ไม่ไหวอย่าฝืน มีเงินชดเชยจากการเจ็บป่วย
เขียนเมื่อวันที่ 23/09/2021
เจ็บป่วยต้องพักนาน ประกันสังคมมีเงินชดเชยให้
การทำงานเป็นระยะเวลาติดต่อกันมีส่วนทำให้เกิดอาการป่วย เช่น โรคออฟฟิศซินโดรม บางอาการป่วยเกิดจากปัญหาสุขภาพส่วนตัว เช่น โรคประจำตัว แต่สิ่งที่เหมือนกันคือหากเจ็บป่วยขึ้นมาแล้วต้องหยุดงานจะส่งผลกระทบต่องานและรายได้
อาการป่วยที่พบบ่อยในคนทำงาน
การทำงานหนักจะมีโอกาสเกิดโรค หากไม่รักษาสุขภาพให้ดี ประสิทธิภาพในการทำงานก็จะลดน้อยลง ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้ามของคนวัยทำงาน ได้แก่
- โรคเครียด
งานจะส่งผลต่อภาวะเครียดในร่างกาย เมื่อสะสมมากเข้าจะกลายเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ไมเกรน ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว
- โรคไมเกรนและปวดศีรษะเรื้อรัง
อาการเครียดส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและสมอง ทำให้เกิดอาการปวดหัวเรื้อรังและอาจพัฒนาไปเป็นไมเกรนได้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหัวเรื้อรัง และปวดแต่ละครั้งค่อนข้างหนัก
- โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
เวลานั่งทำงานนาน ๆ มักจะเกิดอาการจมอยู่กับงานและลดความสนใจในสิ่งรอบข้างลง บ่อยครั้งผู้ที่ทำงานหนักจะลืมเข้าห้องน้ำจนเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- โรคปวดหลังเรื้อรัง
การนั่งทำงานผิดท่าส่งผลต่ออาการปวดหลังได้โดยตรง โดยเฉพาะหากนั่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้หลังเกิดการอักเสบและปวดหลังเรื้อรัง
- โรคอ้วน
ช่วง Work From Home ที่หลายคนมักจะมีขนมหรือของกินเล่นวางอยู่ใกล้ตัว อาหารเหล่านั้นส่งผลต่อน้ำหนักและระดับคอเรสเตอรอลในร่างกาย ทำให้เป็นโรคอ้วนได้ในที่สุด
ช่วงวัยทำงานที่สุขภาพยังคงแข็งแรงดีก็สามารถเกิดโรคได้เช่นกัน จึงควรดูแลตัวเองให้ดี หรือเลือกซื้อประกันภัยสุขภาพสำหรับวัยทำงานเอาไว้ เพราะหากมีเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินขึ้นมาจะได้เบาใจเรื่องค่าใช้จ่าย
เงิดชดเชยหากเกิดอาการเจ็บป่วยในคนทำงาน
คนทำงานมีสิทธิ์รับเงินชดเชยจากประกันสังคมเมื่อเจ็บป่วย
คนทำงานหลายคนต้องทนทำงานต่อเนื่องแม้ร่างกายจะรู้สึกไม่สบาย เพราะไม่อยากขาดงานและขาดรายได้เมื่อหยุดงาน แต่ในองค์กรหลายที่มีสิทธิ์ประกันสังคมให้พนักงาน ความกังวลเกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่ายจะลดน้อยลง เพราะประกันสังคมมีความคุ้มครองเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของคนทำงานตามกฎหมายแรงงาน ดังนี้
เงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล
การทำประกันสังคมจะมีการเลือกโรงพยาบาลสำหรับรักษาเมื่อเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ เรียกว่าโรงพยาบาลประกันสังคม โดยผู้ประกันตนนิยมเลือกโรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลที่ตนเองเชื่อมั่นในการรักษา ค่ารักษาเมื่อเจ็บป่วยของสิทธิ์ประกันสังคมมีดังนี้
- เจ็บป่วยปกติ
อาการป่วยทั่วไป สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลประกันสังคมที่เลือกไว้ได้เลย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ยกเว้นโปรแกรมการรักษาที่ได้รับการงดเว้น เช่น การผสมเทียม การผ่าตัดเสริมความงาม
- เจ็บป่วยจากอุบัติเหตุฉุกเฉิน
การเกิดอุบัติเหตุกับร่างกายเฉียบพลันแล้วต้องเข้ารับการรักษาในทันที สามารถรักษาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลประกันสังคม แต่หากจำเป็นต้องส่งตัวไปที่โรงพยาบาลใกล้บ้านที่ไม่มีสิทธิ์ประกันสังคมเพราะความเร่งด่วนในการรักษา ให้ทำเรื่องกับโรงพยาบาลประกันสังคมเพื่อย้ายผู้ป่วยภายหลัง ส่วนค่ารักษาพยาบาลก่อนหน้าประกันสังคมจะจ่ายให้ตามที่กำหนดและผู้ป่วยต้องจ่ายส่วนต่างเอง
- ทันตกรรม
การทำฟันของผู้ประกันตนจะใช้ได้ในกรณีถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินปูนที่ประกันสังคมจะจ่ายค่าทันตกรรมให้ โดยผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการทันตกรรมที่สถานพยาบาลใดก็ได้ แล้วนำใบเสร็จมาเบิกปีละไม่เกิน 600 บาท
- การปลูกถ่ายไต
ผู้ป่วยโรคไตสามารถรับสิทธิ์ค่ารักษาจากประกันสังคมได้ โดยแบ่งเป็นค่ารักษาก่อนปลูกถ่ายไตในราคาจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 23,000 บาท ค่าใช้จ่ายระหว่างปลูกถ่ายไตในราคาเหมา 230,000 บาท/ปี และค่ารักษาหลังปลูกถ่ายไตจะแบ่งจ่ายตามระยะเวลา เช่น ปีแรกของการปลูกถ่ายไตรับเงินชดเชยสูงสุด 30,000 บาท ปีที่ 2 รับเงินชดเชยสูงสุด 20,000 บาท นอกจากนั้นยังมีค่าฟอกเลือดและค่าล้างไตอีกด้วย
- การปลูกถ่ายกระดูก
ผู้ประกันตนที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสามารถเข้ารับการรักษาเพื่อเปลี่ยนถ่ายกระดูกได้ในวงเงินไม่เกิน 750,000 บาท
- กรณีเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา
การทำงานที่ใช้สายตา อาจจะส่งผลกระทบต่อกระจกตา ผู้ประกันตนสามารถผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาได้ในวงเงิน 25,000 บาท
- ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์รักษาโรค
ประกันสังคมมีอุปกรณ์ประเภทอวัยวะเทียม เช่น ขาเทียม แขนเทียม ผู้ประกันตนที่ต้องการใช้งานอวัยวะเทียมเหล่านี้สามารถเบิกได้ฟรี จำนวนตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
- โรคเอดส์
ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่อยู่ในประกันสังคมจะได้รับสิทธิ์รับยาต้านทั้งสูตรพื้นฐาน สูตรทางเลือก และสูตรดื้อยาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
เงินชดเชยรายได้
การรับเงินชดเชยรายได้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันตนหยุดงานเกินกว่า 30 วัน เพราะระยะเวลา 30 วันแรกของการหยุดงาน ทางบริษัจะต้องจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานตามปกติ แต่เมื่อเกิน 30 วันแล้ว ประกันสังคมจะเข้ามาจ่ายค่ารักษาให้ แบ่งออกเป็น 2 กรณีใหญ่ ๆ ดังนี้
- กรณีอาการเจ็บป่วยทั่วไป
หากผู้ประกันตนมีอาการเจ็บป่วยที่ต้องหยุดงานเกิน 30 วัน ประกันสังคมจะจ่ายค่าชดเชยรายได้ให้ 50% โดยคำนวณจากรายได้พื้นฐานสูงสุด 15,000 บาท และจะชดเชยให้ไม่เกินครั้งละ 90 วัน
- กรณีเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง
ประกันสังคมแบ่งผู้ป่วยเรื้อรังออกเป็น 6 โรค ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคไตวายเรื้อรัง โรคเอดส์ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมองที่ส่งผลต่อการเป็นอัมพาต ความผิดปกติของกระดูกหักที่มีภาวะแทรกซ้อน และโรคที่ต้องใช้เวลารักษาตัวนานติดต่อกันเกิน 180 วัน ผู้ที่เจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรังเหล่านี้ จะได้รับเงินชดเชยรายได้ 50% ของเงินเดือน คิดตามเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท ชดเชยให้ตามระยะเวลาจริงแต่ไม่เกิน 365 วัน
ถึงแม้ประกันสังคมจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลและชดเชยรายได้ให้กับผู้ประกันตน แต่เพื่อความอุ่นใจการมีประกันภัยสุขภาพเพิ่มเติมจะช่วยเพิ่มความอุ่นใจและความคุ้มครองที่มากขึ้น เช่น ประกันภัยสุขภาพ Owner Care ให้ความคุ้มครองทั้งการรักษา OPD และ IPD และชดเชยรายได้เมื่อต้องหยุดงาน ราคาเริ่มต้นเพียง 24 บาท/วัน แต่คุ้มครองสูงสุดถึง 1 ล้านบาท/ปี* หรือประกันภัยสุขภาพ Officer Care ที่พร้อมดูแลคุณทั้งค่ารักษาพยาบาลแบบ OPD และ IPD รวมถึงมอบเงินชดเชยรายได้กรณีที่ไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในส่วนของ IPD ได้ หรือปรึกษาฮักส์เพื่อหาระกันภัยตัวอื่น ๆ คุ้มครองตรงตามความต้องการของตนเอง ติดต่อได้ทั้ง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855