loading
เท้าบวมกดแล้วบุ๋ม ระวังโรคร้ายมาเยือนไม่รู้ตัว

เท้าบวมกดแล้วบุ๋ม ระวังโรคร้ายมาเยือนไม่รู้ตัว

เขียนเมื่อวันที่ 27/07/2021

เท้าบวมกดแล้วบุ๋ม อันตรายไหม

อาการเท้าบวมหรือขาบวม การเจ็บป่วยที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไปซึ่งในบางครั้งอาการเหล่านี้ก็หายไปเอง สาเหตุทั่วไปมักเกิดจากการสะสมของของเหลวในบริเวณที่เกิดอาการบวมที่มากเกินไปเรียกว่าอาการบวมน้ำ นอกจากนี้อาจเกิดจากการยืนหรือนั่งท่าเดิมนานเกินไป ทานอาหารรสชาติเค็มจัด มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือเกิดการบวมขณะตั้งครรภ์เนื่องจากการรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น นอกจากอาการเท้าบวมที่เกิดจากสาเหตุทั่วไปแล้ว ยังมีลักษณะอาการหรือสัญญาณเตือนที่อาจบ่งบอกโรคหรือการเจ็บป่วยอื่น ๆ ได้เช่นกัน 

เท้าบวม เกิดจากอะไร?

อาการเท้าบวมส่วนใหญ่เกิดขึ้นได้กับเท้าทั้งสองข้าง หรือเกิดบริเวณเท้าข้างใดข้างหนึ่ง และเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีความรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการ พร้อมสัญญาณบ่งบอกโรคและปัญหาสุขภาพ ดังนี้

บีบนวดเท้าจากอาการเท้าบวม

อาการเท้าบวม

โรคไต

มีลักษณะเท้าบวมหรือขาบวมทั้งสองข้าง เมื่อกดบริเวณเท้าจะมีรอยบุ๋มและกลับคืนสภาพเดิมได้ช้า ร่วมกับอาการหน้าบวม ตัวบวม รู้สึกเหนื่อยง่าย ปัสสาวะออกน้อย ซึ่งอาจเป็นลักษณะอาการของโรคไต

โรคหัวใจ 

มีอาการขาบวมเนื่องจากในร่างกายมีปริมาณเกลือโซเดียมที่สูงพร้อมน้ำที่อยู่ในร่างกายจำนวนมาก และหัวใจบริเวณด้านขวามมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ส่งผลให้เลือดจากขาไม่สามารถไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้ อาจมีอาการร่วมกับการเหนื่อยหอบและนอนราบไม่ได้ เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงโรคหัวใจบางชนิดรวมถึงโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังได้เช่นกัน 

โรคหลอดเลือดดำอุดตันที่ขา 

บริเวณขามีอาการบวมที่ข้างใดข้างหนึ่งร่วมกับอาการปวด รู้สึกหนักบริเวณขา เมื่อยล้า มีอาการขาชา เท้าชา เป็นตะคริวหรือร้อนวูบวาบ อาการเหล่านี้มักเกิดกับผู้ที่ต้องยืนนาน ๆ อย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจเกิดเป็นโรคหลอดเลือดดำอุดตันที่ขา 

โรคเท้าช้าง

เกิดจากยุงที่มีเชื้อพยาธิ Brugia Malayi และ Wuchereria Bancrofti ก่อให้เกิดโรคเท้าช้างกัดซ้ำหลายครั้ง จนทำให้เชื้อพยาธิเข้าไปอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของมนุษย์ส่งผลให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะเช่น แขน ขา และอวัยวะสืบพันธุ์

โรคเบาหวาน 

เท้าบวมที่เกิดจากการติดเชื้อของโรคเบาหวาน เนื่องจากการลุกลามของเชื้อไปยังบริเวณเส้นประสาทส่วนปลายช่วงเท้าทำให้เกิดแผล มีการลุกลามได้ง่ายจนเกิดอาการบวมและอักเสบ พร้อมอาการที่รุนแรงมากขึ้นหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา 

บาดเจ็บบริเวณเท้า

อาการบวมก็อาจมีสาเหตุเกิดจากอาการบาดเจ็บได้เช่นกัน เช่น ข้อเท้าแพลง อุบัติเหตุ สะดุดล้มทำให้เกิดอาการบวมบริเวณขาได้เช่นกัน เมื่อทำการหยุดพักการเคลื่อนไหวหรือหลีกเลี่ยงการเดินยังบริเวณเท้าข้างที่บาดเจ็บก็ทำให้อาการทุเลาและหายได้ แต่หากเกิดการเจ็บที่รุนแรงหรืออาการไม่ทุเลาควรรีบพบแพทย์ 

การรับประทานยาบางชนิด 

การรับประทานยาบางชนิดทำให้เกิดอาการบวมได้ เช่น ยาความดันบางชนิด อาทิ สเตียรอยด์ ยาฮอร์โมนเอสโตรเจนโปรเจสเตอโรน แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์รวมถึงยาที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิต ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้า เช่น ยานอร์ทริปไทลีน เป็นต้น 

ภาวะตั้งครรภ์

เท้าบวมกดแล้วบุ๋ม สำหรับคนท้องเป็นอาการแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดอาการเท้าบวมหรือข้อเท้าบวม สำหรับอาการบวมแบบฉับพลันหรือมีอาการที่รุนแรง อาจมีสาเหตุจากภาวะครรภ์เป็นพิษ และหากมีอาการบวมร่วมกับการปวดศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้ การมองเห็นผิดปกติ ปัสสาวะบ่อยควรรีบพบแพทย์

 

อาการเท้าบวมถึงแม้จะเป็นอาการเล็กน้อยที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ แต่ผู้ที่มีอาการไม่ควรละเลยและหมั่นสังเกตตนเองอยู่เสมอ หากเกิดอาการเท้าบวมพร้อมสัญญาณเตือนโรคต่าง ๆ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดทันที นอกจากนี้ควรวางแผนดูแลสุขภาพด้วยการหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีและเลือกทำประกันภัยสุขภาพเพื่อวางแผนค่าใช้จ่ายหากเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ให้อุ่นใจในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลกับความคุ้มครองประกันภัยสุขภาพวิริยะประกันภัยอุ่นใจรักษ์ โกลด์  มอบความคุ้มครองสูงสุด 5,000,000 บาท/ครั้ง* ค่าห้องสูงสุด 15,000 บาท/วัน* ค่ารักษา แพทย์ ผ่าตัด จ่ายตามจริง และเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลชั้นนำเครือ BDMS โดยไม่ต้องสำรองจ่าย กับค่าเบี้ยประกันเริ่มต้น 13,284 บาท/ปี ฮักส์ยินดีให้คำแนะนำการเลือกทำประกันภัย สามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : โรงพยาบาลกรุงเทพฯ, nhs.uk


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

#ฮักส์ประกันภัยสุขภาพภัย

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+