อาการโรคมะเร็งตับ สัญญานเตือนที่ต้องระวัง
เขียนเมื่อวันที่ 26/07/2021
ใส่ใจทุกสัญญาณเตือนป้องกันการลุกลามของมะเร็งตับ
มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบได้ทั้งในหญิงและชาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมีโอกาสพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และจัดเป็นสาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งในเพศชาย โรคมะเร็งตับนี้เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ และถึงแม้จะกล่าวว่าเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้ชายเป็นอันดับต้น ๆ แต่หากรู้ตัวเร็วก็มีโอกาสรักษาให้หายได้
ชนิดของมะเร็งตับ
มะเร็งตับมีจุดกำเนิดที่บริเวณตับจากเซลล์ที่ผิดปกติ และกลายเป็นเชื้อร้ายกัดกินทำลายตับให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยมะเร็งตับแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- ชนิดปฐมภูมิ
มะเร็งชนิดนี้เกิดจากเนื้อเยื่อภายในตับมีเซลล์มะเร็งขึ้น บริเวณที่เกิดเซลล์มะเร็งได้มีอยู่ 2 ตำแหน่ง คือ เนื้อเยื่อตับ และท่อน้ำดีของเนื้อตับ การเกิดมะเร็งที่เริ่มต้นจากตับจะเรียกว่ามะเร็งตับแบบปฐมภูมิ
- ชนิดทุติยภูมิ
มะเร็งชนิดนี้จะเป็นเซลล์มะเร็งที่ลุกลามมาจากที่อื่น หรืออวัยวะใกล้เคียงตับแล้วตรงเข้าสู่ตับ เช่น เริ่มต้นจากมะเร็งปอดหรือมะเร็งเต้านม แล้วแพร่กระจายมาสู่ตับเป็นมะเร็งตับอีกทอดหนึ่ง
โดยปกติมะเร็งตับแบบปฐมภูมิจะแสดงอาการน้อย ผู้ป่วยแทบจะไม่รู้ตัวว่ากำลังมีเซลล์มะเร็งในร่างกาย หากไม่สังเกตความผิดปกติดี ๆ
สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ
มะเร็งตับเกิดจากการที่เซลล์มะเร็งเติบโตได้ดีบริเวณเนื้อตับและท่อน้ำดีบริเวณตับ ซึ่งเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
เชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีส่วนทำให้เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่เนื้อตับ สามารถติดต่อทางแม่สู่ลูกได้ หากแม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือเป็นมะเร็งตับมาก่อน โอกาสที่ลูกจะเป็นมะเร็งตับก็สูงเช่นกัน
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำครั้งละมาก ๆ จะนำไปสู่การเป็นตับอักเสบ แล้วจึงพัฒนาไปเป็นโรคตับแข็ง จากนั้นลุกลามกลายมาเป็นมะเร็งตับ ยกเว้นผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในตัวจะพัฒนาจากตับอักเสบไปสู่มะเร็งตับได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเป็นโรคตับแข็งก่อน
- รับสารไนโตรซามีนและพยาธิใบไม้เข้าสู่ตับ
อาหารบางชนิดมีโอกาสปนเปื้อนจากสารไนโตรซามีนสูงและก่อให้เกิดโรคมะเร็งตับได้ เช่น ของหมักดอง ปลาร้า เนื้อเค็ม และอาหารบางอย่างที่มีพยาธิใบไม้ เช่น อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ อาจมีพยาธิใบไม้ที่ชอนไชเข้าไปอยู่ในท่อน้ำดี และทำให้เกิดการอุดตันจนกลายเป็นมะเร็ง
มะเร็งตับมักเกิดจากพฤติกรรมการกินดื่มเป็นส่วนใหญ่ หากพบความผิดปกติของร่างกายที่อาจส่งผลให้เป็นมะเร็งตับควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางทันที และหากเป็นแล้วหายโอกาสที่จะกลับมาเป็นมะเร็งอีกก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรประมาทแม้จะรักษาหายแล้วก็ตาม
อาการของมะเร็งตับและแนวทางการรักษา
ให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็งตับ
