เยียวยาโควิด ยื่นชดเชยรายได้ประกันสังคม
เขียนเมื่อวันที่ 25/08/2021
ชดเชยรายได้ประกันสังคม โควิดได้อะไรบ้าง
ประกันสังคมการสร้างหลักประกันในการดำเนินชีวิตหากเกิดการเจ็บป่วย ชราภาพ การว่างงาน การคลอดบุตร ให้แก่ผู้ที่มีรายได้และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้รับอย่างครอบคลุม ทั้งในส่วนของค่ารักษาพยาบาล ไปจนถึงการทดแทนรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันที่มีมาตรการเยียวยาออกมาหลากหลายโครงการจากทางหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงมาตรการเยียวยาโควิดในช่วงล็อคดาวน์ให้แก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 29 จังหวัด
- ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ประกอบอาชีพใน 9 กลุ่มกิจการ รับเงินเยียวยา 2,500 บาท
- ผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท
- ผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท
ติดโควิด ประกันสังคมจ่ายชดเชยไหม
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 นอกจากเงินเยียวยา 2,500 บาท จากทางภาครัฐ ทางด้านประกันสังคมได้เตรียมสิทธิประโยชน์ค่ารักษาพยายาล การจ่ายชดเชยรายได้จากกองทุนประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตนที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว ที่มีการแสดงอาการเล็กน้อยหรือไม่รุนแรง เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันที่มียอดผู้ติดเชื้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน ทำให้มีทั้งผู้ป่วยที่รอเตียงและผู้ป่วยตกค้าง ไปจนถึงผู้ป่วยที่ทำ Home isolation หรือการแยกดูแลรักษาตัวที่บ้าน โดยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าผู้ป่วยสามารถแยกกักตัวในที่พักได้อย่างเหมาะสม รวมถึงกรณีที่ผู้ประกันตนรักษาตัวในโรงพยาบาล และกลับมาแยกกักตัวทำการรักษาต่อที่บ้านหรือที่พักจนครบกำหนด โดยเป็นไปตามเกณฑ์และแนวทางที่กระทรวงสาธารณะสุขกำหนด ทางด้านประกันสังคมจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล และจ่ายประโยชน์การชดเชยรายได้ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
ค่ารักษาพยาบาลและบริการทางการแพทย์
ประกันสังคมจะจ่ายบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลหรือแพทย์ผู้ดูแลรักษา ที่มีการพิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การดูแลรักษามีผลตรวจโควิด-19 ยืนยัน โดยใช้หลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ดังนี้
- ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตนที่ป่วย โดยเป็นค่าใช้จ่ายรวมค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามประเมินอาการ และการให้คำปรึกษา เหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาทต่อวัน ไม่เกิน 14 วัน
- ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด อุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น ค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
- ค่ายาสำหรับใช้รักษา
- ค่าพาหนะเพื่อรับส่งผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนาม และสถานพยาบาล
- ค่าบริการเอกซเรย์ทรวงอก
การเบิกทดแทนการขาดราย
สำหรับผู้ประกันตนที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ได้รับการดูแลรักษาทั้งในรูปแบบของ Home isolation การดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน การรักษาตัวในโรงพยาบาลสนามโรงงานหรือสถานประกอบการ และการหยุดให้รักษาตัวต่อตามที่แพทย์สั่ง สำหรับใช้ประกอบในการขอเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคม โดยใช้เอกสาร ดังนี้
- ใบรับรองแพทย์ จากสถานพยาบาลที่รับผิดชอบการรักษาพยาบาล หรือการบันทึกหน้าจอจากแอปพลิเคชันไลน์ โปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับสถานพยาบาลที่ทำการรักษาในสถานที่กักตัวหรือสถานที่ในการดูแลรักษา
- สำเนาเวชระเบียน ที่มีรายละเอียดระบุวันที่ในการเริ่มรักษาไปจนถึงวันสิ้นสุดการรักษา (สามารถบันทึกหน้าจอจากแอปพลิเคชันไลน์หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่มีรายละเอียดในการรักษาได้)
เงื่อนไขการเบิกทดแทนการขาดรายได้
ชดเชยรายได้ประกันสังคมเมื่อติดโควิด
ผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการใช้สิทธิ์ และพิจารณาตามกฏหมายคุ้มครองแรงงาน คือ ผู้ประกันตนที่ลาป่วย 30 วันแรก จะได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง และหากจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกิน 30 วัน ผู้ประกันตนสามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากสำนักงานประกันสังคม ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยได้ 50% ของค่าจ้าง (จ่ายครั้งละไม่เกิน 90 วัน แต่ไม่เกิน 180 วัน) โดยผู้ประกันตนที่ทำการรักษาหายจากอาการป่วยด้วยโรคโควิด-19 แล้ว สามารถยื่นเบิกเงินขาดรายได้ภายในระยะเวลา 2 ปี สามารถติดต่อขอรับประโยชน์ทดแทนที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ
อีกหนึ่งมาตรการเยียวยาช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 33 เมื่อติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลและการชดเชยรายได้ นอกเหนือจากมาตรการเยียวยาช่วยเหลือจากประกันสังคมช่วงโควิด คุณควรเตรียมความพร้อมในเรื่องของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาตัวเนื่องจากโควิด-19 ด้วยการเลือกทำประกันภัยโควิด ฮักส์มีกรมธรรม์ประกันภัยหลากหลายทั้งประกันภัยโควิดเจอจ่ายจบ หรือประกันภัยโควิดที่คุ้มครองครอบคลุมการรักษาพยาบาล การชดเชยรายได้ ไปจนถึงกรณีเป็นผู้ป่วยโคม่า ที่ตอบโจทย์ความต้องการสำหรับการมองหาความคุ้มครองเกี่ยวกับโควิด-19 ในปัจจุบัน ยินดีให้คำปรึกษาการเลือกประกันภัยที่เหมาะกับคุณ สามารถติดต่อได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม