loading
เช็คให้ชัวร์ ปวดเมื่อยตามตัวเสี่ยงติดเชื้อโควิด

เช็คให้ชัวร์ ปวดเมื่อยตามตัวเสี่ยงติดเชื้อโควิด

เขียนเมื่อวันที่ 09/11/2021

ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีโรคร้ายแอบแฝงอยู่

เราต้องอยู่ร่วมกับโควิด-19 ไปอีกนานเท่าไหร่ ? ถือเป็นคำถามที่คนทั่วโลกต่างสงสัยว่าจะมีวัคซีนหรือยาชนิดไหนบ้าง ที่ช่วยต้านเชื้อไวรัสและทำให้หายไปในที่สุด แต่อย่างที่ทราบกันว่าเชื้อโควิดได้มีการกลายพันธุ์ จึงยากต่อการยับยั้งให้หมดไปจากโลกใบนี้ อีกทั้งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกประกาศแจ้งเตือนแล้วว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 อาจระบาดอย่างต่อเนื่องไปอีก 1 ปี สาเหตุเพราะประเทศยากจนยังไม่ได้รับวัคซีนที่จำเป็น นั่นเท่ากับว่ายังไม่สามารถใช้ชีวิตปกติเหมือนก่อนที่โควิดจะระบาดได้ 100% ดังนั้นต้องหมั่นสังเกตตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพราะทุกคนล้วนมีความเสี่ยงเป็นโควิดได้ทั้งนั้น นอกจากมีไข้มากกว่า 37 องศาเซลเซียส ไอ อ่อนเพลีย รวมถึงเจ็บคอ ปวดศีรษะแล้ว อาการปวดเมื่อยก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เช่นกัน 

ผู้หญิงมีอาการปวดหลัง

อาการปวดเมื่อยส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

เช็คให้ดี อาการปวดเมื่อยเสี่ยงเป็นโควิดจริงหรือ 

อาการปวดเมื่อยเพียงอย่างเดียวไม่ได้บ่งบอกว่ามีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 แต่ต้องมีอาการเหล่านี้รวมด้วย 

  1. มีไข้สูงมากกว่า 37 องศาเซลเซียส
  2. มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  3. จาม คัดจมูก และมีน้ำมูก 
  4. รู้สึกแสบคอ หรือเจ็บคอ 
  5. มีอาการไอทั้งแบบมีเสมหะและไม่มีเสมหะ หรือไอแห้ง 
  6. รู้สึกปวดศีรษะ 
  7. มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 
  8. รู้สึกคลื่นไส้อาเจียนและท้องเสีย 
  9. หายใจลำบากรู้สึกเหนื่อยหอบ
  10. จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส 

โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อภายใน 2-14 วัน หรือหลังจากที่รับเชื้อไปประมาณ 5 วัน แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ถือเป็นผู้ป่วยโควิดอาการหนัก ต้องรีบเข้ารับการรักษาก่อนเชื้อลงปอดที่ทำให้ยากต่อการรักษา และมีความเสี่ยงเสียชีวิต 

  1. มีไข้สูงมากกว่า 37 องศาเซลเซียส
  2. ไอมากขึ้นและมีอาการเหนื่อยหอบ 
  3. รู้สึกหายใจลำบาก
  4. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก 
  5. มีอาการสับสน
  6. ริมฝีปากมีสีม่วงคล้ำเกิดจากการขาดออกซิเจน 
  7. อาจมีความเสี่ยงตกอยู่ในภาวะช็อค

สถานการณ์โควิดในประเทศไทยยังคงน่าเป็นห่วง ถึงขนาดเคยมีเหตุการณ์เตียงเต็มทำให้ผู้ป่วยโควิดที่อาการไม่หนักต้องรักษาตัวที่บ้านแบบ Home Isolation และมีหน่วยงานให้ความช่วยเหลือประสานเรื่องเตียงผู้ป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุกาณ์นั้นเกิดขึ้นซ้ำสอง สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดในเวลานี้คือดูแลรักษาตัวเองและใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท ถ้ารู้สึกถึงความผิดปกติควรรีบโทรแจ้งขอความช่วยเหลือ หรือพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย หากพบในระยะที่อาการไม่รุนแรงมีโอกาสรักษาหาย และที่สำคัญคือควรเข้ารับวัคซีนโควิด เพราะวัคซีนสามารถช่วยยับยั้งอาการรุนแรง และลดอันตราการเสียชีวิตจากโควิด 

ถึงแม้อาการปวดเมื่อยตามตัวจะไม่ได้เสี่ยงเป็นโควิดเสมอไป แต่อาจมีโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัวแอบแฝงอยู่ เพราะฉะนั้นควรรีบรักษาตั้งแต่อาการยังไม่รุนแรง หากปล่อยไว้อาจทำให้ยากต่อการรักษา และมีอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตในอนาคต

อาการของโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว 

ผู้ชายปวดหลัง

อาการของโรคกล้ามเนื้ออักเสบ

มีความรู้สึกเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลง กล้ามเนื้อบางส่วนเมื่อยล้าและอ่อนแรง เมื่อมีอาการรุนแรงขึ้นทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก อีกทั้งสำลักบ่อย หายใจลำบาก รวมถึงมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากมีอาการนานมากกว่า 3 เดือน จะทำให้อาการของกล้ามเนื้อลีบ เมื่อปล่อยไว้ไม่รีบทำการรักษาจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้คือ การอักเสบของกล้ามเนื้อหลายตำแหน่งพร้อม ๆ กัน ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ในกรณีที่อาการรุนแรงจะไม่สามารถลุกไปไหนได้ ซ้ำร้ายไปกว่านั้นคือถ้ามีอาการกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลวรวมด้วย มีความเสี่ยงทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้ 

โรคภัยไข้เจ็บบางชนิดมักเกิดขึ้นมาโดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า อีกทั้งยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นการทำประกันภัยสุขภาพจะช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่า หากเจ็บป่วยในอนาคตจะมีเงินสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เพียงพอ และมีเงินชดเชยรายได้ในกรณีที่ต้องขาดงานอีกด้วย ฮัก์ส์มีประกันภัยสุขภาพเบี้ยเริ่มต้นเพียง 2,160 บาท/ปี วงเงินคุ้มครองสูงสุด100,000 บาท/ครั้ง/โรค นอกจากนี้ยังมีประกันภัยโควิดที่ควรทำในช่วงเวลาที่ไวรัสกำลังระบาดอย่างต่อเนื่อง เบี้ยเริ่มต้นเพียง 300 บาท/ปี คุ้มครองภาวะโคม่า*300,000 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2975 5855 พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับประกันภัยที่คุณสนใจ 

อ้างอิงข้อมูล : vichaivej, phyathai


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันโควิด

#ฮักส์ประกันภัยโควิด

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+