7 สัญญาณเตือนโรคมะเร็งเต้านม รู้เร็วมีโอกาสหาย
เขียนเมื่อวันที่ 12/07/2021
รู้ไว้ก่อนสาย มะเร็งเต้านมรักษาได้ถ้าไม่ปล่อยให้ลุกลาม
มะเร็งเป็นโรคร้ายที่ไม่ค่อยแสดงอาการจนกว่าจะถึงระดับลุกลาม ส่วนมากผู้ป่วยมักไม่รู้ตัว และมาพบแพทย์เมื่อเชื้อร้ายเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ภายในร่างกายแล้ว การรู้ตัวเร็วและเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีจึงเป็นการลดความเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้วิธีหนึ่ง โรคมะเร็งที่มักเกิดมีหลายประเภท เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม โดยบทความนี้จะพูดถึงมะเร็งเต้านมที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของหญิงไทยมาเป็นอันดับ 1 เพื่อให้รู้เท่าทันโรคและสำรวจตัวเองก่อนที่ก้อนมะเร็งจะลุกลาม
กลุ่มเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมสามารถเป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่มักพบในผู้หญิงมากกว่า สาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งเต้านมเกิดจากการที่เนื้อเยื่อของผิวใต้เต้านมมีความผิดปกติ แล้วพัฒนามาเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งมีกลุ่มเสี่ยงที่ควรระวัง ดังนี้
- เป็นเพศหญิง มีอายุเกิน 35 ปี
- ไม่ได้ใช้นมแม่ในการเลี้ยงลูก
- มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
- เป็นโรคอ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักเกิน
- มีบุตรครั้งแรกหลังจากอายุ 30 ปี หรือเป็นผู้ไม่มีบุตร
- รับประทานฮอร์โมน หรือยาคุมติดต่อกันเป็นเวลานาน
- มีประจำเดือนเร็วผิดปกติ หรือหมดประจำเดือนช้ากว่าปกติ
ปัจจัยข้างต้นเป็นความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม ผู้ที่เข้าข่ายควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี ซึ่งสามารถตรวจผ่านประกันสังคม
7 สัญญาณสำคัญของการเป็นมะเร็งเต้านม
ผู้หญิงในปัจจุบันหันมาใส่ใจการตรวจมะเร็งเต้านมมากขึ้น
การเป็นมะเร็งเต้านมมักจะมีสัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากละเลยอาการเหล่านี้แล้วไม่ไปตรวจ เชื้อมะเร็งจะยิ่งลุกลาม เมื่อรู้สึกถึงความผิดปกติของเต้านมก็อาจสายเกินไป สัญญาณที่ไม่ควรมองข้ามของมะเร็งเต้านม ได้แก่
1. คลำเจอก้อนเนื้อบริเวณเต้านม
เป็นก้อนเนื้อที่แปลกปลอมจากเนื้อเต้านม เมื่อคลำเจอจะสัมผัสได้ถึงความผิดปกติที่ไม่ควรมาอยู่บริเวณเต้านม ส่วนมากมักจะเจ็บ แต่บางคนก็ไม่รู้สึกเจ็บ
2. มีน้ำเหลืองไหลออกมาจากหัวนม
น้ำเหลืองเป็นความผิดปกติที่ไหลออกมาจากหัวนม โดยเฉพาะหากพบว่าน้ำเหลืองนั้นมีสีคล้ายเลือด ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน
3. ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป
เต้านมทั้ง 2 ข้างมีขนาดและรูปร่างไม่เหมือนกัน แต่เมื่อมีก้อนมะเร็งอยู่ในเต้านมจะทำให้รูปร่างของเต้านมขยายออกอย่างผิดปกติ จึงควรหมั่นสังเกตเต้านมตัวเองเป็นประจำ
4. มีรอยบุ๋มบริเวณเต้านม
รอยบุ๋มที่เกิดขึ้นแบบไร้สาเหตุอาจเกิดจากเซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตอยู่บริเวณผิวใต้เต้านม ทำให้เต้านมเกิดการเปลี่ยนรูปทรงโดยเริ่มจากการมีรอยบุ๋ม แล้วทำให้ผิวแห้งตามมาก่อนเปลี่ยนรูปทรง
5. รู้สึกเจ็บหรือคันบริเวณเต้านมอย่างผิดปกติ
การเกิดผื่นคันหรือความรู้สึกเจ็บบริเวณเต้านมอาจเป็นผลมาจากการที่เซลล์มะเร็งลุกลามมาถึงชั้นผิวหนัง แล้วร่างกายเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง และส่งสัญญาณเตือนผ่านอาการเจ็บหรือคัน
6. มีสะเก็ดรอบ ๆ บริเวณหัวนม
สะเก็ดบริเวณหัวนมอาจเป็นอาการของโรคผิวหนัง แต่ขณะเดียวกันก็อาจมีความเสี่ยงเป็นอาการเบื้องต้นของโรคมะเร็งต้านมได้เช่นกัน ซึ่งไม่ว่าอาการใดก็ควรได้รับการรักษาทั้งสิ้น
7. ผิวบริเวณเต้านมเป็นเปลือกส้ม
การที่ผิวบริเวณเต้านมเปลี่ยนเป็นผิวเปลือกส้มมีโอกาสเป็นมะเร็งค่อนข้างสูง เพราะเซลล์มะเร็งเมื่อลุกลามมาถึงชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังมักจะทำให้ผิวหนังแห้งและเป็นผิวเปลือกส้ม
