อย่าหลงกล โดนหลอกกู้เงินออนไลน์ เป็นหนี้ไม่รู้ตัว
เขียนเมื่อวันที่ 02/11/2021
รู้ทันมิจฉาชีพ ไม่เป็นเหยื่อถูกหลอกกู้เงินออนไลน์
ในปัจจุบันปัญหามิจฉาชีพมีการระบาดอย่างหนัก โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิดเช่นนี้ที่คนส่วนใหญ่เริ่มมองหาตัวช่วยทางการเงินและแหล่งเงินกู้ เพื่อนำเงินไปหมุนเวียนค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตหรือธุรกิจ ซึ่งมิจฉาชีพเหล่านี้จะมีวิธีการหลากหลายในการหลอกลวง เช่น การแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยราคาถูก ผ่านช่องทางโซเชียลและออนไลน์อย่าง SMS โดนหลอกให้โอนเงินทางไลน์ โดนหลอกให้โอนเงินทางเฟซบุ๊ค แอปเงินกู้ และเบอร์โทรศัพท์ โดยใช้ข้อความชวนเชื่อ
ทางด้านกองปราบปรามได้มีการออกมาเตือนภัยเกี่ยวกับการกู้เงินผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงพฤติกรรมของเหล่ามิจฉาชีพที่หลอกปล่อยเงินกู้ออนไลน์ มักจะมีขั้นตอนในการหลอกลวง ดังนี้
- ประกาศปล่อยเงินกู้ผ่านทางเฟซบุ๊กหรือช่องทางอื่น ๆ โดยมักจะคิดดอกเบี้ยไม่สูงมากและมีคำโฆษณาชวนเชื่อเพื่อดึงดูดให้คนเข้ามากู้เงิน เช่น กู้เงินด่วนให้วงเงินสูง ดอกเบี้ยน้อย กู้ง่ายได้เงินเร็ว ไม่ต้องค้ำประกัน เป็นต้น
- เมื่อมีคนติดต่อไปมิจฉาชีพจะทำทีเป็นขอเอกสาร เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขออนุมัติเงินกู้ เช่น สำเนาบัตรประชาชน หน้าสมุดบัญชี และสำเนาทะเบียนบ้าน
- คนร้ายทำทีเป็นขอเวลาตรวจสอบก่อนจะแจ้งว่า “อนุมัติให้กู้”
- จากนั้นคนร้ายจะบอกให้ผู้กู้โอนเงินค่าดอกเบี้ยไปให้ก่อนในงวดแรก ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถดำเนินการให้กู้ได้ ในส่วนนี้คนร้ายอาจอ้างเป็นในส่วนของค่าดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ก่อนจะได้รับเงินก้อน
- เมื่อผู้กู้โอนค่าดอกเบี้ยไปคนร้ายก็จะหายเงียบไปพร้อมกับเงินนั้นที่ผู้เสียหายโอนไป
เตือนภัยมิจฉาชีพหลอกให้กู้เงิน
พฤติกรรมคนร้ายส่วนใหญ่จะทำการหลบนี้เมื่อผู้เสียหายทำการโอนเงินให้ นอกจากนี้ผู้เสียหายบางรายยังถูกเอาข้อมูลส่วนตัวไปแอบอ้างเพื่อทำการฉ้อโกงอื่น ๆ ต่อไปได้เช่นกัน หากผู้ให้กู้รายใดแจ้งให้โอนเงินก่อนสามารถสันนิษฐานได้ว่าอาจจะเป็นมิจฉาชีพหลอกลวง ห้ามโอนเงินก่อนเด็ดขาด จนกว่าจะตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริษัทที่ปล่อยเงินกู้มีตัวตนอยู่จริง
วิธีเช็คว่าแหล่งกู้เงินที่ต้องการเป็นมิจฉาชีพหรือไม่
ในปัจจุบันผู้คนสามารถเข้าใกล้โซเชียลได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ทำให้กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เหล่ามิจฉาชีพจะเริ่มใช้จุดนี้ในการหลอกลวงผู้เสียหาย สิ่งสำคัญคือควรสังเกตและพิจารณาแหล่งกู้เงินให้ดี ดังนี้
- แอปพลิเคชันกู้เงินที่น่าเชื่อถือส่วนใหญ่จะมีการละเว้นค่าธรรมเนียมเอกสาร และค่าดำเนินการ หากมีค่าดำเนินการ ค่าธรรมเนียม หรือค่าอากรแสตมป์เพิ่มที่มียอดเงินค่อนข้างสูงควรหลีกเลี่ยง หรือตรวจสอบจากอัตราค่าธรรมเนียมทั่วไปว่าควรอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่
