loading
เงินชดเชย กบข คือ ใครมีสิทธิ์ได้บ้าง

เงินชดเชย กบข คือ ใครมีสิทธิ์ได้บ้าง

เขียนเมื่อวันที่ 15/09/2021

เงินสะสม กบข. คืออะไร ได้รับคืนเมื่อไหร่

ไม่ว่ามนุษย์เงินเดือนหรือข้าราชการทุกคนต่างมีเป้าหมายปลายทางไม่ต่างกัน นั่นคือใช้ชีวิตวัยเกษียณอย่างไม่ลำบาก มีเงินพอสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ท่องเที่ยว หรือรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยส่วนหนึ่งที่ทำให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างสบายใจ คือ การเก็บออมเงินไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ผ่านกองทุนรวม ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือเครื่องมือทางการเงินที่ถือว่าเป็นสวัสดิการตอบแทนให้กับพนักงานและข้าราชการในแต่ละองค์กร เช่น "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” และ “กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)”

และวันนี้ Hugs Insurance ขอพาไปทำความรู้จักกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สวัสดิการอีกรูปแบบที่ช่วยให้พนักงานข้าราชการอุ่นใจได้ว่า ในวันที่เกษียณมีเงินทุนสำรองไว้พอดูแลตัวเอง เมื่อรายได้จากการทำงานหยุดไป แต่ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันยังอยู่

รู้จักกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นสวัสดิการเพิ่มเติมให้ข้าราชการทุกคน นอกเหนือจากเงินบำเหน็จบำนาญที่ได้รับจากกรมบัญชีกลาง เดิมข้าราชการที่รับราชการอยู่ก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 (พระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับ) จะเป็นสมาชิก กบข. หรือไม่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ แต่ปัจจุบันได้กำหนดให้ผู้ที่เข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2540 เป็นต้นไป ต้องเข้าเป็นสมาชิก กบข. ทุกคน

ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. มีใครบ้าง

สำหรับสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ประกอบด้วยข้าราชการ 12 ประเภท คือ  

  • ข้าราชการพลเรือน                     
  • ข้าราชการตุลาการ
  • ข้าราชการอัยการ                     
  • ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
  • ข้าราชการครู                         
  • ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
  • ข้าราชการตำรวจ                     
  • ข้าราชการทหาร
  • ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ     
  • ข้าราชการศาลปกครอง
  • ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
  • ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

เงินกองทุน กบข. หลังเกษียณ ได้คืนเมื่อไหร่

สมาชิก กบข. จะได้รับเงินก้อนจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน นับแต่เกษียณอายุหรือลาออกจากราชการ โดยเงินก้อนนี้ประกอบด้วย

เงินสะสม กบข. 

เป็นเงินออมของสมาชิก กบข. ที่ถูกหักจากเงินเดือนทุกเดือน เพื่อนำส่งเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปัจจุบันกฎหมายกำหนดอัตราเงินสะสมขั้นต่ำ 3% ของเงินเดือนทุกเดือน ทั้งสามารถออมเพิ่มได้เมื่อรวมกับเงินสะสมขั้นต่ำต้องไม่เกิน 15% ของเงินเดือนทุกเดือน

เงินสมทบจากรัฐ

คือเงินที่รัฐจ่ายสมทบให้กับสมาชิก กบข. ที่ออมเงินสะสม ในอัตราที่เท่ากัน คือ 3% ของเงินเดือนทุกเดือน

เงินประเดิม 

เป็นเงินที่รัฐส่งเข้าบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิก กบข. ที่รับราชการอยู่ก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 โดย กบข. จ่ายเงินดังกล่าวออกให้แก่สมาชิก เมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพและเลือกรับบำนาญเท่านั้น

เงินชดเชย 

สำหรับเงินชดเชย กบข. คือ เงินที่รัฐจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของรัฐเข้าบัญชีรายบุคคลของสมาชิก กบข. ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินเดือน ในอัตรา 2% ของเงินเดือน  และให้ กบข. จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่สมาชิก เมื่อสมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพและเลือกรับบำนาญ

ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการบริหารเงินดังกล่าว

เนื่องจากหน้าที่หลักของ กบข. คือการนำเงินที่รับจากสมาชิก กบข. และส่วนราชการไปลงทุนส่งเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเป็นประจำทุกเดือนในกองทุนรวม ลงทุนหุ้น หรือลงทุนทองคำ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุน

เงิน กบข. จ่ายเงินคืน เมื่อไร

การสิ้นสุดความเป็นสมาชิกภาพของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แบ่งออกเป็น 2 กรณี

(1) เมื่อสมาชิก กบข. ออกจากราชการ

กรณีออกจากราชการของสมาชิก กบข. ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเกษียณอายุราชการ ยังรวมถึงกรณีลาออก ถูกให้ออก ถูกปลดออก หรือถูกไล่ออกจากราชการ 

