จริงหรือ ฉีดวัคซีนโควิดใต้ผิวหนัง ภูมิขึ้นสูงกว่าปกติ
เขียนเมื่อวันที่ 07/10/2021
ฉีดวัคซีนโควิดใต้ผิวหนัง สร้างภูมิคุ้มกันได้จริงหรือ
การฉีดวัคซีนโควิดเป็นการป้องกันเชื้อโควิดได้ดีอีกวิธีหนึ่ง เพราะวัคซีนจะเข้าไปกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีในร่างกาย แต่เนื่องจากโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ แนวทางการรักษาจึงยังไม่มีงานวิจัยรองรับเพียงพอ วิธีการรักษาแนวใหม่จึงได้รับการวิจัยและหยิบยกมาทดลองบ่อยครั้ง เช่นเดียวกับการฉีดวัคซีนใต้ผิวหนังที่มีผู้กล่าวว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น
วัคซีนโควิดที่มีในไทย
เนื่องจากโควิดระบาดไปทั่วโลก หลายประเทศจึงมีการผลิตวัคซีนของตัวเองเพื่อฉีดให้คนในประเทศและส่งออกไปยังประเทศที่ต้องการ ประเทศไทยเองก็มีการสั่งวัคซีนเข้ามาฉีดในประชาชนไทยทั้งวัคซีนจัดสรรจากรัฐบาลและวัคซีนทางเลือก ดังนี้
- ซิโนแวค (Sinovac)
วัคซีนเชื้อตายสัญชาติจีน เป็นวัคซีนหลักของไทย เดิมทีกำหนดให้ใช้กลุ่มประชาชนทั่วไป แต่นิยมใช้เป็นเข็มแรกของผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน
- ซิโนฟาร์ม (Sinopharm)
วัคซีนเชื้อตายจากประเทศจีน เป็นวัคซีนทางเลือกที่นำเข้าโดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ช่วงแรกจะจัดสรรให้กับองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ แต่ตอนนี้เริ่มมีการเปิดให้ประชาชนทั่วไปลงทะเบียนฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มได้แล้ว
- แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca)
วัคซีนที่ผลิตโดยวิธีไวรัลเว็กเตอร์ (Viral Vector) คือ วัคซีนที่ตัดแต่งพันธุกรรมแล้วฉีดไวรัสโคโรนาที่ถูกทำให้อ่อนแอลงเข้าไป เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน เดิมทีถูกใช้เป็นวัคซีนหลักในการฉีดผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันนิยมใช้เป็นเข็ม 2 เพื่อกระตุ้นซิโนแวคเข็มแรก เรียกว่าเป็นการฉีดวัคซีนสูตรไขว้
- โมเดอร์นา (Moderna)
วัคซีน mRNA ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย เป็นวัคซีนทางเลือกที่เปิดให้จองโดยโรงพยาบาลเอกชน วัคซีนโมเดอร์นาสามารถเข้าไทยได้เร็วสุดช่วงเดือนตุลาคม 2564
- ไฟเซอร์ (Pfizer)
วัคซีนไฟเซอร์เป็นวัคซีน mRNA ที่ได้รับการพูดถึงมากอีกหนึ่งยี่ห้อ นำเข้ามาโดยรัฐสำหรับฉีดเป็นเข็มกระตุ้นให้บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า และกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สีแดง
หลังการฉีดวัคซีนแล้ว ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันป้องกันโควิดขึ้น ซึ่งภูมิที่เพิ่มเข้ามานี้จะอยู่ชั่วคราวจึงต้องมีการตรวจภูมิหลังการฉีดวัคซีนไปแล้ว 14 – 28 วัน หากภูมิมีปริมาณน้อยเกินไปอาจจะต้องมีการพิจารณาฉีดวัคซีนกระตุ้น (Booster Dose)
การตรวจภูมิหลังฉีดวัคซีนโควิด
การฉีดวัคซีใต้ผิวหนังสร้างภูมิคุ้มกันโควิด
ภูมิในร่างกายที่ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาจะมีปริมาณไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของบุคคลและชนิดของวัคซีน โดยวัคซีนที่สร้างภูมิได้มากกว่าจะได้เปรียบ เพราะภูมิจะค่อย ๆ ลดลง หากมีภูมิสำรองไว้มาก เวลาในการลดก็จะนานกว่า การตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิดเหมาะกับกลุ่มคน 2 ประเภท ได้แก่
