loading
อาการแพ้อาหารเฉียบพลัน เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

อาการแพ้อาหารเฉียบพลัน เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

เขียนเมื่อวันที่ 25/08/2021

กินอย่างระมัดระวัง ป้องกันอันตรายจากการแพ้อาหาร

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 อันประกอบไปด้วยที่อยู่อาศัย ยา เครื่องนุ่งห่ม และอาหาร แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากขาดอาหาร แต่ไม่ใช่อาหารทุกประเภทที่จะเป็นมิตร เพราะอาหารบางชนิดอาจก่อให้เกิดโรค หรือบางคนอาจแพ้อาหารทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวมาก่อน การแพ้อาหารมีความเสี่ยงมากหากเผลอรับประทานอาหารที่แพ้เข้าไปอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

ชนิดของการแพ้อาหาร

การแพ้อาหารเกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน E (Immunoglobulin E: IgE) ขึ้นมาเพื่อแสดงอาการแพ้ที่จะเกิดขึ้น IgE นี้จะเกิดหลังจากรับประทานอาหารที่แพ้เข้าไปแล้ว การแพ้อาหารแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่  ๆ ได้แก่

  • ชนิดไม่เฉียบพลัน (Non – IgE – Mediated Food Allergy) เป็นอาการแพ้ที่เกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารไปแล้วหลายชั่วโมง อาจกินเวลานานถึง 24 ชั่วโทง
  • ชนิดเฉียบพลัน (IgE – Mediated Food Allergy) เป็นอาการแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว 2 – 3 นาที หรืออย่างมาก 1 ชั่วโมง

กล่วโดยสรุปคือการแพ้อาหารชนิดเฉียบพลันและไม่เฉียบพลันต่างกันที่ระยะเวลาที่เกิดอาการแพ้ ความน่ากลัวของการแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน คือ อาการที่แสดงออกอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นอาการที่รุนแรงและไม่สามารถรับมือได้ในเวลาอันสั้น ทำให้ผู้แพ้อาหารบางรายเสียชีวิตลง

ระดับความรุนแรงของการแพ้อาหาร

การแพ้อาหาร (Food Allergy) เป็นอาการตอบสนองทางร่างกายเมื่อรับประทานอาหารที่แพ้ กลไกของร่างกายจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อขับสิ่งที่เป็นพิษออกจากร่างกาย ก่อให้เกิดปฎิกิริยาบางอย่าง แบ่งออกเป็น 4 อาการตามระดับความรุนแรง ดังนี้

ระดับที่ 1 อาการทางผิวหนัง

เป็นอาการที่แสดงออกมาทางผิวหนัง มักจะแพ้อาหารแล้วเป็นลมพิษหรือมีผื่นขึ้นตามร่างกาย รวมถึงมีอาการบวมตามส่วนต่าง ๆ ที่พบบ่อย เช่น แพ้อาหารแล้วหน้าบวม ตาบวม ปากบวม พูดลำบากขึ้น

ระดับที่ 2 อาการทางระบบทางเดินหายใจ

เป็นอาการที่แสดงออกมาผ่านทางการหายใจ เพื่อเอาสิ่งแปลกปลอมหรืออาหารที่แพ้ออกจากร่างกาย มักจะเกิดอาการไอ เจ็บคอ สำลัก หรือหายใจไม่ออก

ระดับที่ 3 อาการทางระบบทางเดินอาหาร

เป็นอาการที่แสดงออกหลังจากอาหารเดินทางลงไปตามกลไกการย่อยอาหาร แต่ร่างกายต้องการขับอาหารออกมา มักจะมีอาการท้องเสีย มวนท้อง คลื่นไส้อยากอาเจียน

ระดับที่ 4 อาการทางระบบไหลเวียนโลหิต

เป็นอาการที่แสดงออกรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิตสูง เพราะอาหารได้เข้าสู่เส้นเลือดแล้ว อาการที่พบ คือ หน้ามืด เวียนศีรษะ ความดันต่ำ อาจจะหัวใจหยุดเต้นได้

อาการแพ้อาหารทุกระดับล้วนมีความอันตราย หากเกิดอาการแพ้อย่างใดอย่างหนึ่งควรรีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับยาและแนวทางการรักษาต่อไป

 

