6 สัญญาณเตือนโรคมะเร็งผิวหนัง รักษาทันมีโอกาสหาย
เขียนเมื่อวันที่ 03/08/2021
มะเร็งผิวหนังโรคร้ายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
มะเร็งโรคร้ายใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนถือเป็นโรคที่หลายคนหวาดกลัว ทั้งมะเร็งยังแบ่งออกได้หลายชนิด สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกอวัยวะในร่างกาย มะเร็งอีกหนึ่งชนิดที่พบได้บ่อยในมนุษย์อย่าง “โรคมะเร็งผิวหนัง” ในคนไทยมีเกณฑ์พบมะเร็งชนิดนี้น้อยกว่าประเทศทางแถบตะวันตก ถึงแม้ไทยจะเป็นประเทศที่มีแสงแดดจัดและมีอากาศร้อน แต่เนื่องด้วยผิวหนังคนไทยมีเม็ดสีเมลานินที่มากกทำให้สามารถป้องกันอันตรายจากแสงได้มากกว่า มะเร็งผิวหนังมีอยู่ 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
มะเร็งเซลล์ต้นกำเนิด (Basal Cell Carcinoma-BCC)
มักเกิดบริเวณผิวหนังที่โดนแสงแดดบ่อยในผู้ป่วยทั้งเพศหญิง เพศชาย ลักษณะผิวจะเป็นตุ่มแบนเรียบไปกับผิวปกติ บริเวณขอบตุ่มจะมีความมันวาว สำหรับอาการมะเร็งผิวหนังชนิดนี้ที่พบในคนไทยจะพบตุ่มบริเวณผิวหนังสีน้ำตาลหรือสีดำ มีแผลแตกบริเวณรอยโรค พบบ่อยบริเวณศีรษะและลำคอ
มะเร็งเซลล์สความัส (Squamous Cell Carcinoma-SCC)
พบบ่อยบริเวณใบหน้า หู มือ เกิดได้ทั้งกับผิวจุดที่โดนแดดและไม่โดนแดด พบได้ทั้งเพศหญิงเพศชาย ขอบเขตที่พบจะไม่ชัดเจน ผิวมีความขรุขระหรืออาจมีขุยร่วมด้วย รอยโรคมีความกว้าง ความลึกลง และจะเกิดแผลบริเวณผิวที่เป็นรอยโรค ร่วมกับเลือดออกและมีกลิ่น
มะเร็งผิวหนัง (Malignant Melanoma Basal Cell Carcinoma)
มะเร็งชนิดนี้เกิดได้กับทุกตำแหน่งบนร่างกาย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มีลักษณะเป็นตุ่มพบได้หลายสี เช่น สีดำ แดง น้ำตาล ชมพู เทา โดยสีที่พบบริเวณที่เกิดมะเร็งผิวหนังจะมีความไม่สม่ำเสมอ และมักพบบริเวณตำแหน่งที่เป็นไฝเดิมหรืออาจเกิดขึ้นใหม่ สังเกตได้จากขนาดไฝที่มีศูนย์กลางใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร มีสีไม่เสมอและเส้นขอบไม่ชัดเจน
สัญญาณเตือนโรคมะเร็งผิวหนัง
มะเร็งผิวหนังถือเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อคนทุกสีผิว รวมถึงผู้ที่มีผิวคล้ำ ซึ่งหากเป็นผู้ที่มีผิวคล้ำมะเร็งมักเกิดขึ้นในบริเวณที่ปกติไม่โดนแสงแดด เช่น ฝ่ามือและฝ่าเท้า โดยมะเร็งผิวหนังสองชนิดแรกจัดเป็นกลุ่มมะเร็งผิวหนังที่ไม่ใช่เมลาโนมา
มะเร็งผิวหนัง เกิดจากอะไร?
มะเร็งชนิดนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่เพียงแค่แสงแดดที่เป็นปัจจัยหลักเท่านั้นยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้เสี่ยงเกิดเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ ดังนี้
- พันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติเป็นผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง
- กรรมพันธุ์ เชื้อชาติ คนผิวขาว เพราะผิวหนังจะมีเม็ดสีเมลานินที่น้อยกว่าจึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคที่มากกว่า
- การสัมผัสสารเคมีเป็นเวลานาน เช่น สารหนู หรือสารอื่น ๆ
- ผู้ที่เคยได้รับการฉายรังสี
- มีไฝหรือขี้แมลงวันมากผิดปกติ
- มีการรับประทานยากดภูมิต้านทาน หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องในผู้ป่วย HIV
- มีการใช้สารยับยั้งการสร้างเม็ดสีในปริมาณที่มาก เช่น ฉีดกลูต้าไธโอนในปริมาณมาก เป็นต้น
สัญญาณเตือนโรคมะเร็งผิวหนังกำลังจะมาเยือน
มะเร็งผิวหนังจะมีการแสดงอาการหรือสัญญาณเตือนเช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ แต่สามารถสังเกตได้จากความผิดปกติเวณผิวหนังหรือภายนอกร่างกาย ที่บ่งบอกว่าอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรค ดังนี้
- เกิดเป็นก้อนบริเวณผิวหนังมีลักษณะนูนหรือขยายตัวอย่างรวดเร็ว
- ก้อนเนื้อที่เกิดบริเวณผิวหนังมีเลือดออกหรือเกิดแผลได้ง่าย
- จุดที่เกิดโรคหรือบริเวณรอยโรคจะมีสีเข้ม ไม่สม่ำเสมอ เช่น สีแดง สีดำ สีน้ำตาล มีขอบที่ไม่ชัดเจน
- เกิดแผลเรื้อรังบริเวณผิวหนังที่รักษาไม่หาย
- เกิดแผลบริเวณที่เป็นแผลเป็นโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ไฝมีลักษณะเปลี่ยนไป ทั้งสี รูปร่าง อาจมีแผลเกิดขึ้นหรือมีเลือดออกร่วมด้วย
โรคมะเร็งผิวหนังถือแม้จะเป็นมะเร็งอีกหนึ่งชนิดที่มีความรุนแรง แต่สามารถเริ่มต้นป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ ด้วยการหมั่นทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน สวมเสื้อผ้ามิดชิดทุกครั้งที่ต้องอยู่กลางแจ้ง หมั่นสังเกตผิวหนังอยู่เสมอว่าพบความผิดปกติหรือการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หากพบความผิดปกติให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคทันที และที่สำคัญควรวางแผนเตรียมความพร้อมหากเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือเกิดโรคแบบไม่คาดคิด ด้วยการเลือกตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำทุกปี และเลือกทำประกันภัยสุขภาพที่ครอบคลุมในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลทั้งกรณีผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ค่าห้อง ค่าแพทย์ รวมถึงการเลือกทำประกันภัยมะเร็งตั้งแต่เนิ่น ๆ ถือเป็นการวางแผนการดูแลสุขภาพที่ดี เพราะมะเร็งผิวหนังถือเป็นโรคยกเว้นประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง (หากตรวจพบก่อนทำกรมธรรม์) ฮักส์มีแผนกรมธรรม์ประกันภัยมะเร็งที่หลากหลายตอบโจทย์ทุกความต้องการของคนยุคใหม่ อุ่นใจเรื่องค่าใช้จ่ายในยามเจ็บป่วย ยินดีให้คำปรึกษาการเลือกประกันภัยที่เหมาะกับคุณ สามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, Podpad, mayoclinic