มะเร็งตับโรคร้ายที่ผู้ชายต้องระวัง
เขียนเมื่อวันที่ 25/06/2021
มะเร็งตับ โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
"มะเร็งตับ" แค่เอ่ยชื่อก็ทำให้หลายคนตกอยู่ในความกลัว เพราะโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประชากรทั่วโลก และปัจจุบันมะเร็งตับพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากเพศชายมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง ฉะนั้นเพื่อหาความเสี่ยงของโรคควรหมั่นดูแลสุขภาพตัวเองและคนใกล้ชิด หากรู้ตัวเร็วโอกาสป้องกันหรือรักษามะเร็งตับให้หายขาดก็เพิ่มสูงตามไปด้วย
นอกจากมะเร็งตับแล้ว ยังมีโรคมะเร็งที่สามารถพบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูก หรือโรคมะเร็งรังไข่ สาเหตุเกิดได้ทั้งจากพันธุกรรมของคนในครอบครัวที่มีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็ง หรือมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพ จนทำให้เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งแบบไม่รู้ตัว เพียงคุณลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหรือโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน
ตับ ทำหน้าที่ทำอะไรบ้าง
เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญมากในร่างกายอยู่บริเวณชายโครงขวาใต้กระบังลม ทำหน้าที่สะสมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยสารอาหารเหล่านั้นจะถูกตับแปลงไปเป็นพลังงานหรือใช้ซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ นอกจากนี้ตับยังผลิตน้ำดีเพื่อช่วยเหลือลำไส้ในการย่อยไขมัน รวมถึงทำหน้าที่กำจัดสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย
มะเร็งตับ มีกี่ชนิด ต่างกันอย่างไร
(1) มะเร็งตับปฐมภูมิ เป็นมะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อของตับโดยตรง แบ่งเป็น
- มะเร็งจากเชลล์ตับ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้จากตัวไวรัสเอง
- มะเร็งท่อน้ำดีในตับ เกิดจากการมีเชื้อพยาธิใบไม้ในตับหรือทานอาหารที่มีดินประสิวเป็นส่วนผสม เมื่อสะสมนานวันเข้าก็ก่อให้เกิดมะเร็งตับ
(2) มะเร็งตับทุติยภูมิ คือ โรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ ที่แพร่กระจายไปยังตับ อาทิ โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร หรือมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น
มะเร็งตับ มีกี่ระยะ
มะเร็งตับ สามารถแบ่งระยะของโรคเป็น 5 ระยะ ดังนี้
โรคมะเร็งตับ ระยะที่ 1 : มีก้อนเนื้อมะเร็งขนาดเล็กเพียงก้อนเดียว ระยะนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้
โรคมะเร็งตับ ระยะที่ 2 : มีมะเร็งหลายก้อน แต่ยังคงมีขนาดที่เล็กเป็นระยะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
โรคมะเร็งตับ ระยะที่ 3 : ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากกว่าระยะที่ 2
โรคมะเร็งตับ ระยะที่ 4 : ก้อนเนื้อมะเร็งโตมาก มีการลุกลามเข้าเนื้อเยื่อข้างเคียงตับ เข้าหลอดเลือดดำในท้อง รวมถึงลามไปสู่อวัยวะอื่นๆ
โรคมะเร็งตับ ระยะที่ 5 : เป็นระยะที่ผู้ป่วยมีสุขภาพทรุดโทรมมาก นอนติดเตียงเป็นส่วนใหญ่ และตับอาจทำงานแย่ลงมาก
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ
- ผู้ป่วยเคยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ B หรือ C มาก่อน
- เป็นพยาธิใบไม้ตับ
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- เป็นผู้ป่วยโรคตับแข็ง
- ทานอาหารบางชนิดที่มีสารก่อมะเร็ง อาทิ สารดินประสิวที่มีอยู่ในอาหารประเภทหมัก และอาหารจำพวกรมควัน เป็นต้น
- โรคทางพันธุกรรมและเมตาบอลิกซินโดรมต่าง ๆ อาทิ โรคเบาหวาน ซึ่งทำให้เกิดไขมันเกาะตับและเป็นตับแข็งตามมาภายหลัง
- การได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิด อาทิ การได้รับฮอร์โมนเพศชายเป็นเวลานาน
- ไขมันพอกตับ เกิดจากการทานอาหารมากแล้วไม่ออกกำลังกาย
- อะฟลาทอกซิน เป็นเชื้อราอันตรายที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร อาทิ ถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง เป็นต้น
โรคมะเร็งตับ มีอาการอย่างไร
ปวดท้องบริเวณด้านขวาส่วนบน สัญญาณเตือนมะเร็งตับ
ผู้ป่วยมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ ทำให้การสังเกตตัวเองเพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้ามีอาการผิดปกติดังนี้แนะนำให้พบแพทย์
- ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณด้านขวาส่วนบน
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ท้องบวมขึ้น
- คลำพบก้อนอยู่บริเวณท้องฝั่งตับ
- ปวดร้าวบริเวณหลัง
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- รู้สึกอ่อนเพลีย มีไข้ต่ำ
- ตัวเหลืองและตาเหลือง
ใครที่ต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งตับ
แม้ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นมะเร็งตับในระยะเริ่มต้นหรือไม่ แต่การเข้ารับการตรวจคัดกรองก็ช่วยเพิ่มโอกาสที่จะรักษาหายจากโรคนี้และลดอัตราการเสียชีวิต
- เพศชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และเพศหญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซีในร่างกาย
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคตับแข็ง
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นประจำมายาวนาน
- ผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือได้รับควันบุหรี่เป็นประจำ
- ผู้ที่มีประวัติญาติสายตรงในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ<
8 วิธีลดความเสี่ยงโรคมะเร็งตับ
การป้องกันมะเร็งตับสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพียงหันมาดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงอาหารหมักหรือของดอง เพราะมีสารที่ทำให้เกิดมะเร็งที่ตับได้
- หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจปนเปื้อนเชื้อราหรือสารอะฟลาทอกซิน อาทิ ถั่วลิสง พริกแห้ง พริกป่น หรือข้าวโพด เป็นต้น
- ไม่ทานยามากเกินไป เพราะยาทุกชนิดส่งผลต่อตับ
- พยายามควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคมะเร็งตับ
- ป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี โดยการฉีดวัคซีน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เนื่องจากมีพยาธิใบไม้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
มะเร็งตับ เป็นแล้วรักษาหายไหม
มะเร็งตับเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าตรวจพบในระยะเริ่มต้น โดยแนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรค สุขภาพของผู้ป่วย และปัจจัยอื่น ๆ อาทิ ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคตับแข็งจำเป็นต้องได้รับการรักษาควบคู่ไปกับการรักษามะเร็งตับ
การรักษามะเร็งตับมีหลากหลายวิธี ได้แก่
(1) การผ่าตัด เหมาะใช้รักษาผู้ป่วยที่ยังไม่มีภาวะตับแข็งหรือเป็นตับแข็งระยะแรก ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่โตมาก และยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะข้างเคียง
(2) การฉีดแอลกอฮอล์ เข้าก้อนมะเร็งโดยตรงผ่านทางผิวหนัง ในกรณีที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็ก
(3) การใช้คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงทำลายก้อน โดยใช้เข็มสอดผ่านทางผิวหนัง คลื่นเสียงนี้ก่อให้เกิดความร้อน สามารถทำให้เซลล์มะเร็งตายได้
(4) การฉีดยาเคมีผ่านทางเส้นเลือดร่วมกับการใช้สารอุดเส้นเลือดที่เลี้ยงก้อนมะเร็ง เพื่อลดปริมาณเลือดแล้วค่อยให้ยาเคมีทำลายเนื้อมะเร็งโดยตรง
(5) ยาเคมีบำบัดโดยใช้ยารักษาแบบมุ่งเป้า เพื่อลดการเจริญเติบโตของมะเร็ง
(6) การผ่าตัดปลูกถ่ายตับ
เมื่อไม่รู้ว่าโรคร้ายจะเกิดขึ้นกับตัวเราหรือคนใกล้ชิดเมื่อใด การวางแผนตรวจสุขภาพเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำทุกปี การทำประกันมะเร็งไว้แต่เนินๆ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ประกันภัยมะเร็ง Cancer Pro จากวิริยะประกันภัย ฟรีแพ็กเกจตรวจสุขภาพคัดกรองมะเร็งประจำปีในปีต่ออายุ รวมทั้งหากตรวจเจอมะเร็งไม่ใช่แค่จ่ายแล้วจบ แต่ยังดูแลค่ารักษาสูงสุดถึง 9 ล้านบาท/ปี* ทั้งค่าคีโม ค่าฉายรังสี ค่าผ่าตัด ค่ายา รวมถึงค่าห้องที่สูงสุดถึง 12,000 บาทต่อวัน ในเบี้ยเริ่มต้นเพียง 6,240 บาท/ปี ทำให้ไม่ต้องกังวลาถ้าต้องรักษาต่อเนื่อง ฮักส์มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยมะเร็งและประกันภัยสุขภาพให้คุณเลือกรับความคุ้มครองได้ในรูปแบบที่ต้องการ พร้อมยินดีให้คำแนะนำการเลือกทำประกันภัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต สามารถติดต่อฮักส์ได้ที่ Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล: สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
เตรียมพร้อมรับมือโรคร้าย กับประกันภัยมะเร็ง...ที่นี่