แต่ถ้าสมาชิก กบข. ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนหรือสั่งพักราชการ กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการสิ้นสุดสมาชิกภาพ

(2) เมื่อสมาชิก กบข. เสียชีวิต

กรณีเสียชีวิตไม่ว่าจากอุบัติเหตุรถชนกันหรือปัญหาสุขภาพล้วนเป็นเหตุให้สมาชิก กบข. พ้นจากสมาชิกภาพกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการทั้งสิ้น แต่ต้องเป็นการเสียชีวิตระหว่างรับราชการเท่านั้น

 

วิธีคํานวณเงิน กบข. กรณีลาออก 

สมาชิก กบข. ที่ออกจากราชการจะได้รับเงิน กบข. จำนวนเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับเหตุที่ออกจากราชการ อายุราชการ ไปจนถึงการเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญจากกรมบัญชีกลาง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ผู้ชายใช้เครื่องคิดเลข

การคำนวณเงินชดเชย กบข. 

กรณีลาออกจากราชการ เมื่ออายุครบ 50 ปี และ 60 ปีบริบูรณ์

อายุราชการไม่ถึง 1 ปี

  • เงินที่ได้รับจาก กบข. คือ เงินสะสม+เงินสมทบ+ผลประโยชน์

อายุราชการ 1 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี

  • เงินที่ได้รับจาก กบข. คือ เงินสะสม+เงินสมทบ+ผลประโยชน์

อายุราชการ 10 ปีขึ้นไป

  • เลือกรับบำนาญ เงินที่ได้รับจาก กบข. คือ เงินประเดิม (ถ้ามี) + เงินชดเชย + เงินสะสม+เงินสมทบ+ผลประโยชน์
  • เลือกรับบำเหน็จ  เงินที่ได้รับจาก กบข. คือ เงินสะสม+เงินสมทบ+ผลประโยชน์

กรณีลาออกจากราชการตามปกติ

อายุราชการไม่ถึง 10 ปี

  • เงินที่ได้รับจาก กบข. คือ เงินสะสม+เงินสมทบ+ผลประโยชน์

อายุราชการ 10 ปี แต่ไม่ถึง 25 ปี

  • เงินที่ได้รับจาก กบข. คือ เงินสะสม+เงินสมทบ+ผลประโยชน์

อายุราชการ 25 ปีขึ้นไป

  • เลือกรับบำนาญ เงินที่ได้รับจาก กบข. คือ เงินประเดิม (ถ้ามี) + เงินชดเชย + เงินสะสม+เงินสมทบ+ผลประโยชน์
  • เลือกรับบำเหน็จ  เงินที่ได้รับจาก กบข. คือ เงินสะสม+เงินสมทบ+ผลประโยชน์

ใครมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชย กบข. บ้าง

ตามปกติแล้วผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชย กบข. ตามกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ คือ ผู้เป็นสมาชิก  กบข. เท่านั้น เว้นแต่สมาชิกเสียชีวิต ซึ่งกรณีนี้สิทธิ์ดังกล่าวถูกโอนไปให้ทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ดังนี้

(1) ผู้สืบสันดาน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง หรือบุตรบุญธรรม)

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

(5) ปู่ ย่า ตา ยาย

(6) ลุง ป้า น้า อา

หากคู่สมรสของสมาชิก กบข. ยังมีชีวิตอยู่ ก็ถือเป็นทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1635 เช่นกัน โดยให้แบ่งเงินชดเชยให้แก่สามีหรือภรรยาของสมาชิก กบข. ตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ อาทิ

  • การแบ่งสัดส่วนระหว่างผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของสมาชิก กบข. โดยบุตรทุกคนจะได้ส่วนแบ่งเท่ากันคนละ 1 ส่วน ขณะที่คู่สมรสได้ส่วนแบ่งเท่าบุตร 1 คน 
  • การแบ่งสัดส่วนระหว่างบิดามารดา และคู่สมรสของสมาชิก กบข. โดยบิดาและมารดาแต่ละคนจะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับบุตรของสมาชิกผู้เสียชีวิต แต่ถ้ามีคู่สมรสจะได้รับส่วนแบ่งกึ่งหนึ่งก่อน แล้วนำส่วนที่เหลือมาจัดสรรให้บิดามารดาต่อไป ฯลฯ

นอกจากการออมเงินเพื่อเตรียมไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุแล้ว การวางแผนดูแลสุขภาพเพื่อสร้างความอุ่นใจในเรื่องของค่ารักษาหากเกิดเจ็บป่วยในอนาคต ด้วยการเลือกทำประกันภัยสุขภาพก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินต้องเข้ารับการรักษาตัวจะได้ไม่เป็นกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย และฮักส์มีประกันภัยสุขภาพที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ พร้อมยินดีให้คำแนะนำในการเลือกทำประกันภัยสุขภาพ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Line หรือโทรติดต่อฮักส์ได้ที่ 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, gpf.or.th 


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

#ฮักส์ประกันภัยสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+