5 โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ เสี่ยงเสียชีวิตสูง
เขียนเมื่อวันที่ 10/07/2021
อันตรายของบุหรี่ มีมากกว่าที่คุณคิด
บุหรี่ เป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่เต็มไปด้วยอันตรายต่อสุขภาพทั้งตัวผู้สูบ และผู้อยู่ใกล้ชิดที่สูดควันบุหรี่เข้าไปอย่างไม่รู้ตัว เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีอันตรายหลายชนิด อาทิ นิโคติน, ทาร์, คาร์บอนมอนอกไซด์, ไฮโดรเจนออกไซด์, ไนโตรเจนออกไซด์, แอมโมเนีย, ไซยาไนด์, ฟอร์มาลดีไฮด์ และสารปรุงแต่งอีกจำนวนมาก เมื่อสูดดมควันบุหรี่เป็นประจำทำให้เสี่ยงเป็นโรคร้ายแรงได้ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดว่าไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ ลองมาดูโรคจากบุหรี่อาจกระตุ้นให้คุณเลิกสูบบุหรี่อย่างไม่คาดคิด
สูบบุหรี่ เสี่ยงเป็นโรคร้ายอะไรบ้าง ?
โรคมะเร็งปอด
เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยและมีอัตราการเสียชีวิตในอันดับต้น ๆ เนื่องจากอาการของโรคมะเร็งปอดไม่แสดงอาการให้เห็น โดยเฉพาะในระยะเริ่มต้นที่มีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นเป็นระยะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยอาจรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งปอดจนกระทั่งอยู่ในระยะแพร่กระจายตามอวัยวะต่าง ๆ แล้ว สาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอด คือ การสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานหรือสูบบุหรี่จัด
โรคหัวใจและหลอดเลือด
สารพิษในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว เพราะมีการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจตีบลงทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย เป็นผลให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น นอกจากนี้ควันบุหรี่ยังทำให้เกล็ดเลือดเกาะกัน ส่งผลให้เลือดจับกันเป็นก้อนได้ง่ายขึ้น ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงตีบหรืออุดตันเฉียบพลันได้
โรคถุงลมโป่งพอง
เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากถุงลมเสียความยืดหยุ่นและเปราะง่าย ทำให้มีพื้นผิวในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในปอดลดลง เมื่อรับออกซิเจนได้น้อยลงผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อยแม้ไม่ได้ทำกิจกรรมใด ๆ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดถุงลมโป่งพอง คือ การสูบบุหรี่ และอาจเกิดจากการสูดควันบุหรี่จากบุคคลอื่น
โรคความดันโลหิตสูง
เป็นกลุ่มโรคที่ต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดีเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อย่าง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือไตเสื่อม เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เนื่องจากในบุหรี่มีสารพิษที่ทำให้เกิดการอักเสบ หรือเกิดการตีบตันของหลอดเลือดต่าง ๆ
โรคสมองเสื่อม
บุหรี่มีสารนิโคตินและสารพิษอื่น ๆ เมื่อสูบบุหรี่เป็นประจำ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย เกิดหัวใจวายกะทันหัน หลอดเลือดสมองตีบตัน อาจทำให้เซลล์สมองฝ่อและเสื่อมได้ง่ายกว่าปกติ ส่วนผู้ที่สูดดมควันบุหรี่ก็มีความเสี่ยงไม่ต่างกัน
นอกจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่และโรคจากควันบุหรี่แล้ว บุหรี่ยังก่อให้เกิดความผิดปกติอื่น ๆ กับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นฟันผุ มีกลิ่นปาก กลิ่นตัว ผิวหยาบก้าน หรือแก่ก่อนวัย
ปฏิบัติตัวอย่างไร ? ให้ห่างไกลควันบุหรี่มือสอง
สูดควันบุหรี่เป็นประจำอาจทำให้ป่วยเป็นโรคร้าย
การป้องกันตัวเองและบุคคลใกล้ชิดจากควันบุหรี่อาจทำได้ยาก เพราะไม่รู้เลยว่าอากาศที่สูดเข้าปอดมีสารตกค้างจากควันพิษปะปนอยู่หรือไม่ ยิ่งถ้ามีคนในครอบครัวสูบบุหรี่ก็ยากจะหลีกเลี่ยงพ้น ฉะนั้นสิ่งที่ควรปฏิบัติตามเพื่อให้ห่างไกลการสูดดมควันพิษหรือรับควันพิษจากที่ผู้สูบบุหรี่ปล่อยออกมาโดยไม่ผ่านตัวกรองสารพิษใด ๆ หรือที่เรียกกันว่าควันบุหรี่มือสอง มีดังนี้
- ห้ามสูบบุหรี่ในบ้านหรือรถยนต์ ถ้ามีการสูบบุหรี่ ผู้สูบควรควรล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้าน
- พยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่ อาทิ บริเวณประตูทางเข้าอาคาร บันไดหนีไฟ หรือเขตสูบบุหรี่
- ถ้ามีการสูบบุหรี่ภายในห้องควรเปิดพัดลมหรือเปิดหน้าต่าง เพื่อให้อากาศถ่ายเท
การลดความเสี่ยงของโรคร้ายแรงที่เกิดจากการสูบบุหรี่สามารถเริ่มต้นได้ด้วยตัวเอง เพียงหยุดสูบบุหรี่ทำให้เกิดประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ รวมถึงการตรวจสุขภาพเพื่อหาความเสี่ยงและความผิดปกติที่นำไปสู่โรคร้าย ตลอดจนการวางแผนทำประกันภัยสุขภาพ หรือการเลือกทำประกันภัยโรคร้ายแรงช่วยให้คุณหมดความกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลที่นับวันมีรายจ่ายสูงขึ้นเรื่อย ๆ และฮักส์มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่หลากหลาย พร้อมยินดีให้คำแนะนำการเลือกทำประกันภัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคุณผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