การทดสอบอาการแพ้ในอาหาร

คนถือหลอดเจาะเลือด

ทดสอบการแพ้อาหารด้วยการเจาะเลือด

การแพ้อาหารสามารถทดสอบได้ เพื่อเป็นการระวังไม่ให้เผลอรับประทานอาหารที่มีโอกาสแพ้เข้าไป วิธีการที่นิยมใช้ในการทดสอบการแพ้อาหารมีดังนี้

  • การทดสอบโดยการสะกิด (Skin Prick Test)

เป็นการใช้สารก่อภูมิแพ้สะกิดเข้าไปในบริเวณผิวหนัง แล้วอ่านผลการทดสอบเพื่อดูสารที่ผู้ทดสอบมีแนวโน้มจะแพ้ แล้วเปรียบเทียบว่าสารนั้นตรงกับส่วนประกอบใดในอาหารบ้าง 

  • การเจาะเลือดเพื่อหา IgE (Radioallergosorbent Test)

ตรวจโดยการเจาะเลือด แล้วนำเลือดไปหาค่าที่สามารถระบุได้ถึงภูมิคุ้มกันที่มีต่อสารแต่ละชนิด ใช้ได้ทั้งการตรวจภูมิแพ้ทั่วไป เช่น แพ้ฝุ่น แพ้เกสรดอกไม้ และการตรวจภูมิแพ้อาหาร

  • การรับประทานอาหารที่สงสัย (Oral Food Challenge Test)

ทดสอบการแพ้อาหารโดยการรับประทานอาหารที่มีแนวโน้มจะแพ้ในปริมาณน้อย แล้วเฝ้าสังเกตอาการ มักทดสอบในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงแพ้อาหารบางชนิด เช่น กินอาหารทะเลปริมาณน้อยเพื่อทดสอบการแพ้ อาการของผู้ทดสอบจะช่วยในการวิเคราะห์การแพ้ ความรุนแรง และแนวทางรักษาต่อไป

แนวทางการรับมือเมื่อแพ้อาหาร

การแพ้อาหารสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะฉะนั้นการรู้วิธีรับมืออาการแพ้อาหารจึงมีความจำเป็น สามารถปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

  • ตั้งสติ พยายามขอความช่วยเหลือ ทั้งการส่งเสียงร้อง การตะกุยสิ่งของให้เกิดเสียง หรือหากอาการไม่หนักควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย หากมียาแก้แพ้สามารถกินได้ก่อนระหว่างที่รอความช่วยเหลือ
  • หลังจากรักษาหายแล้ว หากเป็นไปได้ควรทดสอบการแพ้อาหาร เพื่อป้องกันการรับประทานอาหารชนิดอื่นที่แพ้อีก

การแพ้อาหารกี่วันรักษาหายจะขึ้นอยู่กับอาการแพ้ หากอาการไม่รุนแรง รักษาตามอาการก็หายดีได้ แต่หากแพ้อาหารเฉียบพลันหรือแพ้อาหารอย่างรุนแรงจะต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะมีโอกาสเสียชีวิตสูง

การแพ้อาหารเป็นสิ่งที่สามารถพบเจอได้ในทุกคน อาหารบางประเภทไม่เคยแพ้มาก่อน แต่เมื่อโตขึ้นหรือมีอะไรมากระตุ้นกลับแพ้อาหารที่เคยรับประทานได้ในอดีต การมีประกันภัยสุขภาพจึงช่วยลดความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันอย่างการแพ้อาหารเฉียบพลันขึ้น ประกันภัยสุขภาพที่แนะนำ เช่น ประกันภัยสุขภาพ Viriyah Healthcare by BDMS (แผน 1) ครอบคลุมการรักษาในโรงพยาบาลเครือ BDMS ที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศ เงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท/ปี* พร้อมค่าห้องสูงสุด 3,000 บาท/วัน* และห้องผู้ป่วยหนัก 6,000 บาท/วัน* ในราคาเบี้ยประกันเริ่มต้นเพียงปีละ 6,000 บาทเท่านั้น หรือหากสนใจทำประกันภัยสุขภาพอื่น ๆ ที่ตรงกับไลฟ์สไตล์มากกว่าสามารถติดต่อผ่านฮักส์ รวมถึงรับคำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ฮักส์มีจำหน่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ติดต่อได้หลายช่องทางทั้ง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล: Bangkok, Sukumvit, Samitivej


#HUGS

#LifeALife LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันภัยสุขภาพ

#ประกันภัยสุขภาพ วิริยะ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+