6 แมลงมีพิษที่ต้องระวังช่วงหน้าฝน
เขียนเมื่อวันที่ 10/07/2021
ป้องกันแมลงสัตว์กัดต่อยช่วงหน้าฝน
อาการเจ็บป่วยไม่ได้จำเพาะเจาจะเฉพาะการเกิดจากเชื้อไวรัสเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดจากการได้รับพิษเข้าสู่ร่างกาย ทั้งจากพืชบางชนิดและแมลงมีพิษชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนที่นอกจากโรคตามฤดูกาลแล้ว ยังมีสัตว์มีพิษหลายชนิดย้ายถิ่นที่อยู่ชั่วคราวเพื่อเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วมขัง แมลงมีพิษช่วงหน้าฝนจึงมีมาก ทำให้บ้านคนที่หลังคามิดชิดและมีมุมอับถูกใช้เป็นที่พักชั่วคราวของสัตว์มีพิษเหล่านี้ และหากไม่ระวังอาจถูกพวกมันกัดต่อยจนบาดเจ็บได้
ประเภทแมลงมีพิษในประเทศไทย
แมลงมีพิษกระจายอยู่ทั่วไปทุกภูมิภาคของโลก ในประเทศไทยมีแมลงมีพิษที่เป็นอาศัยอยู่ในพื้นที่เช่นกัน โดยมากจะเป็นแมลงที่สามารถทนต่ออากาศร้อนชื้นได้เป็นอย่างดี สามารถจำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
- แมลงที่มีปีก (Pterygota)
เป็นแมลงที่มีปีก 1 – 2 คู่ติดอยู่กับลำตัว โดยปีกจะมีลักษณะเหมือนหรือต่างกันก็ได้ เช่น แมลงปอ แมลงวัน แมลงสาบ ซึ่งบางชนิดเป็นแมลงมีพิษบินได้ที่ควรระวัง
- แมลงที่ไม่มีปีก (Apterygota)
เป็นแมลงที่มีรูปร่างเด่นชัดตามลักษณะเฉพาะ เช่น แมลงประเภทมีหางดีด แมลงที่มีง่ามบนหัว หรือแมลงที่มีข้อปล้องตามลำตัว
แมลงมีทั้งที่มีพิษและไม่มีพิษบางชนิดไม่ทำร้ายคนก่อน แต่หากมีการรุกรานที่อยู่ก็จะสร้างพิษขึ้นมาปกป้องตัวเอง หากพบเห็นรังของแมลงที่ไม่คุ้น ห้ามเคลื่อนย้ายโดยทันที แต่ควรสอบถามผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ
อาการแพ้ที่เกิดจากแมลงมีพิษ
พิษของแมลงมาจากการส่งต่อพิษเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์โดยวิธีการวิธีการหนึ่ง เช่น การกัดหรือต่อย เป็นการส่งพิษเข้าสู่ร่างกายโดยตรงและฝังพิษไว้ในร่างกาย หรืออาจจะใช้วิธีกระจายพิษผ่านการสัมผัส สามารถจำแนกอาการเป็นพิษได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
อาการทางร่างกายหรือผิวหนัง
เป็นอาการที่แสดงออกมาภายนอก สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าชัดเจน เกิดขึ้นเมื่อรับพิษของแมลงโดยตรง อาการหลัก ๆ เช่น
- การบวมแดง
- การปวดแสบปวดร้อน
- การเกิดผื่นคัน
- การมีเลือดออกบริเวณที่โดนพิษ
- การมีแผลพุพอง
- การเกิดลมพิษหรือการมีเลือดออกที่อวัยวะภายในเนื่องจากพิษ
อาการแพ้ภายในร่างกาย
เป็นลักษณะอาการที่รุนแรงกว่าอาการที่แสดงออกภายนอกร่างกาย เพราะพิษของแมลงส่งผลโดยตรงต่อภูมิคุ้มกันร่างกาย หากรักษาไม่ทันอาจอันตรายถึงชีวิตได้ ตัวอย่างอาการแพ้หลังได้รับพิษ
- การไอไม่หยุดและหายใจไม่ทัน
- เกิดอาการชาทั้งบริเวณที่โดนพิษและบริเวณอื่น ๆ ทั่วร่างกาย
- เกิดปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เช่น สูญเสียการรับรสชาติ รับประทานอาหารลำบากขึ้น
- รู้สึกคลื่นไส้ อยากอาเจียนตลอดเวลา
- การเป็นลม
- มีอาการท้องเสีย
- ความดันโลหิตต่ำลงอย่างรวดเร็ว
การโดนพิษไม่ว่าจะจากสัตว์ชนิดใด ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อป้องกันพิษเข้าไปทำลายระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
6 แมลงมีพิษที่พบมากในหน้าฝน
ช่วงหน้าฝนแบบนี้มักจะมีแมลงบางชนิดที่แวะเวียนมาประจำเพื่อหนีน้ำฝนที่ท่วมบริเวณรัง และบ่อยครั้งแมลงพวกนี้ก็สร้างบาดแผลให้เจ้าของบ้านไม่น้อย แมลงที่ควรระวังช่วงหน้าฝน ได้แก่
- แมลงก้นกระดก
อาการ: มีผื่นแดงเป็นรอยยาวและปวดแสบปวดร้อน
