วิธีดูแลสุขภาพจิตช่วงโควิด ลดความเครียด เพิ่มพลังบวก
เขียนเมื่อวันที่ 12/10/2021
การมีสุขภาพจิตที่ดี ช่วยลดปัญหาสุขภาพ
คำกล่าวที่ว่าสุขภาพใจดี สุขภาพกายก็ดีไม่ได้เป็นคำกล่าวเกินจริงเลย เพราะสุขภาพใจหรือสุขภาพจิตเป็นตัวช่วยให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างปกติ เห็นได้จากการที่ผู้ป่วยโรคร้ายแรงหลายคนกลับมาหายเป็นปกติเพราะมีสุขภาพจิตดี ทั้งกำลังใจที่ดีจากคนรอบข้างและการมองโลกในแง่ดีของตัวผู้ป่วยเอง สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสุขภาพจิตส่งผลดีต่อร่างกายจริง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เสียสุขภาพ
ภาวะสุขภาพจิตแย่ควรได้รับการรักษา
การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบในหลายด้าน ตั้งแต่ระดับใหญ่อย่างโครงสร้างเศรษฐกิจไปจนถึงระดับเล็กสุดอย่างตัวบุคคล ซึ่งทุกคนมีเหตุผลในความเครียดอันเกิดจากโควิด สิ่งสำคัญจึงเป็นการดูแลตัวเองในช่วงที่เครียดสะสม ท้อแท้ และหดหู่ให้ผ่านช่วงนี้ไปให้ได้ ปัจจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของภาวะเสียสุขภาพจิตในปัจจุบัน เช่น
- การเรียนออนไลน์ 100%
ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การเรียนออนไลน์เป็นความสะดวกที่สามารถทำได้ ผู้เรียนและผู้สอนพูดคุยกันได้แม้อยู่คนละที่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเรียนออนไลน์ 100% ส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาว เนื่องมาจากการจัดสรรเวลาที่ไม่ลงตัวและภาระงานที่เพิ่มขึ้น
- การจัดการปัญหาที่ล่าช้า
ปัญหาโควิดส่งผลต่อความเป็นอยู่และสุขภาพจิตโดยตรง และยิ่งเพิ่มความเครียดมากขึ้นเมื่อการจัดการปัญหาล่าช้า ทั้งเรื่องการจัดการวัคซีนโควิด การแตกสายพันธุ์ของโควิด-19 ที่ล่าสุดมีสายพันธุ์มิวเพิ่มเข้ามา เป็นปัญหาที่สร้างความวิตกกังวลให้คนหมู่มาก
- การอยู่ในพื้นที่เดิมมากเกินไป
การกักตัวอยู่บ้านหรือ Home Isolation รวมถึงการ Work From Home ทำให้คนอยู่ในพื้นที่เดิม ๆ หรือบ้านนานเกินไป ต่อให้เป็นคนที่ติดบ้านก็ควรมีโอกาสออกไปพบปะผู้คนภายนอกบ้าง ความเครียดสะสมจากการอยู่บ้านจึงเป็นอีกสาเหตุของสภาวะจิตที่แย่
- การรับข่าวสารไม่สู้ดีติดต่อกัน
ข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันมีประเด็นที่น่าสนใจและน่าเป็นห่วงหลายประเด็น ผู้ที่เสพข่าวเป็นประจำจึงมีโอกาสรู้สึกหดหู่และหมดกำลังใจได้ง่าย
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่หากปล่อยให้จิตคิดไปถึงปัญหามากเกินไป อาจก่อให้เกิดโรคภัยตามมา ทุกคนจึงควรมีสติในการใช้ชีวิตและติดตามข่าวสารอยู่เสมอ
โรคจากความเครียดช่วงโควิด
ผู้ที่มีสุขภาพจิตแย่จะมีอาการบ่งบอก ถือเป็นสัญญาณที่ไม่ควรละเลย เพราะอาจส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพจิตได้
สัญญาณบ่งบอกสุขภาพจิตย่ำแย่
สัญญาณเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องหมั่นสำรวจตัวเอง หากมีอาการใดอาการหนึ่งต่อไปนี้ควรหาวิธีดึงตัวเองขึ้นมาหรือพบแพทย์โดยด่วน
- เครียดมากจนสัมผัสได้
อาการเครียดที่ส่งผลให้ทั้งวันจมอยู่แต่กับเรื่อง ๆ เดียว รู้สึกเหมือนหาทางออกไม่ได้เป็นภาวะเครียดที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะอาจเครียดสะสมจนป่วยเป็นโรคอื่น ๆ เช่น ไมเกรนได้
