จริงหรือ โควิดจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น อาการไม่รุนแรง
เขียนเมื่อวันที่ 30/11/2021
วิธีใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิดให้ปลอดภัยและรับมือได้
แม้ว่าจะมีทั้งวัคซีนโควิดหลายชนิดออกมาต้านไวรัสที่กำลังระบาดหนักไปทั่วโลกตั้งแต่ปี 2019 แต่ก็ยังไม่สามารถป้องกันให้หายขาด เนื่องจากไวรัสโควิด-19 ได้กลายพันธุ์ที่ค่อนข้างรับมืยากกว่าเดิม สิ่งที่ทำได้คือพัฒนาตัวยาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันอาการรุนแรงที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและลดความเสี่ยงเสียชีวิต ซึ่งนอกจากมีวัคซีนป้องกันโควิดแล้ว ปัจจุบันได้มีการทดลองยาเม็ดป้องกันโควิดครั้งแรกของโลก ไม่ว่าจะเป็น ยาแพ็กซ์โลวิดจากไฟเซอร์ และยาโมลนูพิราเวียร์จากสหราชอาณาจักร ถือเป็นความหวังใหม่ที่คนทั่วโลกคาดหวังว่าจะสามารถป้องกันโควิดไม่ให้มีอาการรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การจะให้โควิดหายไปเลยคงเป็นไปไม่ได้ เพราะ WHO องค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนแล้วว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่มีวันหายไปจากโลกและอาจกลายเป็นโรคประจำถิ่น ถึงแม้ว่าจะมีวัคซีนหรือยารักษาก็ตาม สิ่งที่คนทั่วโลกต้องทำคือเรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิดอย่างไรให้ปลอดภัยมากที่สุด
โควิดจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่จัดการได้
โควิดจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น
องค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่มีวันหายไปจากโลกนี้ อีกทั้ง น ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวเอาไว้ว่าภายในปี 2565 การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น โดยมีการฉีดวัคซีนให้เฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงตามความรุนแรง ไม่ได้ฉีดให้กับทุกคน ซึ่งในขณะนี้คนทั่วโลกได้มีภูมิคุ้มกันมากขึ้น จึงทำให้โควิดกำลังจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่สามารถรับมือได้ เปรียบเทียบเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ที่ในตอนนี้เน้นฉีดวัคซีนให้เฉพาะกลุ่มเสี่ยงในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และบุคลากรด้านสุขภาพ ที่สำคัญคือมีอัตราการเสียชีวิตไม่สูง ส่วนในระยะถัดไปจะมีการติดเชื้อบ้างแต่ไม่ตรวจเช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีโอกาสที่โควิคจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นในหลายประเทศ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่ามีวัคซีนป้องกันโควิดที่มากพอต่อความต้องการหรือไม่ เพื่อจะได้สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ลดความเสี่ยงเสียชีวิต และเป็นโรคที่ไม่น่ากังวลอีกต่อไป
ข้อควรรู้ โรคประจำถิ่นคืออะไร อันตรายไหม
ตั้งแต่โควิดระบาดจนถึงปัจจุบันหลายคนอาจเคยได้ยินคำว่าโรคประจำถิ่น เนื่องจาก Who ได้ออกมาแจ้งเตือนว่าโควิดเข้าสู่ระดับ Pandemic และอาจไม่มีวันหายไปจากโลกนี้ อีกทั้งอาจกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่ต้องอยู่ร่วมกันให้ได้ Endemic โรคประจำถิ่น คือโรคที่เกิดประจำถิ่นที่เกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่นั้น มีอัตราการป่วยคงที่และสามารถคาดการณ์รับมือได้ อาทิ โรคไข้เลือดออก หรือโรคมาลาเรียในทวีปแอฟริกา นั่นเท่ากับว่าโควิด-19 กำลังจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่ไม่มีความรุนแรง โดย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือประชาชนต้องได้รับวัคซีนคลอบคลุมกว่า 90% เข็มสองเกือบ 40% โดยจะจัดให้กรุงเทพฯ และภูเก็ตเป็นโมเดลที่โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ที่ไม่สามารถระบาดได้ ลดการเจ็บป่วยหนักและลดความเสี่ยงเสียชีวิต
อยู่ร่วมกับโควิด-19 อย่างไรให้ปลอดภัย
หากโควิด-19 ไม่สามารถหายไปจากโลกนี้ได้และจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น นั่นเท่ากับว่ามนุษย์ทุกคนต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางเชื้อไวรัสโควิดอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทุกคนควรตระหนักคือ การอยู่ร่วมกับโควิดอย่างไรให้ปลอดภัย อยู่ด้วยความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งรับมือกับไวรัสนี้ให้ได้
วิธีอยู่ร่วมกับโควิดให้ปลอดภัยลดการแพร่เชื้อ
- ต้องคิดไว้เสมอว่าเราทุกคนล้วนมีความเสี่ยงติดโควิด เพราะฉะนั้นต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยป้องกันตัวเอง เพื่อลดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
- เว้นระยะห่างทางสังคม หลีกเลี่ยงไปสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน
- ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของ รวมถึงล้างมือฟอกสบู่สม่ำเสมอเพื่อป้องกันเชื้อโรค
- เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพื่อลดอาการรุนแรงต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล และลดอัตราการเสียชีวิต
- อยู่กับโควิดอย่างมีสติในเมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องเรียนรู้ที่จะอยู่รอดให้ได้ และศึกษาข้อมูลการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด
ไม่มีใครระบุได้ว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 จะจบลงเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่จะช่วยการันตีถึงความปลอดภัยได้คือการดูแลตัวเองให้ดีในทุกฝีก้าว และเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิดให้ครบโดสเพื่อลดอาการรุนแรง รวมถึงลดการเสียชีวิต นอกจากนี้การทำประกันภัยโควิดก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญเช่นกัน เพราะหากโชคร้ายติดโควิดในอนาตจะได้ไม่เป็นกังวงเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว หรือหากมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ฮักส์มีประกันภัยสุขภาพเบี้ยเริ่มต้น 2,160 บาท/ปี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2975 5855 ยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับประกันภัยที่คุณสนใจ
อ้างอิงข้อมูล : rama, matichon, Vichaiyut Hospital, mgronline, bangkokbiznews