การป้องกันการลุกลามของมะเร็งตับที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหมด และสังเกตตัวเองอยู่เสมอ โดยอาการเบื้องต้นของโรคมะเร็งตับมีดังนี้
- เบื่ออาหาร
ในช่วงแรกอาการของโรคมะเร็งตับจะยังไม่ชัดเจน แต่จะค่อย ๆ เริ่มเบื่ออาหาร จนมากขึ้นถึงระดับที่ไม่ต้องการรับประทานอาหารเลยถึงแม้จะเป็นอาหารโปรดก็ตาม
- รู้สึกอ่อนเพลีย
อาการเบื่ออาหารมักจะมาพร้อมความรู้สึกอ่อนเพลีย ถึงแม้จะพักผ่อนเพียงพอ แต่ก็ยังรู้สึกอ่อนเพลียและเมื่อยล้าง่ายกว่าปกติ
- มีอาการตับโตจนสังเกตได้
เซลล์มะเร็งจะเติบโตที่ปอดเป็นจุดต่าง ๆ และทำให้ตับโตจนถึงขั้นดุนหน้าท้องออกมาจนสัมผัสได้ถึงความใหญ่ของท้องที่ผิดปกติ
- ปวดท้องบริเวณที่ตับอยู่
ผู้ป่วยมักจะรู้สึกปวดท้องบริเวณด้านขวาตอนบนซึ่งเป็นที่ที่ตับอยู่ บางครั้งอาจปวดร้าวตั้งแต่ท้องไปจนถึงไหล่หรือสะบักข้างขวาด้วย
- จุกเสียดในช่องท้อง
ความรู้สึกจุกเสียดในช่องท้อง ปวดบิด และเสียดขึ้นมาในท้องเป็นอีกสัญญาณหนึ่งของความผิดปกติของอวัยวะภายในท้อง ซึ่งหมายรวมถึงตับด้วย
- ตัวเหลืองและตาเหลือง
เมื่อมีความผิดปกติของตับ ร่างกายมักจะมีความเหลืองมากกว่าปกติ ผู้ป่วยจะเริ่มสังเกตได้จากสีผิวและสีตาที่มีความเหลืองออกมาอย่างชัดเจน
หากมีอาการเหล่านี้หลายประการ และตรวจพบว่าเป็นมะเร็งตับควรเข้ารับการรักษาโดยทันที ป้องกันการลุกลามที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยแนวทางการรักษามะเร็งตับจะเป็นการตัดเชื้อร้ายทิ้งแล้วปลูกถ่ายตับ แต่วิธีการนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเซลล์มะเร็งยังไม่ลุกลามใหญ่โต แต่เมื่อมะเร็งลุกลามมากขึ้น หรืออยู่ในระยะมะเร็งที่ต้องประคับประคองโรค การรักษาจะยากขึ้นและใช้เวลารักษานาน เช่น การให้เคมีบำบัดที่ต้องให้ติดต่อกันหลายเดือน หากผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงจากยา โอกาสที่จะเสียชีวิตก็จะสูงตามไปด้วย การหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งในช่วงแรก ๆ จึงมีความสำคัญต่อการรักษาอย่างมาก
การป้องกันมะเร็งตับ
แอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของมะเร็งตับ
มะเร็งมีการป้องกันโดยการให้ความสำคัญกับสุขภาพร่างกาย และการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นอย่างดี แนวทางการป้องกันมะเร็งตับที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
- หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งตับ เช่น ปลาร้า กุนเชียง ปลาเค็ม ไส้กรอก
- หลีกเลี่ยงการรับประทานปลาดิบ โดยเฉพาะปลาน้ำจืด
การป้องกันไว้ก่อนดีกว่าการปล่อยให้ตัวเองป่วยเป็นมะเร็ง และการเตรียมความพร้อมสำหรับโรคมะเร็งก็เป็นการวางแผนป้องกันความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี ทำได้โดยการซื้อประกันภัยมะเร็งติดตัวเอาไว้ เพื่อช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายหากตรวจพบมะเร็ง ซึ่งปัจจุบันมีแผนประกันภัยมะเร็งโดยเฉพาะ จากเดิมที่เคยเป็นโรคร้ายแรงที่ประกันภัยไม่รับทำ ประกันภัยที่แนะนำ เช่น ประกันภัยมะเร็ง Cancer Pro by BDMS ที่ให้ความคุ้มครองการรักษาในโรงพยาบาลเครือ BDMS พร้อมสิทธิประโยชน์ในการตรวจสุขภาพและตรวจคัดกรองมะเร็งฟรี เป็นประกันภัยที่เพิ่มความอุ่นใจได้เป็นอย่างดี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โบรกเกอร์ประกันภัยที่น่าเชื่อถืออย่างฮักส์ทาง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855 เพื่อการซื้อประกันภัยที่โดนใจคุณที่สุด
อ้างอิงข้อมูล: นนทเวช