- ไม่มีสมาธิในการทำงาน
สมาธิสั้นลงไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ คิดวนไปวนมา งานเสร็จช้ากว่ากำหนด คิดอะไรไม่ค่อยออกและเปลี่ยนกิจกรรมไปเรื่อย ๆ เพราะไม่จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ
- หงุดหงิดมากผิดปกติ
ความฉุนเฉียวและอารมณ์เสียเป็นสภาวะอารมณ์ที่ร่างกายใช้โต้ตอบกับสถานการณ์เลวร้ายต่าง ๆ ที่ไม่อยากเจอ การหงุดหงิดมากผิดปกติจึงแสดงให้เห็นถึงการรับข่าวสารที่แย่มากจนเกินไป
- รู้สึกล้ากว่าที่เคย
ภาวะล้าเป็นอาการเหนื่อยอ่อน แม้ทั้งวันจะไม่ได้ทำอะไรแต่รู้สึกเหนื่อยอ่อนราวกับทำทุกอย่าง บางคนอาจเรียกอาการนี้ว่าอาการเซ็ง
- ไม่มีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ
อาการหมดไฟหรือการขาดแรงบันดาลใจเป็นสิ่งที่ทำให้การทำงานต้องหยุดชะงัก เพราะไม่รู้ว่าควรทำอะไรหรืออะไรควรทำก่อนหลัง ส่งผลให้งานเสร็จช้าหรือไม่ได้อย่างที่ใจต้องการ
โรคภัยจากสุขภาพจิตที่ไม่ดี
เมื่อมีสัญญาณบ่งบอกถึงสุขภาพจิตที่ไม่ดี หากปล่อยให้ดำเนินต่อไปโดยไม่พยายามฟื้นฟูจิตใจ จะส่งผลต่อร่างกายให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น
- โรคกระเพาะ - เกิดจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา และความเครียดสะสมลงกระเพาะ ซึ่งการมีสุขภาพจิตแย่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ทำให้อาหารไม่ย่อย รู้สึกปวดท้อง ท้องอืด
- โรคซึมเศร้า – เกิดจากความรู้สึกหดหู่ ท้อแท้ ผิดหวังในตนเอง อาจเนื่องมาจากอาการหมดไฟจนทำงานได้ไม่ดีเหมือนเดิม ส่งผลให้รู้สึกผิดหวังและด้อยคุณค่าตนเองลง
- โรคแพนิค – เกิดจากความกังวลที่สะสม อาจเพราะเมื่อ Work From Home ต้องจัดการงานคนเดียวจึงเกิดอาการแพนิคเมื่อปริมาณงานที่ทำได้น้อยลงกว่าเดิม
- โรคสมองเสื่อม – เกิดจากการจมอยู่ในภาวะหมดไฟนานเกินไป จึงสูญเสียความกระปรี้กระเปร่าไป ทำให้เป็นคนเชื่องช้าและหลงลืม
การรู้จักตนเองและป้องกันก่อนจะเป็นโรคต่าง ๆ ดีกว่าการมารักษาในภายหลัง เพราะบางโรคอาจจะเป็นโรคเรื้อรัง
แนวทางการฟื้นฟูสุขภาพจิตช่วงโควิด
การรู้เท่าทันตนเองและป้องกันก่อนจะเกิดโรคเป็นสิ่งที่ดี สามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางเหล่านี้
- เสพสื่อเท่าที่จำเป็น
- พยายามเริ่มต้นวันใหม่อย่างสดชื่น
- ไม่คิดถึงเรื่องปัญหาเดิม ๆ ซ้ำ ๆ
- หางานอดิเรกที่มีความสุขทำ
- พูดคุยกับคนรอบข้างเพื่อหลีกเลี่ยงการจมอยู่กับตนเอง
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- นอนหลับให้เพียงพอ ไม่ควรอดนอนเด็ดขาด
การดูแลรักษาสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้หลายองค์กรจะมีสวัสดิการสุขภาพให้พนักงานอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ควรชะล่าใจ ควรซื้อประกันภัยสุขภาพที่ครอบคลุมเพิ่มเติมจากสวัสดิการบริษัท เช่น ประกันภัย Officer Care ที่สามารถเบิกได้ทั้ง IPD และ OPD แต่หากไม่เบิก IPD สามารถเบิกเป็นเงินชดเชยแทนได้ สะดวกกับผู้ที่ทำงานออฟฟิศเป็นอย่างมาก ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้จากฮักส์ ติดต่อได้ทาง Facebook Line หรือเบอร์ 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล: กรมสุขภาพจิต, Mahidol