประจำเดือนแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

อาการปวดท้องปฐมภูมิ

สาเหตุ: 

การมีสาร Prostaglandin ในช่วงมีประจำเดือน

อาการ:

  • ปวดท้องเริ่มต้นจากบริเวณอุ้งเชิงกรานเป็นต้นไป
  • ลักษณะอาการปวดแบบบีบ
  • มักเกิดอาการในช่วงเวลา 24-48 ชั่วโมงหลังประจำเดือนมา
  • อาจจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดร้าวบริเวณต้นขา ปวดหลัง คลื่นไส้ อาเจียน
  • ตรวจภายในแล้วไม่พบความผิดปกติ

อาการปวดท้องแบบปฐมภูมิเป็นภาวะปกติในช่วงมีประจำเดือน แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันไป โดยสาร Prostaglandin จะหลั่งที่เยื่อบุมดลูกในช่วงมีประจำเดือนและส่งผลต่อมดลูกโดยตรง ทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยขณะมีการบีบเลือดประจำเดือนออกมา ไม่ถือเป็นอาการปวดที่แสดงความผิดปกติของร่างกายแต่อย่างใด

อาการปวดท้องทุติยภูมิ 

สาเหตุ:

โรคต่าง ๆ ที่เกิดในมดลูก โดยมีโรคสำคัญ ๆ ดังนี้

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือช็อกโกแลตซีสต์
  • เนื้องอกมดลูก
  • มะเร็งรังไข่
  • พังผืดในช่องท้อง
  • ปากมดลูกตีบ
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก

อาการ:

  • ปวดมากผิดปกติ รับประทานยาก็ไม่ดีขึ้น
  • เลือดประจำเดือนมามากและมีสีคล้ำ
  • มีตกขาว อาจมีอาการคันร่วมด้วย
  • ปวดท้องน้อยบ่อยครั้ง แม้ไม่ใช่ช่วงมีประจำเดือน

การปวดท้องแบบทุติยภูมิมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการทำงานของมดลูก ข้อควรระวังพิเศษ คือ อาการปวดท้องเรื้อรังและประจำเดือนมามากหรือน้อยผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อหาสาเหตุ เพราะอาการปวดท้องประจำเดือนอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคที่เกิดในมดลูก หากร้ายแรงอาจถึงขั้นเป็นมะเร็งได้ แต่ถ้ารู้ตัวก่อนจะได้รักษาได้ทันเวลา

 

การบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน

คนประคบถุงน้ำร้อนที่ท้อง

ถุงร้อนช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

เมื่อปวดท้องจำเดือนควรทำอย่างไรดีในการบรรเทาอาการปวด เพราะอาการปวดประจำเดือนนี้มีความรุนแรงเทียบเท่าการปวดท้องคลอดเลยทีเดียว แนวทางในการบรรเทาอาการปวดท้องสามารถทำได้ ดังนี้

บรรเทาอาการแบบไม่ใช้ยา

การรักษาโดยไม่ใช้ยา ทำได้โดยการดูแลตัวเองให้แข็งแรง เช่น การออกกำลังกายโดยเน้นประเภทโยคะ พักผ่อนให้เพียงพอ งดอาหารที่มีไขมันสูงในช่วงก่อนมีประจำเดือน หากยังคงมีอาการปวดท้องประจำเดือนอยู่ให้ใช้ถุงน้ำร้อนประคบ หรือใช้การรักษาโดยแพทย์ทางเลือกอย่างการฝังเข็มกระตุ้นเส้นประสาท

บรรเทาอาการแบบใช้ยา

หากวิธีการรักษาโดยไม่ใช้ยาไม่ได้ผล หรือต้องการใช้ยาควบคู่ไปด้วยเพื่อลดอาการปวดก็สามารถเลือกตัวยาได้จากประเภทยา 2 กลุ่ม คือ ยาแก้ปวดทั่วไป เช่น พอนสแตน ยาพาราเซตามอล หรือจะเลือกรับประทานยาอีกกลุ่มอย่างยาฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด เพื่อปรับฮอร์โมนให้สมดุล บรรเทาอาการปวดก็ได้เช่นกัน

การรักษาโดยการผ่าตัด

การผ่าตัดนิยมใช้ในกรณีที่มดลูกมีความผิดปกติ เพื่อแก้ปัญหาปวดท้องประจำเดือนอย่างถาวร เช่น การตัดมดลูก ในกรณีที่เป็นเนื้องอกในมดลูก การตัดมดลูกจะทำให้ไม่มีประจำเดือน แต่การสร้างฮอร์โมนยังคงเป็นปกติ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตรหรือมีบุตรเพียงพอแล้ว ก่อนการรักษาโดยการผ่าตัดควรผ่านการปรึกษากับแพทย์มาอย่างดีแล้วเท่านั้น เพราะมดลูกในผู้หญิงมีความสำคัญต่อการสร้างฮอร์โมนและการให้กำเนิดบุตร

สรุปได้ว่าอาการปวดท้องประจำเดือนเป็นเรื่องปกติ แต่หากอาการปวดมากผิดปกติและปวดติดต่อกันเกิน 3 วัน ร่วมด้วยลักษณะของประจำเดือนที่ผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ เพราะอาการปวดท้องประจำเดือนอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายอย่างมะเร็งได้ หากรักษาเร็วก็มีโอกาสหาย ซึ่งในการรักษานี้ก็มักจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง จึงควรมีประกันภัยสุขภาพที่ช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายทั้งค่าตรวจสุขภาพและค่ารักษา เช่น ทิพยประกันภัย Health Care 25,000 ที่คุ้มครองครบทั้งค่ารักษาผู้ป่วยนอก OPD และผู้ป่วยใน IPD พร้อมค่าตรวจสุขภาพและค่าบริการทันตกรรมให้อีกด้วย หมดกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้เลย หรือหากสนใจดูประกันภัยสุขภาพแบบอื่น ๆ ก็สามารถปรึกษาฮักส์ได้ง่าย ๆ หลายช่องทางทั้ง Line Facebook หรือโทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : Phyathai


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ฮักส์ประกันสุขภาพ

#ประกันสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+