เล่นโทรศัพท์ในที่มืด แฝงอันตรายมากกว่าที่คิด
เขียนเมื่อวันที่ 19/07/2021
เล่นมือถือในที่มืด มีผลเสียอะไรต่อร่างกายบ้าง
เมื่อทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือเปรียบเสมือนอวัยวะชิ้นที่ 33 ของร่างกายในยุคดิจิทัลไปเสียแล้ว เพราะหลายคนใช้สมาร์ทโฟนทำงาน เรียนออนไลน์ ดูวิดีโอ หรือเล่นเกม ทำให้เห็นภาพผู้คนจดจ่อกับมือถือเกือบตลอดเวลา แม้กระทั่งก่อนนอนบางคนยังเล่นมือถืออยู่ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งแรกที่บางคนจับเมื่อตื่นนอน แล้วหลับไปพร้อมกับมือถือ แต่รู้หรือไม่ว่า การเล่นมือถือในที่มืดเป็นประจำ ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายไม่น้อยทีเดียว ทั้งแสงสีฟ้า แสงยูวี ที่พร้อมทำร้ายจอประสาทตาของคุณ
แสงสีฟ้าจากโทรศัพท์มือถือ คืออะไร
แสงสีฟ้า (Blue Light) เป็นแสงที่ทุกคนสามารถมองเห็นได้ในช่วงแสงสีขาว โดยแสงขาวแบ่งได้ 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง โดยแสงสีฟ้าผสมอยู่ในช่วงสีน้ำเงินกับคราม ทั้งนี้ แสงสีฟ้าเป็นแสงที่มีพลังงานสูงใกล้เคียงรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)
แล้วแสงสีฟ้าไม่ได้มาจากแหล่งพลังงานธรรมชาติ อย่างดวงอาทิตย์ (แสงแดด) ที่มีปริมาณของแสงที่มีความเข้มมากที่สุดเท่านั้น ยังพบเห็นแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหลอด LED, อุปกรณ์ดิจิทัลต่าง ๆ, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, โน้ตบุ๊ก, แท็บเล็ต รวมไปถึงโทรศัพท์มือถือ
ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้มือถือในที่มืดนาน ๆ
กรณีที่ปิดไฟเตรียมพักผ่อนแล้ว แต่ยังหยิบสมาร์ทโฟนมาเช็ค Facebook ตอบ Line หรืออ่านฟิค รู้ตัวอีกทีก็เล่นมือถือไปเป็นชั่วโมงเรียบร้อยแล้ว ตามมาดูกันว่าพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลเสียอะไรต่อสุขภาพดวงตาและสุขภาพกายบ้าง
ความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา
- เสี่ยงต่ออาการแสบตา ตาแห้ง น้ำตาไหล
- ปวดล้ากล้ามเนื้อกระบอกตาจากการใช้สายตาจ้องจอมือถือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
- สายตาไม่ชัด พร่ามัว หรือสายตาสั้นมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
- มีโอกาสเป็นโรคต้อหิน
- เส้นประสาทตาถูกทำลาย จนการมองเห็นพร่ามัวมากขึ้น
- มีอาการแพ้แสงสู้แสงไม่ได้
ความผิดปกติต่อระบบกล้ามเนื้อ
- มีอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ เนื่องจากถือสมาร์ทโฟนอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน
- อาจมีอาการของเอ็นข้อมืออักเสบ หนึ่งในสัญญาณเตือนโรคออฟฟิศซินโดรม
- เป็นโรคนิ้วล็อก
ความผิดปกติด้านอื่น ๆ
- การเล่นมือถือก่อนนอนจนพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้สมองมีอาการล้าและรู้สึกอ่อนเพลียตลอดทั้งวัน ส่งผลให้จำอะไรได้ไม่ค่อยดี เพราะสมองทำงานได้ไม่เต็มที่
- การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ หรือนอนไม่หลับเพราะแสงสีฟ้า เป็นผลให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งเมื่อไม่รู้สึกง่วงอาจทำให้หิวกลางดึกจนต้องลุกไปหาอะไรมาทาน และกลายเป็นโรคอ้วนในที่สุด
การใช้มือถือในที่มืดเป็นประจำส่งผลเสียต่อสุขภาพดวงตา
ใช้มือถืออย่างไร ไม่ให้เสียสุขภาพ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมง
- พยายามดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นในตา ถ้ามีอาการตาแห้งมาก ๆ หรือใส่คอนแทคเลนส์ ควรใช้น้ำตาเทียมหยอดตาเป็นระยะเมื่อรู้สึกตาแห้ง
- ควรเปิดไฟในห้องให้มีแสงสว่างเพียงพอ
- สวมแว่นกรองแสงเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากแสงสีฟ้า
- ควรติดฟิล์มหน้าจอสมาร์ทโฟนเพื่อลดแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์ดังกล่าว
- ปรับความสว่างของหน้าจอในระดับสบายตา และควรใช้งานสมาร์ทโฟน ในพื้นที่ที่มีแสงสว่างโดยรอบที่เหมาะสม และไม่สว่างจ้าจนตัดกับแสงที่เกิดจากหน้าจอเกินไป
- ปรับขนาดตัวอักษรในหน้าจอสมาร์ทโฟน ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิม เพื่อลดการเพ่งของสายตา
- ไม่ควรนอนหงายเล่นสมาร์ทโฟน เพราะหน้าจอไม่ได้รับแสงสว่างจากโคมไฟบนเพดาน กระทั่งการนอนตะแคงก็อาจทำให้ดวงตาต้องเพ่งจ้องที่หน้าจอหนักกว่าปกติเช่นกัน
- ไม่จ้องหน้าจอโทรศัพท์นานเกินไป ควรมีการพักสายตาบ้าง ทุก ๆ 20-30 นาที
- ควรหมั่นตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ และปรึกษาจักษุแพทย์ทันทีเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดตา ปวดหัว หรือมองเห็นไม่ชัดเจน
แว่นกรองแสงสีฟ้า จำเป็นแค่ไหน
แว่นกรองแสงสีฟ้า เป็นไอเทมที่ช่วยกรองแสงสีฟ้าซึ่งถูกปล่อยออกมาจากอุปกรณ์ดิจิทัลเข้าสู่ดวงตา ช่วยลดอาการปวดตาจากการจ้องมองหน้าจอแท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน รวมถึงลดอาการตาพร่ามัวได้เป็นอย่างดี หากถามว่าแว่นกรองแสงสีฟ้าจำเป็นสำหรับทุกคนไหม ตอบว่า ไม่จำเป็นต้องใช้ในบุคคลทั่วไป แต่เหมาะกับผู้ที่ต้องทำงานอยู่หน้าจอ และผู้ที่มีปัญหาจอตาเสื่อม
เล่นโทรศัพท์ในที่มืด เสี่ยงจอประสาทตาเสื่อมหรือไม่
พฤติกรรมการเล่นโทรศัพท์ในที่มืดซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เสี่ยงต่อเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม จากที่ปกติพบในผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยอาการของโรคจอประสาทตาเสื่อม คือ การมองเห็นลดลง มองเห็นภาพตรงกลางไม่ชัด ภาพบิดเบี้ยวเหมือนมีจุดดำตรงกลางภาพ และหากอาการรุนแรงมากอาจถึงขั้นตาบอดได้
สำหรับใครที่ชอบเล่นมือถือในที่มืดน่าจะพอรู้แล้วว่า พฤติกรรมดังกล่าวมีอันตรายมากกว่าที่คิด ฉะนั้นควรเลิกทำร้ายตัวเองโดยการปรับพฤติกรรมการเล่นมือถือก่อนนอนให้น้อยลง พร้อมหันมาใส่ใจสุขภาพดวงตาให้มากขึ้น เพราะดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญที่มีเพียงคู่เดียว หากใช้งานสายตาหนักเกินไป อาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องรักษาต่อเนื่องในระยะยาว และเพื่อซื้อความเสี่ยงในอนาคตการทำประกันภัยสุขภาพติดตัวไว้ถือเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อแบ่งเบาภาระเรื่องค่ารักษาพยาบาล ค่าแพทย์ ค่าผ่าตัด ค่าห้อง หรือค่าชดเชยรายได้ในกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษา
และฮักส์ อินชัวรันซ์ โบรกเกอร์ เป็นหนึ่งในกูรูประกันภัยออนไลน์ที่มากด้วยผลิตภัณฑ์ซึ่งตอบโจทย์ครบทุกความต้องการ ช่วยให้คุณสามารถเปรียบเทียบเบี้ยประกัน และซื้อความคุ้มครองทางออนไลน์ได้ภายในเว็บเดียว สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่เบอร์ 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, huffpost.com