รักษาโควิด Home Isolation ประกันชดเชยรายได้หรือไม่
เขียนเมื่อวันที่ 25/08/2021
สิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยสีเขียวรักษา Home Isolation
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศยังคงน่าเป็นห่วง รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน โรงพยาบาลหลายแห่งไม่สามารถรับผู้ป่วยได้ทั้งหมด ทำให้ผู้ป่วยบางส่วนต้องเข้ารับการกักตัวตามสถานที่อื่น ๆ เช่น โรงพยาบาลสนาม Hospitel หรือกักตัวที่บ้าน โดยต้องได้รับการเห็นชอบจากแพทย์ก่อนว่าเป็นผู้ป่วยสีเขียว
ลักษณะของผู้ป่วยสีเขียว
สายพันธุ์โควิด-19 มีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้เป็นเดลตาทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมากในช่วงเวลาอันสั้น มีทั้งกลุ่มผู้ป่วยสีแดง สีเหลือง และสีเขียว โดยแบ่งตามระดับอาการ ผู้ป่วยที่สามารถกักตัวเองที่บ้านหรือในชุมชนได้คือผู้ป่วยสีเขียว เพราะอาการไม่น่าเป็นห่วงมาก อาการที่จัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวมีดังนี้
- อายุไม่เกิน 60 ปี
- มีอาการป่วยน้อย ไม่มีเชื้อลงปอด หรือมีน้อยจนไม่มีทีท่าลุกลาม
- สุขภาพโดยรวมสมบูรณ์แข็งแรง มีเพียงอาการไข้เล็กน้อยร่วมกับอาการไอและเจ็บคอที่ไม่น่าเป็นห่วง
- อาศัยอยู่คนเดียวหรือมีผู้ร่วมอาศัยด้วยน้อยและมีพื้นที่สำหรับกักตัว
- ไม่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน
การรักษาแบบ Home Isolation เหมาะสำหรับผู้ป่วยสีเขียวเท่านั้น ควรให้แพทย์รับรองก่อนกักตัวเองที่บ้าน เพราะผู้ป่วยสีเหลืองและสีเขียวมีลักษณะอาการใกล้เคียงกันมาก ต่างกันที่ผู้ป่วยสีเหลืองจะมีไวรัสลงปอดและเสี่ยงอาการทรุด อาจจะมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็วเป็นสัญญาณเริ่มต้น การตรวจโดยแพทย์จะช่วยคัดกรองระดับความรุนแรงของผู้ป่วยได้
แนวทางการรักษาตัวของผู้ป่วยสีเขียว
อุปกรณ์กักตัวการรักษาแบบ Home Isolation
การรักษาตัวด้วยตนเองของผู้ป่วยสีเขียวมีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 2 วิธี คือ Home Isolation และ Community Isolation ซึ่งแตกต่างกัน ดังนี้
- การกักตัวในชุมชน (Community Isolation)
เป็นการกักตัวกรณีที่ในชุมชนมีผู้ป่วยโควิดจำนวนมาก แต่อาการไม่หนัก จึงเห็นควรให้มีการตั้งโรงพยาบาลหรือศูนย์พักคอยภายในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนมีพื้นที่ในการกักตัว
- การกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)
เป็นการกักตัวแบบเดี่ยวเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาศัยอยู่คนเดียว หรือมีพื้นที่กักตัวแยกจากผู้อื่น ช่วยลดความแออัดของโรงพยาบาล
ก่อนการกักตัวทั้งในชุมชนและที่บ้าน ผู้ป่วยจะต้องมีการตรวจโควิดแบบ RT-PCR ก่อนเสมอ เมื่อได้รับการยืนยันจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโควิดที่มีอาการน้อยและสามารถรักษาตามอาการด้วยตนเองได้ ต้องยื่นเรื่องขอเป็นผู้ป่วย Home Isolation ดังนี้
- นำใบตรวจ RT-CPT มายื่นเป็นหลักฐาน
ผลตรวจแบบ RT-PCR จะมีความน่าเชื่อถือที่สุดเพราะตรวจผ่านแล็ป ผู้ป่วยบางคนอาจตรวจด้วยชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง (Rapid Antigen Test หรือ Antigen Test Kit: ATK) แล้วผลตรวจเป็นบวก แต่ก็ควรตรวจด้วยวิธีการ RT-PCR อีกครั้งหนึ่งเพื่อความน่าเชื่อถือ และใช้เป็นหลักฐานในการติดต่อขอกักตัวและขอเคลมประกัน
- ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับอุปกรณ์กักตัว
การติดต่อหน่วยงานสามารถทำได้สะดวกผ่านสมาร์ทโฟน เบื้องต้นควรติดต่อ Home Isolation ของสปสช. หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โทร 1330 หากไม่สะดวกอาจพิจารณาติดต่ออาสาใกล้บ้านแทนได้ เพื่อขอรับอุปกรณ์ในการกักตัว