อาการเหล่านี้หากเกิดขึ้นกับเต้านมแล้วควรตัดสินใจเข้าพบแพทย์ การป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่าแก้ทีหลัง หากเป็นมะเร็งเต้านมจริงจะได้เตรียมรับมือได้อย่างทันท่วงที
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองง่าย ๆ
มะเร็งเต้านมสามารถตรวจเบื้องต้นด้วยตนเองง่าย ๆ โดยวิธีการคลำเต้านม หากพบก้อนเนื้อที่นูนขึ้นผิดปกติบริเวณเต้านมแล้วรู้สึกเจ็บ มีโอกาสสูงของการเป็นก้อนเนื้อที่จะพัฒนาเป็นมะเร็งได้ในอนาคต วิธีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองทำได้ดังนี้
วิธีที่ 1 กดหาก้อนเนื้อบริเวณเต้านม
การกดหาก้อนเนื้อเป็นวิธีที่แนะนำให้ทำเวลาอาบน้ำ เพราะสบู่และน้ำจะช่วยให้การสัมผัสเต้านมลื่นไหลมากยิ่งขึ้น มีวิธีการทำโดยวางมือราบลงบนเต้านมเพื่อหาก้อนนูนที่ผิดปกติ จากนั้นค่อย ๆ ไล้นิ้วมือบีบเบา ๆ ให้ทั่วเต้านมทั้ง 2 ข้าง หากมีส่วนใดที่พบก้อนเนื้อและรู้สึกเจ็บผิดปกติ ควรีบไปพบแพทย์ทันที
วิธีที่ 2 สำรวจความผิดปกติของรูปร่างเต้านม
การสำรวจความผิดปกติของเต้านมควรทำหน้ากระจกเพื่อให้มองเห็นเต้านมได้อย่างชัดเจน เริ่มด้วยการยืนตัวตรงแขนแนบไว้ที่ลำตัวเพื่อสังเกตลักษณะของเต้านม จากนั้นยกแขนทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ แล้วสังเกตรูปร่างเต้านมอีกครั้งหนึ่ง วางแขนลงเท้าสะเอว ไม่เกร็งหรือห่อไหล่ เปรียบเทียบลักษณะเต้านมอย่างถี่ถ้วนทั้ง 3 ท่า เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของรูปร่าง
วิธีที่ 3 ตรวจหาน้ำเหลืองบริเวณเต้านม
การตรวจน้ำเหลืองควรทำในท่านอน เริ่มต้นด้วยการยกแขนให้สูงเหนือศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างค่อย ๆ คลำเต้านมข้างที่ยกแขนจนทั่ว วิธีนี้สามารถตรวจก้อนเนื้อได้ด้วยเช่นกัน เมื่อคลำจนทั่วแล้วจึงค่อย ๆ ใช้นิ้วลองบีบบริเวณหัวนมเพื่อสังเกตว่ามีน้ำเหลืองออกมาหรือไม่ จากนั้นสลับข้างทำเหมือนเดิม
การตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตนเองควรทำเป็นประจำทุกเดือน หลังจากหมดรอบเดือนแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ วิธีการข้างต้นเป็นเพียงการตั้งสมมติฐานหากมีโอกาสเป็นมะเร็ง ไม่ได้แปลว่าการตรวจพบก้อนเนื้อ น้ำเหลืองตามหัวนม และรูปร่างผิดปกติจะเป็นมะเร็งเต้านมเสมอไป แต่ควรไปพบแพทย์ทันทีหากพบอาการข้างต้นเพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียด
นอกจากความกังวลเรื่องมะเร็งลุกลามภายในร่างกายแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยมะเร็งมักจะกังวล คือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคมะเร็ง เพราะเป็นโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องสักระยะหนึ่ง ทั้งมีการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด การนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลที่ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น การพิจารณาทำประกันภัยมะเร็งเอาไว้ก่อนตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นการวางแผนสุขภาพที่คุ้มค่าทางหนึ่ง ประกันภัยมะเร็งที่ครอบคลุม เช่น ประกันภัยมะเร็ง Simple Fix ของ MSIG ที่ยิ่งซื้อเร็วเบี้ยประกันภัยยิ่งถูก และไม่มีการเพิ่มเบี้ยประกันภัยตามอายุอีกด้วย เป็นประกันภัยที่เหมาะสำหรับการซื้อสำรองเอาไว้ เพราะในอนาคตไม่มีใครคาดการณ์อาการเจ็บป่วยได้ หากป่วยเป็นมะเร็งจริง ๆ ก็มีความคุ้มครองเป็นเงินก้อนสูงสุดถึง 100,000 บาท/ปี* หรือหากกำลังมองหาประกันภัยอื่น ๆ ทั้งประกันภัยสุขภาพและประกันภัยมะเร็งเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายเมื่อเจ็บป่วยสามารถปรึกษาฮักส์ได้ตามช่องทางที่สะดวก ทั้ง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855 ฮักส์ให้คำปรึกษาดั่งญาติมิตร พร้อมแนะนำประกันภัยที่มองหาอย่างตรงใจ