เงินชดเชยรายได้กักตัวเพราะเสี่ยงโควิด มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
เขียนเมื่อวันที่ 10/09/2021
แนวทางเยียวยาการขาดรายได้ช่วงกักตัว
โรคโควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วจากการกลายพันธุ์ของโควิด ที่ทำให้มีปริมาณเชื้อกระจายในอากาศได้นานและมากขึ้น กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสใกล้ชิดผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องกักตัวอยู่ในเคหะสถานอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดต่อในกรณีที่ได้รับเชื้ออย่างไม่รู้ตัว
ผู้ที่ต้องกักตัวเพราะมีความเสี่ยงสูงจะต้องลางานอย่างน้อย 14 วัน ซึ่งหากใช้วันลาครบตามที่บริษัทกำหนดแล้ว จะไม่สามารถรับเงินเดือนได้ ทำให้ขาดรายได้ในส่วนนี้ไป การชดเชยรายได้ในช่องทางต่าง ๆ จึงมีความสำคัญ โดยสามารถแบ่งการชดเชยรายได้ในกรณีขาดงานได้ดังนี้
เงินชดเชยรายได้จากประกันสังคม
ประกันชดเชยรายได้ คือ ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองในกรณีที่ต้องขาดงานและสูญเสียรายได้ ซึ่งประกันสังคมที่ถือเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เงินเดือนมีค่าชดเชยรายได้ที่ประกันสังคมจ่ายเมื่อต้องหยุดงานเช่นกัน ซึ่งมีความจำเป็นมากในกรณีหยุดงานเพื่อกักตัว
- ผู้ประกันตนมาตรา 33
เป็นผู้ประกันตนที่มีนายจ้างชัดเจนและส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมอย่างน้อย 3 เดือน สามารถรับเงินชดเชยรายได้เมื่อลางานเกิน 30 วัน โดย 30 วันแรกจะเป็นหน้าที่ของนายจ้างในการจ่ายเงินชดเชย แต่เมื่อเข้าวันที่ 31 แล้วยังจำเป็นต้องกักตัวอยู่ ประกันสังคมจะจ่ายเงินชดเชยให้ 50% ตามฐานเงินเดือน โดยคิดตามเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท
- ผู้ประกันตนมาตรา 39
เป็นผู้ประกันตนที่เคยมีประกันสังคมจากที่ทำงานเดิม เมื่อลาออกแล้วยื่นเรื่องขอคงประกันสังคมไว้แล้วจ่ายค่าเบี้ยประกันสังคมเรื่อยมา กลุ่มนี้จะสามารถเบิกเงินชดเชยได้ในกรณีมีนายจ้าง หรือมีงานสร้างรายได้อยู่เท่านั้น โดยเบิกได้ 50% ของค่าจ้างสูงสุด 4,800 บาทต่อเดือน
- ผู้ประกันตนมาตรา 40
เป็นผู้ประกันตนที่ประกอบอาชีพอิสระแล้วเลือกทำประกันสังคมด้วยความสมัครใจ เงินชดเชยรายได้ของกลุ่ม ม.39 นี้จะจ่ายวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วันสำหรับผู้ประกันตน ม.40 กลุ่มที่ 1 และ 2 และจ่ายไม่เกิน 90 วันสำหรับผู้ประกันตน ม.40 กลุ่มที่ 3
การเข้าใจสิทธิในการชดเชยรายได้ประกันสังคมของตนเองจะช่วยให้การเข้าถึงเงินชดเชยง่ายขึ้น ผู้ที่มีประกันสังคมและต้องกักตัวควรยื่นเรื่องขอเงินชดเชยรายได้จากประกันสังคมเสมอ
ตัวอย่างประกันภัยสุขภาพที่คุ้มครองชดเชยรายได้
ประกันชดเชยรายได้จะช่วยคุ้มครองความเสี่ยง
การมีประกันภัยสุขภาพเอาไว้ในกรณีชดเชยรายได้จะสร้างความอุ่นใจได้มากกว่า ในปัจจุบันสามารถซื้อประกันภัยชดเชยรายได้ออนไลน์ได้ด้วย ตัวอย่างประกันภัยที่มีแผนชดเชยรายได้ที่น่าสนใจ เช่น
- ประกันภัยสุขภาพ Officer Care จากอาคเนย์
ประกันภัยสุขภาพ Officer Care เป็นประกันภัยที่คุ้มครองเพิ่มจากสวัสดิการของบริษัท โดยประกันภัยจะคุ้มครองทั้ง OPD และ IPD สามารถชดเชยรายได้ในกรณีที่ไม่เบิกค่าใช้จ่าย IPD เหมาะสำหรับผู้ที่มีสวัสดิการของบริษัทหรือประกันภัยสุขภาพตัวอื่น ๆ คุ้มครอง IPD อยู่แล้ว แล้วใช้ประกันภัย Office Care เป็นตัวช่วยในการชดเชยรายได้
- ประกันภัยสุขภาพ Owner Care จากอาคเนย์
ประกันภัยสุขภาพ Owner Care เป็นประกันภัยสุขภาพสำหรับฟรีแลนซ์และธุรกิจ SMEs ที่ไม่มีสวัสดิการของบริษัทรองรับ ให้ความคุ้มครองทั้งการรักษา OPD และ IPD และชดเชยรายได้เมื่อต้องหยุดงาน ราคาเริ่มต้นเพียง 24 บาท/วัน แต่คุ้มครองสูงสุดถึง 1 ล้านบาท/ปี*
การทำประกันภัยสุขภาพเอาไว้ช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องเงินหากเจ็บป่วยและสำหรับมนุษย์เงินเดือนการมีประกันภัยสุขภาพที่มีการชดเชยรายได้ให้จะตอบสนองต่อการใช้ชีวิตมากกว่า เพราะการขาดรายได้หลายวันอาจส่งผลกระทบหลายด้าน จึงควรมีการวางแผนทำประกันภัยสุขภาพติดตัวเอาไว้ หากมีข้อสงสัยสามารถปรึกษาฮักส์ ซึ่งเป็นผู้เชื่ยวชาญด้านประกันภัย ติดต่อได้ทั้งทาง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855