- แอปพลิเคชันกู้เงินส่วนใหญ่ที่น่าเชื่อถือ เอกสารที่จำเป็นต้องใช้คือสเตจเม้น ชื่อ-นามสกุลของผู้ขอกู้ เลขบัญชีเงินฝาก หากมีการขอเอกสารอื่น ๆ เพื่อเติมควรสอบถามให้ละเอียด และหากขอสำเนาบัตรประชาชนผู้กู้ต้องลงชื่อด้วยลายเซ็นลงบนสำเนาพร้อมระบุรายละเอียดให้ชัดเจนว่าสำหรับใช้ทำอะไร
- อัตราดอกเบี้ยของแอปพลิเคชันเงินกู้ที่น่าเชื่อถือส่วนใหญ่จะอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ต่อเดือน หรือไม่เกิน 33% ต่อปี
นอกจากนี้ควรอ่านเงื่อนไขการกู้รวมถึงตรวจสอบแหล่งกู้เงินออนไลน์ว่ามีตัวตนของบริษัทอยู่จริงหรือไม่ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีช่องทางให้ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ หรือเงินกู้ว่าผู้ให้บริการเหล่านั้นได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจอย่างถูกต้อง พร้อมเบอร์โทรศัพท์เพื่อให้สามารถตรวจสอบและติดต่อไปยังผู้ให้บริการที่ถูกแอบอ้างชื่อโดยตรงได้อีกด้วย มีให้เลือกทั้งสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาต หรือ Non-Bank ที่ได้รับอนุญาต
มิจฉาชีพหลอกกู้เงิน
โดนหลอกกู้เงินออนไลน์ทำยังไงได้บ้าง
สำหรับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพสิ่งแรกที่ควรทำคือการตั้งสติให้ดีและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
- รวบรวมหลักฐานและข้อมูลที่ถูกหลอกลวง เช่น บัญชีที่โอนเงิน ชื่อบัญชีปลายทาง หลักฐานการคุย ควรรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมิจฉาชีพให้ครบที่สุดเท่าที่มี
- นำหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความ สามารถดำเนินการแจ้งเหตุได้ทั้ง
- สถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ
- แจ้งเบาะแสที่ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) สายด่วน 1599 หรือ ส่งเรื่องร้องเรียนแจ้งเบาะแสออนไลน์
- กรณีเงินกู้นอกระบบ ให้ติดต่อศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง สายด่วน 1359 หรือ ส่งเรื่องร้องเรียนออนไลน์ได้ที่ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ
- เมื่อแจ้งความแล้วให้นำใบแจ้งความเข้าติดต่อธนาคารเพื่อแจ้งอายัดยอดเงินบัญชีของมิจฉาชีพ
นอกจากการระมัดระวังตัวเองจากเหล่ามิจฉาชีพที่อยู่รอบ ๆ ตัวแล้ว ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่นนี้ การดูแลใส่ใจในเรื่องของสุขภาพก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งในส่วนของประกันภัยโควิดที่มอบความคุ้มครองกรณีติดโควิด หรือประกันภัยสุขภาพที่ครอบคลุมในทุกเรื่องการเจ็บป่วยทั้งในส่วนของค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง และเงินชดเชยรายได้ ฮักส์มีกรมธรรม์ประกันภัยหลากหลายที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคนยุคใหม่ ให้ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุม ยินดีให้คำแนะนำการเลือกซื้อประกันภัยติดต่อเราได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : ธนาคารแห่งประเทศไทย, กองปราบปราม