แมลงก้นกระดกมีพิษอยู่ในลำตัว
แมลงก้นกระดกจะมีพิษพีเดอรินอยู่ในร่างกาย เมื่อเผลอไปสัมผัสหรือบีบตัวแมลงก้นกระดกจนแตกจะทำให้พิษสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง และเป็นรอยแดงได้ มักเกิดอาการหลังได้รับพิษแล้ว 8 – 12 ชั่วโมง
- ยุงลาย
อาการ: คันบริเวณที่โดนกัดและมีตุ่มแดง
ยุงลายปล่อยพิษเข้าสู่ร่างกายขณะดูดเลือด
ยุงลายเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคที่พบมากในเด็กช่วงหน้าฝน เพราะมีแหล่งน้ำขังเยอะ เหมาะแก่การวางไข่ ยุงลายจะปล่อยพิษผ่านน้ำลายทำให้เกิดอาการคัน และดูดเลือดจากคน ระหว่างดูดเลือดหากมีพาหะโรคไข้เลือดออกก็จะส่งเชื้อเข้าสู่ร่างกายด้วย
นอกจากสัตว์ที่เป็นแมลงตัวเล็ก ๆ แล้วยังมีสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่มีพิษและพบมากช่วงหน้าฝน มักจะซ่อนตัวอยู่บริเวณมุมอับของบ้าน หากเผลอไปโดนอาจจะบาดเจ็บหรือเกิดอาการแพ้ได้
- กิ้งกือ
อาการ: รู้สึกแสบและผิวไหม้บริเวณที่โดนพิษ
กิ้งกือมีพิษบริเวณผิวหนัง
กิ้งกือเป็นสัตว์ที่พบเห็นได้บ่อย มักเลื้อยเข้ามาหลบฝนในบ้าน โดยปกติกิ้งกือจะไม่กัดคน แต่มีส่วนผิวหนังที่เป็นพิษ เมื่อสัมผัสโดนตัวกิ้งกือผิวหนังของมันจะปล่อยสารพิษลักษณะของเหลวใสออกมา ทำให้รู้สึกแสบและอาจทำให้ผิวไหม้ได้
- ตะขาบ
อาการ: มีความรู้สึกร้อนชา เลือดออกบริเวณที่โดนกัด
ตะขาบจะมีเขี้ยวพิษในการกัด
ตะขาบเป็นสัตว์ที่ข้อปล้องยาวตลอดลำตัว มีพิษอยู่บริเวณเขี้ยว เมื่อกัดจะส่งพิษเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็วคล้ายงู มีโอกาสแพ้พิษสูง
- แมงป่อง
อาการ: ปวดบริเวณที่โดนต่อยและมีอาการบวมแดงตามมา พิษจะออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อหัวใจ
แมงป่องมีก้ามและหางที่สร้างความเจ็บปวดได้
แมงป่องเป็นสัตว์ที่ชอบอาศัยอยู่ในที่ชื้นและเย็น มักพบเจออยู่ในห้องน้ำหรือห้องครัว แต่เมื่อน้ำท่วมขังก็จะออกจากที่หลบภัยเพื่อหนีน้ำ ลักษณะของแมงป่องจะคล้ายปู มีกล้ามขนาดใหญ่สำหรับหนีบ และมีหางเป็นข้อปล้องที่ปลายสุดมีพิษ เป็นแมลงมีพิษที่ต่อยศัตรู จึงไม่ควรจับแมงป่องด้วยมือเปล่าโดยเด็ดขาด
- แมงมุม
อาการ: เกิดอาการบวมแดงบริเวณที่โดนกัด ปวดเมื่อยตามข้อ และอาจมีไข้
แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาลเป็นแมงมุมพิษในไทย
แมงมุมมีทั้งที่มีพิษและไม่มีพิษ โดยแมงมุมมีพิษในประเทศไทยมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ แมงมุมแม่ม่ายหลังแดง แมงมุมแม่ม่ายดำ แมงมุมมีพิษสีน้ำตาล แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล และแมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน โดยแมงมุมเหล่านี้มักจะขยับมาสร้างใยภายในบ้านเพื่อหลบฝน จึงควรสังเกตให้ดี
การถูกสัตว์มีพิษกัดต่อยอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยจะมีอาการต่างกันไป และบางคนอาจจะแพ้ จึงควรรู้จักวิธีป้องกัน รวมไปถึงการมีประกันภัยพิเศษที่ช่วยดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในกรณีป่วยจากสัตว์ที่เป็นพาหะต่าง ๆ เช่น MSIG ประกันภัยไข้เลือดออกแผนฮอตฮิต (แผน 1) ที่จ่ายเบี้ยประกันภัยเพียงปีละ 419 บาท แต่ได้ความคุ้มครองเมื่อเป็นไข้เลือดออกสูงสุด 30,000 บาท/ครั้ง* และเงินชดเชยเมื่อนอนโรงพยาบาลวันละ 500 บาท สูงสุด 30 วัน/ครั้ง* หรือหากสนใจประกันภัยพิเศษตัวอื่น ๆ ฮักส์ก็พร้อมให้คำปรึกษา สามารถติดต่อได้ตามช่องทางที่สะดวก ทั้ง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855
เข้าโรงพยาบาลเพราะแมลงเล็ก ๆ ก็ไม่หวั่นเพราะมีประกันภัย...คลิก