- รอรับอุปกรณ์กักตัวที่บ้าน
เมื่อติดต่อขอกักตัวที่บ้านแบบ Home Isolation ได้แล้ว จะมีอุปกรณ์จำเป็นในการกักตัวที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด ยาในการรักษา เช่น ยาลดไข้ ยาฟาวิพิราเวียร์ แคปซูลสกัดจากฟ้าทะลายโจร
ผู้ป่วยจะได้รับอุปกรณ์จำเป็นที่เพียงพอต่อการกักตัว 14 วัน ซึ่งในระหว่างกักตัวจะต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ดังนี้
- กักตัวอยู่ในบริเวณที่พัก หากต้องใช้ห้องส่วนรวม เช่น ห้องน้ำ ให้เช็ดแอลกอฮอล์ทุกที่ที่สัมผัส
- เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร และสวมหน้ากากอนามัยหากมีความจำเป็นต้องพบปะกับผู้อื่น
- ห้ามเยี่ยมเด็ดขาดหากไม่มีกิจจำเป็น
- แยกของใช้ออกจากผู้อื่น
- ตรวจวัดไข้เป็นประจำ รับประทานยาตามแพทย์สั่ง และวิดีโอคอลแจ้งอาการวันละ 2 ครั้ง หรือตามแพทย์กำหนด
การรักษาตัวอย่างถูกวิธีช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อคนรอบข้าง เพราะฉะนั้นผู้ป่วยควรกักตัวอย่างเคร่งครัดจนมั่นใจว่าหายดีแล้ว จึงกลับมาใช้ชีวิตร่วมกับคนในครอบครัว
การคุ้มครองผู้ป่วยสีเขียวของประกันภัย
ผู้ป่วยที่รักษาแบบ Home Isolation สามารถเคลมประกันได้ หลายคนที่รักษาโดยวิธีการนี้มีความกังวลว่าหากเป็นผู้ป่วยสีเขียวที่กักตัวที่บ้าน Home Isolation เบิกประกันได้ไหม ล่าสุดคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ออกมาชี้แจงกรณีนี้แล้วว่าผู้ป่วยแบบ Community Isolation และ Home Isolation ทางคปภ. มีมติให้สามารถเคลมประกันได้ด้วยเงื่อนไข ดังนี้
- ขยายความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับการรักษาที่ Hospitel โรงพยาบาลสนาม Community Isolation และ Home Isolation เหมือนการรักษาผู้ป่วยนอก ทั้งในกรณีพบเชื้อโควิด-19 จนถึงการรักษาระยะสุดท้าย
- ขยายความคุ้มครองจากการฉีดวัคซีนโควิด โดยต้องเป็นวัคซีนที่กระทำโดยแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ วัคซีนที่ใช้ต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีผลเคลมประกันภัยเหมือนประกันภัยที่คุ้มครองการฉีดวัคซีนทั่วไป
- ผู้เอาประกันภัยสามารถรับเงินชดเชยตามที่กรมธรรม์คุ้มครอง แม้จะรักษาแบบ Community Isolation และ Home Isolation
- เงินประกันภัยที่ได้รับ รวมถึงค่าสินไหมทดแทนจะไม่เกินจำนวนเงินที่กรมธรรม์กำหนด
ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษานอกเหนือจากโรงพยาบาลสามารถยื่นขอเคลมประกันภัยได้ โดยการใช้ผลตรวจ RT-CPC ที่ได้รับการรับรองแล้วติดต่อผ่านตัวแทน โบรกเกอร์ประกันภัย หรือบริษัทประกันภัยโดยตรง
การขยายความคุ้มครองในการเคลมประกันภัยสำหรับผู้ป่วย Home Isolation เป็นผลดีอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงที่เตียงของหลายโรงพยาบาลเต็ม ความคุ้มครองที่ขยายจึงครอบคลุมผู้ป่วยได้มากขึ้น การมีประกันภัยโควิดเป็นประโยชน์มากในเรื่องของค่ารักษาและเงินชดเชย บางแผนประกันภัยคุ้มครองแบบเจอ จ่าย จบ อาทิเช่น ประกันภัยโควิด VSafe Extra (แผน 1) รับเงินก้อนเมื่อตรวจพบ 5,000 บาท พร้อมคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากกรณีแพ้วัคซีน 30,000 บาท* ภาวะโคม่าผลกระทบจากการฉีดวัคซีน รับสูงสุด 1,000,000 บาท* ชดเชยรายได้จากการรักษา IPD จากกรณีแพ้วัคซีน 1,000 บาท/วัน (สูงสุด 14 วัน) กับค่าเบี้ยประกันภัย 799 บาท/ปี เหมาะสำหรับช่วงที่โควิดระบาดและมีการทยอยฉีดวัคซีนโควิดอย่างในตอนนี้ ผู้ที่สนใจสามารถปรึกษาฮักส์เพิ่มเติมได้ที่ Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล: ไทยโพสต์, ศูนย์ข้อมูลโควิด-19, เพชรเวช