- ผู้ที่เพิ่งหายจากโควิด-19
หลังจากติดเชื้อประมาณ 4 สัปดาห์สามารถตรวจภูมิคุ้มกันได้ เพราะเป็นช่วงที่เห็นภูมิคุ้มกันชัดเจน เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังลังเลว่าควรได้รับวัคซีนหรือไม่ และผู้ที่ไม่แน่ใจว่าตนเองอาจเคยติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการหรือเปล่า ระดับภูมิช่วงนี้จะสามารถบอกได้หากเคยติดเชื้อมาก่อน
- ผู้ที่เพิ่งได้รับวัคซีนโควิด
หลังจากได้รับวัคซีนครบทั้ง 2 เข็มอย่างน้อย 2 สัปดาห์สามารถตรวจหาภูมิได้ เพื่อวัดประสิทธิภาพของวัคซีน แต่ไม่ควรปล่อยไว้นานเกิน 3 เดือน เพราะวัคซีนบางชนิดอาจจะไม่มีภูมิหลงเหลือให้ตรวจแล้ว
การตรวจภูมิช่วยให้ทราบถึงประสิทธิภาพในการป้องกันโควิดของตนเอง เนื่องจากโควิดเป็นโรคใหม่ มีการกลายพันธุ์ของไวรัสหลายครั้ง วัคซีนบางชนิดอาจจะได้ผลไม่เพียงพอ การตรวจภูมิก่อนและหลังการฉีดวัคซีนจึงช่วยวางแผนการฉีดวัคซีนในอนาคต แต่การฉีดวัคซีนก็ต้องศึกษาให้ดี หากเกิดอาการแพ้ขึ้นมาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาอีกต่อ ควรทำประกันภัยแพ้วัคซีนเก็บไว้เพื่อความอุ่นใจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า สามารถเคลมเมื่อแพ้วัคซีนได้
การฉีดวัคซีนโควิดใต้ผิวหนัง
แนวทางการฉีดวัคซีนใต้ผิวหนังเป็นวิธีการฉีดวัคซีนที่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาล (รพ.) จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยได้กล่าว่ามีการทดลองฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังของกลุ่มทดลอง 200 – 300 คนและพบว่าได้ผลดี พร้อมทั้งระบุข้อดีของการฉีดวัคซีนใต้ผิวหนัง 2 ประการ คือ ใช้ปริมาณวัคซีนน้อยลงและเพิ่มภูมิหลังการฉีดให้สูงขึ้น
การฉีดวัคซีนใต้ผิวหนังกำลังอยู่ในขั้นตอนการทดลองในหลาย ๆ ประเทศ โดยผู้วิจัยเชื่อว่าการฉีดเข้าผิวหนังจะได้ผลดีกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เพราะชั้นผิวหนังอุดมไปด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวจำนวนมาก ง่ายต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปริมาณวัคซีนที่น้อยกว่า ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีการฉีดวัคซีนเข้าผิวหนังมีมาก่อนแล้ว แต่ยังไม่มีผลการทดลองกับวัคซีนโควิดอย่างจริงจัง รวมถึงรัฐบาลเล็งเห็นว่าประเทศยังคงมีปริมาณวัคซีนเพียงพอต่อความต้องการของคนในประเทศ ทำให้ยังคงฉีดวัคซีนแบบเข้ากล้ามเนื้ออยู่
การฉีดวัคซีนโควิดให้ได้ผลดีจะต้องศึกษาผลข้างเคียงให้ถี่ถ้วนเพื่อป้องกันการแพ้ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงควรทำประกันภัยวัคซีนโควิดเอาไว้ เช่น วิริยะประกันภัยแผน 1 ที่ให้ความคุ้มครองกรณีนอนโรงพยาบางเมื่อแพ้วัคซีนสูงสุด 15,000 บาท/ครั้ง และรับเงินสูงสุด 500,000 บาท หากเกิดอาการโคม่าจากการแพ้วัคซีน นอกจากประกันภัยวัคซีนโควิดแล้ว ฮักส์ยังมีประกันภัยอื่น ๆ ให้เลือกใช้ซื้ออีกมากมาย ติดต่อได้ทั้งทาง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855 เรื่องประกันภัยไว้ใจฮักส์
อ้างอิงข้อมูล: Matichon, TNN Thailand, กระทรวงสาธารณสุข